วันที่ 19 มิถุนายน พลโท นันทเดช เมฆสวัสดิ์ อดีตหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (ศรภ.) โพสต์เฟชบุ๊ก เรื่อง “ม็อบการเมืองที่ดินแดง” ว่า มนุษย์เรา เกิดมาก็แตกต่างกันอยู่แล้ว ทั้งฐานะ รูปร่างหน้าตา แม้กระทั้งคนรวย ก็ยังแบ่งเป็นรวยน้อย รวยมาก การดูแลของพ่อแม่ การได้โอกาศศึกษาก็ไม่เหมือนกัน ตอนเกิดมาร่างกาย แข็งแรง หรือ อ่อนแอ ฯลฯ ไม่มีทางจะเท่าเทียมกันได้ตามที่ UN กำหนดไว้ สิ่งที่พอจะทำให้มนุษย์ เท่าเทียมกันได้ นั้น มีอย่างเดียว คือ “สิทธิตามกฎหมาย” เท่านั้น แต่ก็ต้องมี “หน้าที่ในการปฏิบัติตัวเอง ตามกฎหมาย” ควบคู่มากับ การใช้สิทธิ ด้วย นั้นคือ การใช้สิทธิของตนเอง จะต้องไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนกับผู้อื่น และเมื่อใดใช้สิทธิของตัวเองไปรุกล้ำ สิทธิของผู้อื่น ก็ถือว่า “เป็นการทำผิดกฏหมาย” ทันที
"พล.ท.นันทเดช" ห่วงรัฐบาล จัดการม็อบอ่อนมาก หวั่นซ้ำรอยพัทยา
ข่าวที่น่าสนใจ
เราจึงเห็นการปราบปรามม็อบ ในประเทศตะวันตก เต็มไปด้วยความเด็ดขาด เพื่อให้เกิดการบังคับใช้กฏหมายที่เท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็น สหรัฐฯ อังกฤษ หรือ ฝรั่งเศส ก็เพื่อรักษาสิทธิของอีกหลายร้อย ที่จะต้องสัญจรบนถนน และ อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต และทรัพย์สินได้ นอกจากนั้น ยังรวมไปถึง การรักษาทรัพย์สินที่มาจาก”ภาษี” ของประชาชน อีกด้วย เช่น การเผารถตำรวจ ทำลายป้อมจราจร เป็นต้น ( ควรทราบว่า “เจ้าหน้าที่รัฐฯที่เบิก รถหลวงไปใช้ ตามหน้าที่ทุกคน” จะต้องนำรถกลับมาให้อยู่ในสภาพเดิม ไม่เช่นนั้น จะต้องชดใช้เงิน และ รับโทษทางวินัยอีกด้วย )
ส่วนการจัดการม็อบที่ก่อเหตุรุนแรง ในประเทศไทยหรือ ผู้ที่ทำความผิดอื่น ๆ เช่น ความผิดทางคอมพิวเตอร์ และ การปล่อยข่าวเท็จ ที่เกิดขึ้นในยุคของ พลเอกประยุทธ นั้น มีข้อสั่งเกตุว่า 1.การปฎิบัติงาน ควบคุมม็อบ ต่ำกว่ามาตราฐานสากล อย่างมากมาย จนดูเสมือนว่า รัฐบาลเองจะ ละเว้นการกระทำหน้าที่ตาม ม.157 เสียด้วย ซึ่งเปรียบกับการจัดการ ม็อบ ในสมัยรัฐบาล “ยิ่งลักษณ์”แล้ว ต่างกันอย่างฟ้า กับ ดิน ครับ ยุค คุณยิ่งลักษณ์ นั้น ขนาด “พระ” ตำรวจยังตีซะหนีกระเจิดกระเจิงเลย สื่อ และ NGOsต่างๆ ก็เงียบไปหมด
2. ส่วน ผู้สนับสนุนม็อบนั้นจะต้องมีความผิดเสมือนตัวการ ตำรวจต้องเอาผิดด้วย ไม่ว่าจะเป็นนักการเมือง หรือเจ้าหน้าที่รัฐ รวมถึง ชาวต่างชาติ ไม่ใช่จับแต่เด็ก 3. การละเมิดสิทธิผู้อื่น นั้น ลองไปดู การทำงานในกรณีนี้ของ ประเทศอื่น ๆ เอาเฉพาะในอาเซียนก็พอ เช่น กัมพูชา ลาว พม่า มาเลเซีย นั้นจะเข็มงวดกว่าไทยมาก โดยเฉพาะบรูไน และ สิงค์โปร์ ใครเอาสีสาดในที่สาธารณะ มีโทษถูกโบยด้วย ส่วนความผิดต่อประมุขของประเทศ นั้น หลายประเทศยังมีกฎหมายในเรื่องความมั่นคง เพิ่มโทษขึ้นมาอีกด้วย
ปัจจุบัน รัฐบาลไทย และ กระทรวงต่างประเทศ “อ่อนมาก” ก็แค่อยากเตือนว่า ถ้าปล่อยไปแบบนี้ “ การประชุมสุดยอดอาเชียน” ที่กำลังใกล้จะมาถึงนี้ อาจจะซ้ำรอยเดิมที่ “พัทยา”ก็ได้ครับ ถ้าปล่อยกันไว้แบบนี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
-