“ซูเปอร์โพล” ชี้ประชาชนพอใจ การแก้ปัญหาภัยแล้งของรัฐบาล

ซูเปอร์โพล สำรวจความเห็น ปัญหาภัยแล้งที่หายไป พบ ส่วนใหญ่ร้อยละ 88.6 พอใจที่รัฐบาล ขับเคลื่อนบริหารจัดการน้ำทั้งระบบอย่างจริงจังมากขึ้น ไม่มีการประกาศพื้นที่ภัยแล้งมาแล้ว 2 ปีในปี 64 - 65

วันที่ 19 มิถุนายน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสำรวจ เรื่อง ปัญหาภัยแล้งที่หายไป กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศโดยดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จำนวน 1,050 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 15 – 18 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา
เมื่อถามถึง ผลกระทบของภัยแล้งต่อประชาชน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 91.5 ระบุ มีผลกระทบต่อการขาดแคลนน้ำกิน น้ำใช้ ที่เป็นปัจจัยหลักต่อการดำรงชีวิต รองลงมาหรือร้อยละ 90.5 ระบุ มีผลต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะน้ำและดินเป็นวงจรเชื่อมโยงต่อกัน ร้อยละ 89.7 ระบุ มีผลทำให้เกิดปัญหาต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ร้อยละ 89.1 ระบุ มีผลต่อการเกิดฝุ่นละออง การกัดกร่อนของดิน พื้นดินทรุดตัว ร้อยละ 88.7 ระบุ มีผลทางสังคม ค่าครองชีพที่สูงขึ้นและเกษตรกรมีหนี้สิน ร้อยละ 87.3 ระบุ มีผลกระทบต่อระบบการเกษตร ทั้งอุตสาหกรรม ราคาสินค้าสูงขึ้น กระทบส่งออกทั้งทางตรงและเศรษฐกิจของประเทศมวลรวมโดยอ้อม ในขณะที่ ร้อยละ 86.5 ระบุ มีผลกระทบต่อน้ำจืด มีรสเค็ม น้ำทะเลหนุน

ข่าวที่น่าสนใจ

ที่น่าพิจารณาคือ ความพอใจและความคาดหวังของประชาชน ต่อการบริหารจัดการภัยแล้ง พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 88.6 พอใจที่รัฐบาล เห็นความสำคัญ มีนโยบายและขับเคลื่อนบริหารจัดการน้ำทั้งระบบอย่างจริงจังมากขึ้น ร้อยละ 78.1 พอใจกับการบริหารจัดการน้ำฤดูแล้งของรัฐบาล ทั้งน้ำบนดินและน้ำใต้ดิน ที่ได้ผลทั้งการจัดเก็บกักและกระจายน้ำ บรรเทาปัญหาภัยแล้ง โดยไม่มีการประกาศพื้นที่ภัยแล้งในปี 64 – 65 จากความร่วมมือของทุกฝ่าย

อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 88.2 ต้องการให้ทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน รวมทั้งเกษตรกร พัฒนาตนเองและร่วมดูแลแก้ปัญหา ใส่ใจสิ่งแวดล้อมและใช้ทรัพยากรน้ำอย่างรู้คุณค่าไปด้วยกัน ร้อยละ 81.5 คาดหวังว่า เกษตรกรและพ่อค้าคนกลาง จะไม่ฉวยโอกาส อ้างภัยแล้งและขึ้นราคาสินค้าพืชผลการเกษตร และร้อยละ 75.8 คาดหวังให้รัฐบาล เร่งขับเคลื่อนโครงการบริหารจัดการน้ำขนาดใหญ่ให้เสร็จเร็วขึ้น และกระจายครอบคลุม ทั้งพื้นที่ปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมในทุกพื้นที่

ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวว่า ผลการศึกษาครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่า “ภัยแล้ง” ยังคงเป็นภาพหลอนและภาพจำของคนไทย ที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมและกระทบชีวิตของคนไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะ ภาคการเกษตรและอุตสาหกรรม ที่เป็นฐานการผลิตและส่งออกหลักที่สำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้น การแก้ปัญหาและขับเคลื่อนบริหารจัดการโครงการน้ำขนาดใหญ่ จึงเป็นความหวังที่สำคัญของประชาชนทั้งประเทศ เนื่องจากน้ำและดิน มีความสำคัญ เชื่อมระบบนิเวศน์ สิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชน และเป็นหน้าที่ความร่วมมือของประชาชนทุกคน ที่ต้องร่วมอนุรักษ์ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า

อย่างไรก็ตาม การที่รัฐบาลปัจจุบัน ลงมาให้ความสำคัญขับเคลื่อนบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ ร่วมกับทุกภาคส่วนอย่างต่อเนื่อง เริ่มส่งผลสำเร็จบ้างแล้ว โดยไม่มีการประกาศพื้นที่ภัยแล้งมา 2 ปีแล้ว อย่างไรก็ตาม การบริหารจัดการ พื้นที่น้ำท่วมและพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม เพื่อลดผลกระทบและความเสียหายของประชาชนที่เกิดขึ้น ยังเป็นโจทย์และเรื่องท้าทายที่รัฐบาลและประชาชนทุกภาคส่วน ต้องร่วมกันทำให้สำเร็จต่อไป โดยเฉพาะการขับเคลื่อนหน่วยงานดินและน้ำ ภายใต้การกำกับของ รองนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ที่กำลังเป็นที่สนใจในสังคม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ก.แรงงาน" เตรียมเปิดขึ้นทะเบียน "แรงงานต่างด้าว" รอบใหม่
เจาะ "MOU44" พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา "เกาะกูด" เป็นของใคร
"สมชัย" เผยเคยทำงานร่วม "กิตติรัตน์" ยอมรับเป็นคนเก่ง แต่เพราะเคยตามใจฝ่ายการเมืองทำประเทศชาติเสียหาย
ระทึก "รถทัวร์กรุงเทพฯ-เชียงแสน" ชน "รถพ่วง" พลิกคว่ำตกข้างทาง ผู้โดยสารบาดเจ็บอื้อ
"ศิริกัญญา" ปูดข่าว รบ.วางแผนยึดการบินไทย ส่ง 2 ผู้บริหารฟื้นฟู
โมเดลใหม่...ประมงสมุทรสงครามเปิดตัวกิจกรรม “สิบหยิบหนึ่ง” ปราบปลาหมอคางดำ จับมือเกษตรกรร่วมแก้ปัญหาในบ่อเลี้ยงเกษตรกรและแหล่งน้ำธรรมชาติ
"กองปราบฯ" รับโอนคดี "ซินแสชื่อดัง" หลอกผู้เสียหายสูญเงิน 66 ล้าน
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 6 (ตรัง) ศึกษาดูงานด้านการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาล
"นครราชสีมา" เสี่ยงภัยแล้ง 10 อำเภอ ชลประทานประกาศงดทำนาปรังทั้งจังหวัด
"อัจฉริยะ" แจงผลสอบ "อาหารเสริม Eighteen 18" พบมีเลข อย.ถูกต้อง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น