"กัญชา" สภาเภสัชกรรม เตือนด่วน ผลพวงจากยาตีกัน หลังใช้กัญชาคู่กับยาที่ทานประจำ เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต
ข่าวที่น่าสนใจ
เมื่อวันที่ 17 มิถุนายนที่ผ่านมา สภาเภสัชกรรม ได้เผยแพร่ข้อมูลเรื่อง “กัญชา” เตือนอาจส่งผลกระทบกับยา สมุนไพร และผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่น ๆ ที่กำลังรับประทานอยู่ ตามที่ประเทศไทยได้มีการปลดล็อกออกจากบัญชียาเสพติดประเภทที่ 5 ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายนที่ผ่านมา นำไปสู่การเข้าถึง บริโภคและผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของอย่างแพร่หลายในสังคมไทย กัญ ชาเป็นพืชสมุนไพรที่อยู่ในตำรายาไทยมาเป็นเวลายาวนาน ซึ่งการที่มีฤทธิ์เป็นยา เพราะ มีสารจำนวนมากเป็นองค์ประกอบ เช่น
- สารทีเอ็ชซี (THC = Tetrahydrocannabinol)
- สารซีบีดี (CBD = cannabidiol) เป็นต้น
ด้วยเหตุนี้ การบริโภคจึงเป็นการบริโภคสารต่าง ๆ เหล่านี้เข้าไปในร่างกาย เหมือนกับยาทั่วไป เมื่อร่างกายได้รับสารก็จะกระจายไปออกฤทธิ์ตามอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย ทำให้เกิดเป็นสรรพคุณต่าง ๆ ที่นำมาใช้เป็นยา นอกจากนี้ สารดังกล่าวก็เหมือนยาอื่น ๆ คือ
- จะต้องได้รับการเปลี่ยนสภาพและขจัดออกไปจากร่างกาย โดยอวัยวะที่ทำหน้าที่ในการเปลี่ยนสภาพและขจัดได้แก่ตับและไตเป็นหลัก
- หากมีการบริโภคและผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสร่วมกันกับยาอื่น ๆ อาจเกิดสิ่งที่เราเรียกกันว่า ยาตีกัน ได้
จากข้อมูลทางวิชาการและรายงานที่มีอย่างแพร่หลายในฐานข้อมูลวิชาการระดับนานาชาติได้แสดงให้เห็นว่าภาวะ ยาตีกัน ของกัญ ชา อาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ยกตัวอย่างเช่น
- การใช้ร่วมกับยาที่มีฤทธิ์กดประสาทบางประเภทเช่น ยากลุ่มเบนโซไดอะซีปีน (benzodiazepine) ตัวอย่างเช่น diazepam หรือผู้ป่วยที่ใช้ยามอร์ฟีน อาจทำให้เกิดการเสริมฤทธิ์กดประสาทมากเกินไปจนเกิดผลเสียได้
- หากผู้ป่วยที่ใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดชื่อ ยาวาร์ฟาริน ได้รับ กัญ ชา เข้าไปอาจทำให้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดมีระดับสูงขึ้น จนเกิดอาการเลือดออกและทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิตได้ นอกจากนี้ ยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดอื่น ๆ ก็มีแนวโน้มที่อาจเกิดปัญหาคล้ายกันได้ถึงแม้จะยังไม่มีรายงานในฐานข้อมูล
- การใช้ร่วมกับยากันชักบางประเภท อาจทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของระดับยากันชักและส่งผลกระทบต่อการรักษาได้ อาจจำเป็นต้องวัดระดับยากันชักในเลือด เพื่อปรับขนาดยาให้เหมาะสม
- หากใช้ร่วมกันกับยาบางชนิด เช่น ยารักษาอาการซึมเศร้าบางชนิดเช่น ยาฟลูอ๊อกซิติน (fluoxetine) ยารักษาเชื้อรา (เช่นยา ketoconazole) ยารักษาโรคติดเชื้อบางประเภท (เช่นยา clarithromycin) หรือยาลดความดันโลหิตบางประเภท (เช่นยา verapamil) ยาเหล่านั้นอาจไปลดความสามารถของตับและไตในการเปลี่ยนสภาพและขจัด “กัญชา” ออกจากร่างกาย ระดับของสารสำคัญในกัญ ชาจะสูงกว่าปกติได้หลายเท่าและนำไปสู่อาการเมา หรือเกิดอาการข้างเคียงได้ ทั้ง ๆ ที่บริโภคในขนาดทั่วไป
โดยสรุปแล้ว กัญ ชาและผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมก็เป็นเหมือนยาอื่น ๆ อาจส่งผลกระทบกับยา สมุนไพร และผลิตภัณฑ์สุขภาพ อื่น ๆ ที่ท่านรับประทานอยู่ ดังนั้น หากท่านใดใช้ยา สมุนไพร ผลิตภัณฑ์สุขภาพอยู่ก่อน และมีความสนใจที่จะใช้หรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสม โปรดตรวจสอบหรือปรึกษาแพทย์ หรือ เภสัชกร เพื่อประโยชน์และความปลอดภัยของทุกท่าน
ข้อมูล : สภาเภสัชกรรม : The Pharmacy Council
ข่าวที่เกี่ยวข้อง