สคบ.ลุยตรวจ “ร้านดารุมะ” คูปองทิพย์ พบเจ้าของเผ่นนอกประเทศแล้ว

รองเลขาฯ สคบ. ลงพื้นที่ตรวจสอบร้านดารุมะ จำหน่วยคูปองซูซิทิพย์ มั่นใจเจ้าของมีเจตนาฉ้อโกง รู้ตัวธุรกิจไปไม่รอด ออกโปรโมชั่นเกินจริง ก่อนเชิดเงินหนีออกนอกประเทศ

พ.ต.อ.ประทีป เจริญกัลป์ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ สคบ. พร้อมคณะ ลงพื้นที่ ตรวจสอบร้าน ดารุมะซูชิ บุฟเฟ่ต์แซลม่อน ที่ปิดร้านกะทันหัน แต่ขายคูปองให้ลูกค้ากว่าแสนใบ แต่ไม่สามารถใช้บริการได้

จากการตรวจสอบ ร้านดารุมะ สาขาเดอะแจส รามอินทรา พบว่า ร้านปิดเหมือนสาขาอื่นๆ โดยหน้าร้าน เขียนป้ายว่า ขอภัยค่ะ ปิดบริการ โดยทางผู้ให้เช่าสถานที่ ให้ข้อมูลว่า ทางร้านค้างค่าเช่า 2 เดือนแล้วก็หายไป ซึ่งปกติร้านนี้ขายดีมาก ลูกค้ามารอเต็มหน้าร้าน แต่เมื่อวันศุกร์ช่วงเช้า ร้านเปิดก็มีลูกค้ามารอ จนกระทั่งรู้ข่าวว่าร้านปิดบริการ ทางสถานที่ให้เช่าก็เพิ่งทราบข่าววันเดียวกัน

ข่าวที่น่าสนใจ

พ.ต.อ.ประทีป ระบุว่า พฤติกรรมของเจ้าของร้าน ส่อเจตนาฉ้อโกง เนื่องจากเจ้าของร้าน รู้ตัวอยู่แล้วว่า ธุรกิจไม่ดี จึงจัดโปรโมทชั่นเร่งระดมหาลูกค้า ยิ่งซื้อเยอะจะได้ราคาถูก และพึ่งทำได้ไม่นาน พอได้เงินก็ไป โดยทางสคบ. ได้ออกหนังสือเรียก นายเมธา ชลิงสุข เจ้าของกิจการ มาให้ข้อมูลแล้ว แต่ติดต่อไม่ได้ ซึ่งจากการตรวจสอบข้อมูลกับตำรวจตรวจคนเข้าเมือง พบว่า นายเมธา เดินทางออกนอกประเทศไปแล้ว

ขณะเดียวกัน สคบ. ยังตรวจพบว่า ช่วงแรกเจ้าของร้าน ประกอบธุรกิจอาหารจริง แต่ประสบปัญหาหนี้สิน จึงจัดโปรโมชั่น แต่ราคาไม่สอดคล้องกับสถานการณ์จริง ต้นทุนสูงแต่ขายถูก และยังมีหนี้สินจากซัพพลายเออร์ และค้างค่าเช่าที่ จึงระดมจัดโปร 199 กินไม่อั้น และพึ่งขายได้ไม่นาน การกระทำนี้ คือ เจตนาฉ้อโกง ในส่วนของการดำเนินการตรวจสอบ ต้องแยกเป็น 5 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มผู้เสียหายที่ซื้อคูปอง 2.กลุ่มพนักงานในร้าน 3.แฟรนไชส์ 4.ซัพพลายเออร์ และ 5.กลุ่มเจ้าของสถานที่

โดยกรณีนี้การซื้อขายคูปองทางแอพพลิเคชั่น หากปิดแอพฯไปก็จะไม่มีหลักฐาน จึงขอให้ผู้เสียหายปริ้นเอกสารไว้ เพื่อแสดงเป็นหลักฐานดำเนินคดีได้ หลังจากนี้ทาง สคบ.จะหามาตราการในการควบคุมดูแล กลุ่มผู้ประกอบการที่จัดโปรโมทชั่นแบบนี้ เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอย และให้ประชาชนสังเกตุความผิดปกติ ว่า โปรโมชั่นราคาถูกเกินไปหรือไม่ ราคาเป็นแรงจูงใจ จ่ายก่อน บริการทีหลัง ควรดูรายละเอียดให้ดี

ขณะที่กรณีกลุ่มผู้ค้าที่กดคูปองมาขายต่ออีกครั้ง ตามนิติกรรมสัญญา คนที่รับผิดชอบโดยตรง คือ คนที่กดคูปองมาขาย แต่เรื่องนี้ต้องไปตรวจสอบอีกครั้ง รวมทั้งผู้ซื้อแฟรนไชส์ด้วย ว่ารู้เห็นหรือไม่ และเส้นทางการเงิน การซื้อคูปอง เงินเข้าบริษัทโดยตรง หรือ ผ่านสาขา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น