"แมว" เหล่าทาสมีหนาว หลังม.อ.แจงด่วน เผยงานวิจัย พบเชื้อโควิดแพร่สู่คน หลังติดเชื้อจากเจ้าของ ก่อนจะจามใส่สัตวแพทย์
ข่าวที่น่าสนใจ
เมื่อวันที่ 20 มิถุนายนที่ผ่านมา รศ.ดร.นพ.ศรัญญู ชูศรี ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายโรงพยาบาลฯ และเป็นหนึ่งในทีมวิจัยเรื่องการติดเชื้อโควิด-19 จาก “แมว” สู่คนเป็นครั้งแรกของโลกนั้น เผยว่า เคสนี้เกิดขึ้นเมื่อช่วงสิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา โดยผู้ป่วยโควิด-19 เป็นพ่อลูกชาวกทม. อายุ 64 ปี และ 32 ปี แต่เตียงมีไม่พอ จึงเดินทางมารักษายังโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ เนื่องจาก มีญาติอยู่ที่หาดใหญ่ และเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวพร้อมกับแมวที่เลี้ยงเอาไว้ด้วย 1 ตัว สีส้ม อายุ 10 ปี
และในวันที่ 8 สิงหาคม ผู้ป่วยทั้ง 2 คน เข้าสู่กระบวนการรักษาในหอผู้ป่วยโควิดของ ม.อ. ส่วนสัตว์เลี้ยงได้ส่งไปให้สัตวแพทย์ของโรงพยาบาลสัตว์ตรวจหาดเชื้อโควิด ในวันที่ 10 สิงหาคม โดยการแยงจมูก และตรวจทวารหนัก ปรากฏว่า ระหว่างตรวจ แม วได้จามใส่สัตวแพทย์ท่านหนึ่ง อายุ 32 ปี ซึ่ง ณ ตอนนั้น สวมแค่ถุงมือ และหน้ากากอนามัย ไม่มี Face Shield หรืออุปกรณ์ป้องกันดวงตาแต่อย่างใด ซึ่งผลตรวจที่ออกมาเป็นบวก มีเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลตา
หลังจากนั้น 3 วัน สัตวแพทย์ก็เริ่มมีไข้ ไอ และน้ำมูก อีก 2 วันถัดมาตรวจพบเชื้อโควิดและเข้าสู่กระบวนการรักษา ซึ่งผู้ป่วยทั้งหมด รวมสัตวแพทย์และน้องแม ว อาการไม่หนักมาก และสามารถออกจากโรงพยาบาลได้หลังรักษาตัวเกือบ 10 วัน ไม่มีอาการข้างเคียง หรือโรคแทรกซ้อนแต่อย่างใด
จากกรณีที่เกิดขึ้นได้มีตั้งสมมติฐานว่าเชื้อโควิดนั้น สามารถแพร่กระจายจากสัตว์สู่คนได้อย่างไร เนื่องจาก มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยมาก โดยพบความเชื่อมโยงอยู่ 2 อย่าง คือ
- ระยะการฟักตัวของโรค (ในคนประมาณ 1 สัปดาห์ ในสัตว์ประมาณ 5 วัน)
- การตรวจลำดับเบส และรหัสพันธุกรรม พบว่าตรงกัน
จึงได้ข้อสรุปว่า “แมว” ติดเชื้อโควิดมาจากเจ้าของ และเจ้าของเองก็ไม่ทราบว่า น้องติดเชื้อโควิด ก่อนจะแพร่เชื้อใส่สัตวแพทย์ที่ตรวจ
แนะคนที่มีสัตว์เลี้ยง หากสงสัยว่า ตนอาจจะตกเป็นกลุ่มเสี่ยง ได้รับเชื้อโควิด ให้หลีกเลี่ยงอยู่ใกล้ชิดกับสัตว์เลี้ยงไปก่อนประมาณ 7-8 วัน เพื่อความปลอดภัย เนื่องจาก สัตว์เลี้ยงส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการใด ๆ และเชื้อจะมีระยะฟักตัวอยู่น้อยกว่าคนราว 5 วัน และหายไปเองได้ การที่สัตว์เลี้ยงจะแพร่เชื้อไปสู่คนนั้นก็ยากมาก หรือน้อยมากเช่นเดียวกัน ขอให้มีความเข้าใจที่ถูกต้อง และอย่าใช้เรื่องเหล่านี้เป็นข้ออ้างในการไม่ดูแลสัตว์เลี้ยง หรือเอาสัตว์เลี้ยงไปปล่อย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง