“นั่งนาน” 6-8 ชม. วิจัยพบเพิ่มความเสี่ยงเสียชีวิต-โรคหัวใจ

นั่งนาน

"นั่งนาน" 6-8 ชั่วโมง คณะนักวิจัยจากจีนและแคนนาดา พบเพิ่มความเสี่ยงเสียชีวิต และป่วยเป็นโรคหัวใจ แนะลดเวลานั่งนิ่ง ๆ ควบคู่กิจกรรมทางกายภาพช่วยได้

“นั่งนาน” อันตรายจากการนั่งนานๆ ผลกระทบ จากการนั่ง ทำงาน นานๆ โรค ที่เกิดจากการนั่ง ทำงาน นานๆ งานวิจัย การนั่งนานๆ ใครที่ต้องนั่งทำงานเป็นระยะเวลาหลายชั่วติดต่อกันระวังให้ดี เมื่อทางด้าน สำนักข่าวซินหัว ได้รายงานว่า จากการวิจัยพบ นั่ง นาน เพิ่มความเสี่ยงเสียชีวิต และป่วยโรคหัวใจ แนะลดเวลานั่งนิ่ง ๆ ควบคู่กิจกรรมทางกายภาพช่วยลดความเสี่ยงได้ ติดตามเรื่องราวนี้ที่ TOP News

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

โดยทางด้าน สำนักข่าวซินหัว ได้รายงานว่า วารสารเจเอเอ็มเอ คาร์ดิโอโลจี (JAMA Cardiology) เผยแพร่ผลการศึกษาร่วมระดับโลก ซึ่งระบุว่าการนั่งเป็นเวลานานสัมพันธ์กับความเสี่ยงเสียชีวิตจากทุกสาเหตุ และการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มขึ้น โดยกลุ่มประเทศรายได้ต่ำและรายได้ปานกลางระดับล่างพบความสัมพันธ์ดังกล่าวอย่างเด่นชัด คณะนักวิจัยจากสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์การแพทย์จีน (CAMS) และมหาวิทยาลัยไซมอน เฟรเซอร์ ในแคนาดา ดำเนินการศึกษาร่วม ซึ่งมีผู้เข้าร่วมอายุ 35-70 ปี จาก 21 ประเทศ มากกว่า 100,000 คน โดยมีระยะติดตามผลเฉลี่ย 11.1 ปี

 

 

การศึกษาพบความเสี่ยงเสียชีวิตและการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด อาทิ โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย โรคหลอดเลือดสมอง และภาวะหัวใจล้มเหลว ในกลุ่มผู้เข้าร่วมที่ นั่ง นาน 6-8 ชั่วโมงต่อวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12-13 เมื่อเทียบกับผู้ที่นั่งน้อยกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน ส่วนผู้ที่ นั่ง นาน มากกว่า 8 ชั่วโมง มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ทั้งนี้ ผลการศึกษาระบุว่าการลดเวลานั่งนิ่ง ๆ ควบคู่กับการเพิ่มกิจกรรมทางกายภาพ มีแนวโน้มเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการลดความเสี่ยงเสียชีวิตก่อนวัยอันควร และการป่วยเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด

 

 

นั่งนาน

 

 

 

นอกจากนั้นทางด้าน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ของประเทศไทย ก็เคยได้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับประเด็นนี้เช่นกันว่า เมื่อเวลาที่เรานั่งระบบย่อยอาหารจะทำงานช้าลง ก่อให้เกิดอาการต่าง ๆ  ท้องผูก จุก ท้องอืด เป็นตะคริว อวัยวะภายในเสี่ยงอันตราย เช่น หัวใจ เพราะการนั่งทำให้เลือดไหลเวียนช้าลงกล้ามเนื้อเผาผลาญไขมันได้น้อยลง คอและไหล่ตึง หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท กระดูกสันหลังคด ยาวไปถึงกล้ามเนื้ออาจเสื่อมสภาพได้ ดังนั้นหากเรานั่งทำงานในท่าทางที่ไม่เหมาะสม เช่น การนั่งเอียงตัวไปข้างใดข้างหนึ่ง นั่งไขว่ห้าง หรือนั่งโดยเท้าทั้ง 2 ข้างวางไม่ถึงพื้น นอกจากจะมีการกดทับเส้นเลือดบางส่วนไม่เท่ากัน ส่งผลให้เลือดไหลเวียนได้ไม่ดีแล้ว การที่นั่งเป็นเวลานานจะส่งผลให้ขาดแรงบีบอัดจากกล้ามเนื้อ เพื่อส่งเลือดกลับเข้าสู่หัวใจ ร่างกายจึงมีการไหลเวียนโลหิตไม่เพียงพอ

 

 

นั่งนาน

 

 

ดังนั้น การนั่งทำงานหรือนั่งทำกิจกรรมใด ๆ ก็ตามติดต่อกันได้นานเกิน 2 ชั่วโมงถือว่าเต็มที่แล้ว หากเกินกว่านี้ ความสามารถในการนั่งท่าที่ถูกต้องจะลดลง และส่งผลต่อข้อต่อ กระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูกสันหลังจะถูกแรงกระทำจากแรงโน้มถ่วงให้ยู่เข้าหากันเพราะไม่มีกล้ามเนื้อช่วยพยุงทำให้เกิดผลกระทบ เพื่อป้องกันอาการปวดเมื่อยเรื้อรัง และโรคที่จะตามมา นอกจากการปรับท่าทางการนั่งให้มีความสมดุลกันทั้ง 2 ข้างแล้ว การลุกขึ้นยืนบ่อย ๆ จะช่วยลดการกดทับส่วนต่าง ๆ และช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือดได้ดีขึ้น ดังนั้นเราจึงควรลุกขึ้นอย่างน้อยชั่วโมงละครั้ง โดยแต่ละครั้งควรมีการยืดกล้ามเนื้อเป็นเวลา 5 นาที หรืออย่างน้อยที่สุดคือ การลุกขึ้น หรือ เปลี่ยนอิริยาบถทุกชั่วโมงจะช่วยลดอาการปวดส่วนต่าง ๆ และลดการเสี่ยงโรคอื่น ๆ ตามมา เพื่อการมีสุขภาพที่ดี และฝ่าวิกฤติไปได้อย่างมีความสุข

 

 

นั่งนาน

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : China Xinhua News 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

นายกฯ เปิดงาน Thailand Reception เชิญชวนสัมผัสเสน่ห์อาหารไทย ชูศักยภาพเศรษฐกิจ
จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย
ทบ.ขานรับนโยบายปราบยาเสพติด เพิ่มทหาร 6 กองกำลัง วัดเคพีไอ 10 กพ.-10 มิ.ย.

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น