เปิดจุดกำเนิด “ดารุมะ” บุฟเฟ่ต์ 18 มงกุฎ สู่ตอนจบ “บอลนี่”

เปิดไทม์ไลน์ร้านบุฟเฟต์แซลม่อนชื่อดัง “ดารุมะ” จุดกำเนิดต้นทุนจดทะเบียนเพียง 5 ล้านบาท ก่อนขยายเป็น 26 สาขาทั่วประเทศ กระทั่งถูกเจ้งความ นำมาสู่ตอนจบ “บอลนี่”

จากกรณีดราม่าร้านบุฟเฟต์เจ้าดัง ดารุมะ ซูชิ ที่จู่ๆ ก็ปิดร้านปิดร้านเงียบหายไป ตั้งแต่วันที่ 18 มิถุนายน 2565 ส่งผลให้เกิดผู้เสียหายขึ้นจำนวนมากทั้งผู้ที่ซื้อแฟรนไชส์ ผู้ที่ซื้อคูปองลดราคา และพนักงานของร้าน เนื่องจากเมื่อไม่นานมานี้ ทางร้าน ดารุมะ ซูชิ ได้ทำการเปิดขาย Voucher หรือ คูปอง ในราคา 199 บาท โดยบางคนซื้อมาเก็บไว้ เผื่อใช้ในโอกาสที่ต้องการ แต่ตอนนี้กลับต้องมาเรียกร้องขอเงินคืน มูลค่าความเสียหายรวมกว่า 100 ล้านบาท ซึ่งหากย้อนไทม์ไลน์กลับไปจะพบดังนี้

 

ข่าวที่น่าสนใจ

– “ดารุมะ ซูชิ” เป็นชื่อร้านบุฟเฟ่ต์อาหารญี่ปุ่น มีสาขา 26 แห่ง ทั้งในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ในจำนวนนี้ 6 สาขา เป็นของเจ้าของบริษัท อีก 20 สาขาเป็นการขายแฟรนไชส์

– เจ้าของบริษัทคือ “บอลนี่ – เมธา ชลิงสุข” เขาจดทะเบียนก่อตั้งบริษัทเมื่อเดือนมกราคม 2559 ด้วยทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท ก่อนเปิดร้าน เมธา ได้เข้าเรียนหลักสูตรการทำซูชิที่โรงแรมดุสิตธานี แล้วเปิดดารุมะ สาขาแรกที่อุดมสุข 50 ริมถนนสุขุมวิท

– เมธา เคยให้สัมภาษณ์สื่อแห่งหนึ่งไว้เมื่อมกราคม 2565 ว่า ตอนอยู่ที่ออสเตรเลีย เขาเคยทำงานร้านอาหารไทย พอกลับมาเมืองไทยเมื่อ 7-8 ปีที่แล้ว ก็ฝันอยากมีร้านอาหารของตัวเอง ซึ่งตอนนั้นธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นกำลังดังมากในไทย จึงหันมาทำร้านอาหารญี่ปุ่น

– ดารุมะได้รับความเชื่อถือจากผู้บริโภค เพราะหลายสาขาเปิดในศูนย์การค้าที่มีชื่อเสียง จุดขายคือการจำหน่ายคูปองล่วงหน้า ผ่านแอปพลิเคชันในราคาเพียง 199 บาท (รวม vat = 212 บาท) บัตรมีอายุถึง 6 เดือน แต่มีเงื่อนไขคือต้องซื้อ 5 ใบขึ้นไปจึงจะได้ราคานี้

– คนที่ซื้อคูปองล่วงหน้าของดารุมะ มีตั้งแต่บุคคลทั่วไปที่ซื้อหาไว้ทานเอง กับอีกส่วนคือ คนกลางซื้อมาขายต่อ เพื่อทำกำไร ซึ่งคนกลุ่มหลังนี้ซื้อเวาเชอร์ตุนไว้จำนวนมาก

– วันที่ 17 มิถุนายน 2565 คนที่ซื้อคูปองล่วงหน้าไว้ และจะไปทานอาหาร พบว่า ดารุมะ หลายสาขาพร้อมใจกันขึ้นป้าย “ปิดร้าน 1 วัน เพื่อปรับปรุงระบบ” แต่จนถึงวันที่ 18 ก็ยังไม่เปิด และเพจร้านก็หายไป

– ต่อมาผู้จัดการร้านดารุมะ สาขาหนึ่งออกมาเล่าว่า อยู่ ๆ เจ้าของบริษัทก็ดีดตัวเองออกจากไลน์กลุ่มทั้งหมด แล้วยังลบไลน์ตัวเองทิ้ง ไม่มีใครติดต่อเขาได้อีก โดยที่เจ้าของแฟรนไชส์และพนักงานร้านทั้งหมดไม่มีใครทราบว่าเกิดอะไรขึ้น ซัพพลายเออร์ก็ไม่ส่งวัตถุดิบให้ จึงจำเป็นต้องปิดบริการไปก่อน

– ส่วนที่บอกว่าระบบล่ม เพราะลูกค้ากระหน่ำโทรถาม ไม่รู้จะตอบอย่างไรดี จะบอกว่าติดต่อผู้บริหารไม่ได้ก็กลัวจะมีผลต่อหน้าที่การงานในอนาคต จึงต้องตอบแบบนั้นเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า พนักงานก็เดือดร้อนเช่นกัน ยังไม่ได้รับเงินเดือนและไม่มีคำตอบให้กับอนาคตของตัวเอง

– ผู้จัดการสาขาคนหนึ่งเล่าว่า ทำงานมา 3 ปี เจ้าของบริษัทเป็นเจ้านายที่น่ารักกับลูกน้อง แต่บริษัทนี้ไม่มีฝ่ายบุคคล ไม่มีฝ่ายบัญชี ไม่มีทีมบริหาร การตัดสินใจทั้งหมดอยู่ที่เจ้าของบริษัทคนเดียว เมื่อเขาหายไปจึงล้มทั้งระบบ และยังพบว่าเค้างจ่ายค่าปลาแซลมอนกับซัพพลายเออร์ กว่า 30 ล้านบาท

– ส่วนบริษัทที่พัฒนาแอปฯ ให้ดารุมะ เมื่อทราบข่าวก็รีบไปแสดงความบริสุทธิ์ใจกับตำรวจและ สคบ. ว่า ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง พร้อมปิดระบบในแอปฯ เพราะเกรงจะมีคนซื้อคูปองล่วงหน้าเพิ่ม

– ช่วงดึกของคืนวันที่ 16 มิถุนายน เมธา ได้บินออกนอกประเทศไปแล้ว ปลายทางอยู่ที่ดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ บางกระแสข่าวบอกว่าหลังจากนั้นเขาบินต่อไปสหรัฐอเมริกา

– มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า ร้านไม่มีทางได้กำไรจากการขายคูปองราคานี้ เพราะลำพังปลาแซลมอน ก็ราคากิโลกรัมละ 380 บาทแล้ว ลูกค้าส่วนใหญ่ก็มาเพื่อจะกินแซลมอนแบบไม่อั้น จึงเชื่อว่า เมธา ฉ้อโกงตั้งแต่แรก

– เกิดมูลค่าความเสียหายกว่า 100 ล้านบาท มีผู้เสียหายอย่างน้อย 4 กลุ่ม คือ ผู้ซื้อแฟรนไชส์, ผู้ซื้อคูปอง, พนักงาน และซัพพลายเออร์ นอกจากนี้ยังพบว่าบางสาขาค้างจ่ายค่าเช่าสถานที่มา 2 เดือนแล้ว

– หนึ่งในคนที่ซื้อแฟรนไชส์ ดารุมะ เคยให้สัมภาษณ์กับ “กรุงเทพธุรกิจ” เมื่อกันยายน 2564 ว่า เหตุผลที่เลือกลงทุนกับ ดารุมะ เพราะเป็นเพื่อนกับเจ้าของแบรนด์ตั้งแต่ประถม โดยเธอซื้อแฟรนไชส์ไว้ 6 สาขา

– ผู้ซื้อแฟรนไชส์สาขาสายไหม เล่าว่า ซื้อแฟรนไชส์ในราคา 2.5 ล้านบาท ข้อตกลงคือเจ้าของแบรนด์จะปันผลกำไรให้ 10% จากยอดขายของทุกเดือน แต่กลับได้รับเงินปันผลแค่ 2 เดือนแรกเท่านั้น เฉลี่ยเดือนละแสนกว่าบาท แต่เดือนที่ 3 ไม่ได้เงิน และเจ้าของแบรนด์ไม่ส่งวัตถุดิบให้ จนร้านต้องปิดตัวลง

– เมธา ขายแฟรนไชส์สาขาหนึ่งให้กับบุคคล 2 คน โดยทั้งสองคนไม่รู้ว่ามีการขายซ้ำซ้อน เพิ่งมาทราบ เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน ว่า ต่างก็ถือสัญญาเป็นเจ้าของสาขาเดียวกัน ทำให้ เมธา ได้รับเงินในการขายแฟรนไชส์สาขานี้สาขาเดียว 5 ล้านบาท

– ร้านเปิดขายคูปองผ่านแอปฯ ตั้งแต่ปี 2564 และลดราคาลงเรื่อย ๆ จนเหลือ 199 บาท ขายไปแล้วเกือบ 6 แสนใบ ถูกใช้ไปแล้วประมาณ 4 แสนใบ เหลือที่ยังไม่ได้ใช้ 1.29 แสนใบ

– ดารุมะ มีพนักงานทุกสาขารวม 395 คน ซึ่งต่อมาพบว่า ทุกคนมีสถานะเป็นลูกจ้างนอกระบบ หรือแรงงานเถื่อน เพราะ เมธา ไม่ได้ทำเอกสารสัญญาจ้างใดๆ และบริษัทดารุมะก็ไม่มีสำนักงานจริง แต่ใช้ที่ตั้งร้านสาขาหนึ่งมาจดทะเบียนเป็นสำนักงาน

– ล่าสุด 22 มิ.ย. 65 ตำรวจควบคุมตัว เมธา ได้ที่สนามบินสุวรรณภูมิ ก่อนจะควบคุมตัวมาสอบปากคำที่กองบังคับการปราบปรามฯ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เมียไรเดอร์ เปิดใจเสียงสั่น กลัวไม่ได้รับความเป็นธรรม หลังรู้ข่าว หนุ่มอินเดียซิ่งเก๋งได้ประกันตัว ลั่น ‘คนมีเงินมันยิ่งใหญ่’
นายกฯ เปิดงาน Thailand Reception เชิญชวนสัมผัสเสน่ห์อาหารไทย ชูศักยภาพเศรษฐกิจ
จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น