“ดาวเทียมเล็ก” THEOS-2 ไทยร่วมพัฒนา เตรียมส่งขึ้นอวกาศปี 66

ดาวเทียมเล็ก

"ดาวเทียมเล็ก" THEOS-2 ถึงประเทศไทยแล้ว สอดรับนโยบายอวกาศของรัฐบาล หลังร่วมพัฒนาโดยทีมวิศวกรไทยกว่า 20 คน เตรียมส่งขึ้นอวกาศต้นปี 2566

“ดาวเทียมเล็ก” ดาวเทียม THEOS-2 ดาวเทียม THEOS-2A  ดาวเทียมไทย น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกรัฐบาล แจ้งข่าวที่น่าภาคภูมิใจแก่ชาวไทย เมื่อดาวเทียมเล็ก THEOS-2 ถึงประเทศไทยแล้ว หลังมีทีมวิศวกรไทยกว่า 20 คน ร่วมพัฒนากับผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างดาวเทียมจากประเทศอังกฤษ ซึ่งดาวเทียมนี้จะเตรียมส่งขึ้นอวกาศในต้นปี 2566 นั่นเอง ติดตามเรื่องราวทั้งหมดนี้ที่ TOP News

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

โดยเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2565 เพจเฟซบุ๊ก รัชดา ธนาดิเรก – รองโฆษกรัฐบาล ได้โพสต์ข้อความว่า สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ GISTDA แจ้งข่าวดี ดาวเทียมเล็ก ‘THEOS-2’ ที่พัฒนาโดยวิศวกรดาวเทียมไทยกว่า 20 คน ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างดาวเทียมจากบริษัท Surrey Satellite Technology ประเทศอังกฤษ เป็นเวลากว่า 2 ปี เดินทางมาถึงประเทศไทยแล้ว สอดรับนโยบายอวกาศของรัฐบาล

 

 

ดาวเทียม เล็ก ‘THEOS-2’ นี้ เป็นดาวเทียมสำรวจโลกดวงแรกของไทย มีน้ำหนัก 100 กิโลกรัม พร้อมด้วยระบบเซนเซอร์และกล้องถ่ายภาพ ประกอบด้วย กล้องถ่ายภาพโลก กล้องถ่ายภาพดาวเทียม อุปกรณ์วัดสนามแม่เหล็กโลก อุปกรณ์วัดการเคลื่อนไหว อุปกรณ์วัดความเข้มของแสงอาทิตย์ และอุปกรณ์จีพีเอส สามารถบันทึกภาพที่มีรายละเอียดประมาณ 1 เมตร ต่อ pixel เมื่อส่งขึ้นสู่อวกาศแล้ว จะโคจรรอบโลกวันละ 13-14 รอบ และผ่านประเทศไทย 3-4 รอบต่อวัน ขณะนี้ ดาวเทียมเล็ก ‘THEOS-2’ อยู่ระหว่างทดสอบระบบดาวเทียม ณ ศูนย์ประกอบและทดสอบดาวเทียม อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี จนถึงเดือนธันวาคม 2565 ก่อนส่งขึ้นสู่อวกาศในต้นปี 2566

 

 

ดาวเทียมเล็ก

 

 

 

นอกจากนั้นทางด้านเพจเฟซบุ๊ก GISTDA สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับดาวเทียมตัวนี้ไว้ว่า ดาวเทียม THEOS-2A เป็นดาวเทียมที่มีน้ำหนัก 100 กิโลกรัม และสามารถบันทึกภาพที่มีรายละเอียดประมาณ 1 เมตร ต่อ pixel โคจรรอบโลกวันละ 13-14 รอบ และผ่านประเทศไทย 3-4 รอบต่อวัน เป็นดาวเทียมสำรวจโลกที่มีมาตรฐานระดับ industrial grade ดวงแรกของไทย วิศวกรดาวเทียมไทยกว่า 20 คน ออกแบบและพัฒนาร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างดาวเทียมจากบริษัท Surrey Satellite Technology หรือ SSTL ณ สหราชอาณาจักร เป็นเวลากว่า 2 ปี

 

 

ดาวเทียมเล็ก

 

ทีมผู้เชี่ยวชาญจาก SSTL ให้ทีมวิศวกรดาวเทียมไทยพัฒนา payload ที่ 3 เองทั้งหมด ควบคู่กับการพัฒนาดาวเทียม ตั้งแต่การเขียนแบบร่าง ออกแบบ พัฒนา และทดสอบ รวมถึงประกอบเข้ากับตัวดาวเทียม payload ที่ 3 ที่ว่าก็คือ ‘ระบบเซนเซอร์และกล้องถ่ายภาพ’ ประกอบด้วย

  • กล้องถ่ายภาพโลก
  • กล้องถ่ายภาพดาวเทียม
  • อุปกรณ์วัดสนามแม่เหล็กโลก
  • อุปกรณ์วัดการเคลื่อนไหว
  • อุปกรณ์วัดความเข้มของแสงอาทิตย์
  • อุปกรณ์จีพีเอส

 

โดยเน้นการสาธิตระบบการทำงานของอุปกรณ์ที่เป็น commercial off the shelf ที่มีราคาเหมาะสมและคุ้มค่า เพื่อนำไปต่อยอดในการพัฒนาดาวเทียมในอนาคต ผู้ประกอบการในไทยมีส่วนร่วมที่สำคัญมาก ๆ กับการผลิตชิ้นส่วนสำหรับดาวเทียม THEOS-2A ดวงนี้ ซึ่งถือเป็นการส่งเสริม เพิ่มศักยภาพ ยกระดับขีดความสามารถเพื่อเข้าสู่ Space Value Chain และแข่งขันได้ในระดับสากล

 

 

ดาวเทียมเล็ก

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

บางจาก ศรีราชา และ GISTDA ผนึกกำลังกับสวนสัตว์เปิดเขาเขียว ร่วมสร้างอนาคต นกกาฮัง และ การฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ
“กรมอุตุฯ” เตือนรับมือ "พายุฤดูร้อน" ฉบับ 2 ถล่มไทยตอนบน 26 เม.ย.- 1 พ.ค.นี้
“ดร.เฉลิมชัย” ลงพื้นที่ติดตามโครงการศึกษา สำรวจและพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลในพื้นที่เสี่ยงกร่อยเค็ม ตำบลอุ่มเม้า อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด แก้ปัญหาให้ประชาชน 15 หมู่บ้าน กว่า 7,200 คน มีน้ำกินน้ำใช้ตลอดปี
"ผอ.สปภ." เผย ตึกสตง.ถล่ม ลดซากเหลือ 7 เมตร จนท.ตัดเหล็กขนย้ายได้เร็วขึ้น คาดเสร็จสิ้นเดือนเม.ย.นี้
แฉกลโกงออนไลน์! ใช้ชื่อ ‘ธนินท์’ ลวงซ้ำ – ซีพีเอาผิดไม่เว้น
DITP โชว์ผลงานจัดกิจกรรมส่งออก 7 เดือน สร้างรายได้เข้าประเทศ 36,921 ล้าน ผู้ประกอบการได้ประโยชน์ 42,409 ราย
"กระทรวงยุติธรรม" เปิดตัวโครงการ "รวมพลังอาสาสมัครราชทัณฑ์ คืนคนดีสู่สังคม"
“เอกนัฏ” เอาจริง “ส่งทีมสุดซอย” ตรวจโรงงานปราจีนฯ ยึดเหล็กไม่ได้มาตรฐาน 7 พันตัน มูลค่า 148 ล้าน คาดเอี่ยวคดีตึก สตง.
"อ.ปรเมศวร์" ชี้ทางดีเอสไอ ลุยเอาผิดประมาท ตึกสตง.ถล่ม อึ้งข้อมูลใช้งบฯส่อทุจริต
จีนปล่อยยานเสินโจว 20 มุ่งสู่สถานีอวกาศเทียนกง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น