ทำความรู้จัก "โรคซึมเศร้า" หลัง urboytj เปิดใจหมดไฟการใช้ชีวิต แพทย์เผยปัญหาใจรักษาได้ เช็คอาการและวิธีป้องกันได้ที่นี่
ข่าวที่น่าสนใจ
“โรคซึมเศร้า” เป็นหนึ่งในอาการเจ็บป่วยทางจิตใจอันดับต้น ๆ ที่หลายคนอาจมีอาการโดยที่ไม่รู้ตัว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักจะเกิดจากปัญหาในชีวิต เหตุการณ์ที่มีผลกระทบต่อจิตใจ บางครั้งก็สามารถเกิดได้ขึ้นเองโดยไม่มีสาเหตุ อย่างไรก็ตาม ซึมเศร้า เป็นอาการที่ต้องอาศัยคนที่เข้าใจและยาประกอบกัน และวันนี้ TOP News จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับอาการนี้ชัด ๆ พร้อมแนะแนวทางป้องกัน จะมีอะไรบ้างนั้น ติดตามชมได้เลยค่า
สาเหตุ
- พันธุกรรมหรือพื้นฐานดั้งเดิม มีประวัติสมาชิกในครอบครัวเป็น
- หรือมีลักษณะนิสัยเป็นคนอ่อนไหวง่าย คิดมาก มองโลกในแง่ลบ รวมถึงการมีสารเคมีในสมองที่ไม่สมดุล
- สภาพแวดล้อมตั้งแต่เด็กจนโต เช่น การเลี้ยงดูของพ่อแม่ อิทธิพลจากคนใกล้ชิดรอบข้าง
- นอกจากนี้ ยังอาจเกิดจากการมีปัจจัยมากระตุ้นที่ทำให้เกิดความเครียดขึ้นมาก่อน
- หรืออาจเกิดขึ้นโดยไม่มีปัจจัยมากระตุ้น (น้อยเคส)
ผลกระทบของซึมเศร้า
- เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคทางกาย เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไทรอยด์ โรคภูมิแพ้ โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง โรคสมองเสื่อม และโรคมะเร็ง
- เพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุได้มากกว่าคนปกติ
- เสียชีวิตจากสารเสพติด
- ไปจนถึงตัดสินใจจบชีวิตตัวเอง
ซึมเศร้า สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท
- ซึมเศร้าแบบขั้วเดียว : ผู้ป่วยมีอาการซึมเศร้าอย่างเดียว
- ซึมเศร้าแบบสองขั้ว หรือที่เรียกว่าไบโพลาร์ : ประเภทเดียวกับที่ urboytj เป็น ผู้ป่วยมีอาการอารมณ์ขึ้นลงมากกว่าคนทั่วไปจนเกิดผลเสีย
ลักษณะอาการ
หากคนใกล้ชิดหรือตนเองมีอาการอย่างน้อย 5 อย่างหรือมากกว่าติดต่อกันอย่างน้อย 14 วัน และมีอาการเหล่านี้อยู่เกือบทั้งวัน ถือว่าเข้าข่ายเป็นซึมเศร้า
- มีอารมณ์ซึมเศร้า (เด็กหรือวัยรุ่นอาจมีอาการหงุดหงิด โกรธง่าย)
- เบื่อ หมดความสนใจหรือความสุขในการทำกิจกรรมต่าง ๆ
- นอนไม่หลับ หรือหลับ ๆตื่น ๆ หรือหลับมาก
- เหนื่อยง่ายหรือไม่ค่อยมีแรง
- เบื่ออาหารหรือกินมากเกินไป
- รู้สึกไร้ค่า รู้สึกไม่ดีกับตัวเอง
- ไม่มีสมาธิหรือลังเลใจไปหมด
- พูดช้า ทำอะไรช้าลง หรือมีอาการกระวนกระวาย ไม่อยู่นิ่ง
- มีความคิดสั้น คิดทำร้ายตัวเอง
การรักษา
- การพูดคุยให้คำปรึกษา การทำจิตบำบัด
- รวมถึงการใช้ยาในกลุ่มแก้ซึมเศร้าหากมีความจำเป็น
- “โรคซึมเศร้า” เป็นโรคที่รักษาได้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะอาการดีขึ้น จนสามารถใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติและยิ่งมารับการรักษาเร็วเท่าไรอาการก็จะดีขึ้นได้อย่างรวดเร็ว แต่หากปล่อยทิ้งไว้จะทำให้รักษายากยิ่งขึ้น
วิธีป้องกัน
1. อาหาร
- ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
- หากขาดสารอาหารบางอย่างไปจะทำให้มีความเสี่ยงเป็นซึมเศร้ามากขึ้น เช่น โอเมก้า 3 วิตามิน อี ซี ดี ทองแดง ธาตุเหล็ก
2. การออกกำลังกาย
- ควรออกกำลังกายสัปดาห์ละอย่างน้อย 4 วัน/สัปดาห์ ต่อเนื่องกัน 30-40 นาที
- เป็นการออกกำลังกายเบา ๆ เช่น เดินเร็วก็ได้
3. การพักผ่อน
- พักผ่อนให้เพียงพอกับที่ร่างกายต้องการ
- ให้ตื่นขึ้นมาแล้วรู้สึกสดชื่น ไม่ง่วงหรือยังเพลียอยู่
4. การทำสมาธิ (Mindfulness)
- เพื่อผ่อนคลายจิตใจ มีงานวิจัยเผยว่า การทำสมาธิช่วยให้สมองผ่อนคลาย ลดความเครียดได้
5. การฝึกคิดบวก
- ป้อนความคิดทางบวกให้กับตัวเองอยู่เสมอ เพื่อสร้างให้จิตใจมีความเข้มแข็ง เอาชนะอุปสรรคในชีวิตได้
ข้อมูล : Bumrungrad International
ข่าวที่เกี่ยวข้อง