“สิทธิบัตรทอง” 2565 ผู้ประกันตนใช้สิทธิทันตกรรมทำอะไรได้บ้าง

สิทธิบัตรทอง, สิทธิ 30 บาท, สิทธิทันตกรรม, ถอนฟัน, อุดฟัน, รากฟัน, โรคปริทันต์อักเสบ, โรครำมะนาด, ดัดฟัน, จัดฟัน, ครอบฟัน, ฟันแท้, ฟันน้ำนม, ฟันปลอม, ทันตแพทย์

"สิทธิบัตรทอง" สิทธิ 30 บาท 2565 สรุปชัด ๆ ผู้ประกันตนทั้งหลาย มีสิทธิทำทันตกรรมอะไรได้บ้าง มีคำตอบแล้ว

“สิทธิบัตรทอง” สิทธิ 30 บาท หรือสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เช็คด่วน ผู้ประกันมีสิทธิทำทันตกรรมอะไรได้บ้าง ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

“ผู้มีสิทธิบัตรทอง” สิทธิ 30 บาท หรือสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่มีปัญหาช่องปาก หรือด้านทันตกรรม สามารถเข้ารับบริการที่สถานพยาบาลประจำตามสิทธิ โดยแสดงบัตรประชาชน หากหน่วยบริการตามสิทธิเกินศักยภาพ อุปกรณ์ไม่พร้อม จะส่งต่อไปยังสถานพยาบาลที่สามารถรักษาได้ตามขั้นตอน

 

 

 

สิทธิประโยชน์ด้านทันตกรรมที่คุ้มครอง

1. การถอนฟัน

2. การอุดฟัน อุดคอฟัน

3. ขูดหินปูน การเกลาฟันหรือเกลารากฟัน (ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของทันตแพทย์ในการรักษา)

4. ฟันปลอมฐานพลาสติก ทั้งแบบซี่ถอดได้และแบบทั้งปากถอดได้

5. ฟันปลอมแบบถอดได้มีอายุการใช้งาน 5 ปี หากผู้รับบริการได้รับความเห็นจากทันตแพทย์ว่า มีความจำเป็นต้องซ่อมฟันปลอมก่อน 5 ปี ผู้รับบริการสามารถใช้สิทธิได้

 

 

 

สิทธิบัตรทอง, สิทธิ 30 บาท, สิทธิทันตกรรม, ถอนฟัน, อุดฟัน, รากฟัน, โรคปริทันต์อักเสบ, โรครำมะนาด, ดัดฟัน, จัดฟัน, ครอบฟัน, ฟันแท้, ฟันน้ำนม, ฟันปลอม, ทันตแพทย์

 

 

 

6. รักษาโพรงประสาทฟันน้ำนม (รากฟันน้ำนม)

7. ใส่เพดานเทียมในเด็กปากแหว่งเพดานโหว่

8. ผ่าฟันคุด (ตามข้อบ่งชี้ของทันตแพทย์)

9. เคลือบหลุมร่องฟัน (เด็กโตและวัยรุ่น อายุ 6-24 ปี)

10. การทาฟลูออไรด์วาร์นิช (เด็กอายุ 9 เดือน- 5 ปี)

การเคลือบฟลูออไรด์ (เด็กโตและวัยรุ่น อายุ 6-24 ปี) แบบเข้มข้น ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุ กลุ่มเสี่ยง ได้แก่

(1.) ผู้ที่มีภาวะน้ำลายแห้งจากการรักษามะเร็งด้วยการฉายแสงบริเวณใบหน้าและลำคอ

(2.) หรือจากการกินยารักษาโรค ทางระบบที่ส่งผลให้น้ำลายแห้งติดต่อกันเป็นเวลานาน

(3.) รวมทั้งผู้ที่มีเหงือกร่น รากฟันโผล่ ที่ยากต่อการทำความสะอาด

 

 

 

สิทธิบัตรทอง, สิทธิ 30 บาท, สิทธิทันตกรรม, ถอนฟัน, อุดฟัน, รากฟัน, โรคปริทันต์อักเสบ, โรครำมะนาด, ดัดฟัน, จัดฟัน, ครอบฟัน, ฟันแท้, ฟันน้ำนม, ฟันปลอม, ทันตแพทย์

11.โรคปริทันต์อักเสบ (ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของทันตแพทย์ในการรักษา)

  • โรคปริทันต์ คือ โรคที่มีการอักเสบของอวัยวะที่อยู่รอบ ๆ ตัวฟัน ได้แก่

– เหงือก

– เอ็นยึดปริทันต์

– เคลือบรากฟัน

– และกระดูกเบ้าฟัน

  • ถ้าไม่ได้รับการรักษาอวัยวะต่าง ๆ เหล่านี้จะถูกทำลายไปอย่างช้า ๆ ทุกวันจนต้องสูญเสียฟันไปในที่สุด
  • โรคนี้ภาษาชาวบ้านเรียกว่า โรครำมะนาด มีความรุนแรงมากกว่าโรคเหงือกอักเสบ
  • อาการที่ผู้ป่วยรู้สึกได้ คือ

– เหงือกบวม

– มีเลือดออกภายหลังการแปรงฟัน

– เจ็บเหงือกเวลาเคี้ยวอาหารในบางครั้ง

ฟันโยก มีเหงือกบวมเป็นหนอง

– ในกรณีที่เป็นโรครุนแรงมาก ๆ มีกลิ่นปาก ฟันยื่นยาวหรือแยกกันเกิดเป็นช่องว่างระหว่างฟัน เคี้ยวอาหารไม่ได้จนต้องมาให้ทันตแพทย์ถอนออก

 

 

 

12. การผ่าตัดใส่รากฟันเทียมสำหรับผู้ที่ไม่มีฟันทั้งปาก

  • ให้บริการผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่ไม่มีฟันทั้งปากและมีข้อบ่งชี้การใส่รากฟันเทียม ด้วยบริการใส่รากฟันเทียมและการบำรุงรักษา

13. จัดฟัน ในผู้มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ หรือปากแหว่ง หรือเพดานโหว่ (ตามดุลยพินิจของทันตแพทย์)

 

 

 

สิทธิบัตรทอง, สิทธิ 30 บาท, สิทธิทันตกรรม, ถอนฟัน, อุดฟัน, รากฟัน, โรคปริทันต์อักเสบ, โรครำมะนาด, ดัดฟัน, จัดฟัน, ครอบฟัน, ฟันแท้, ฟันน้ำนม, ฟันปลอม, ทันตแพทย์

 

 

 

“ผู้มีสิทธิบัตรทอง” สิทธิประโยชน์ด้านทันตกรรมที่ไม่คุ้มครอง

1. การครอบฟันน้ำนม/ครอบฟันแท้

  • เป็นการรักษาไม่ใช่บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค

2. การรักษารากฟันแท้

  • เนื่องจาก เป็นข้อเสนอของคณะทำงานด้านสิทธิทางทันตกรรม โดยความเห็นชอบของทันตแพทยสภาว่า ควรให้เฉพาะการรักษารากฟันน้ำนมก่อน เนื่องจาก มีความสำคัญต่อสุขภาพมากกว่า
  • ซึ่งทางทันตแพทย์ให้ความเห็นทำนองนี้ และบอกว่าการรักษารากฟันในเด็กเป็นการป้องกัน ส่วนในผู้ใหญ่เป็นการรักษา
  • และรักษารากฟันอย่างเดียวในผู้ใหญ่นั้นไม่เพียงพอ เพราะ ฟันจะเปราะ ต้องมีการทำครอบฟันด้วย ซึ่งการทำครอบฟันนี้เห็นกันว่า อาจดูก้ำกึ่งจัดเป็นการเสริมสวยก็ได้
  • แต่ถ้าไม่ทำครอบฟัน ในที่สุดไม่นานก็ต้องถอนแล้วใส่ฟันปลอมอยู่ดี
  • รวมทั้งมีปัญหากำลังคนด้วย เพราะ อาจต้องใช้ทันตแพทย์เฉพาะทาง
  • ดังนั้น จึงเห็นพ้องต้องกันว่า ถอนแล้วใส่ฟันเทียมน่าจะมีประสิทธิภาพมากกว่า

 

 

 

3. การเตรียมช่องปาก เพื่อการจัดฟัน

  • กรณีขออุดฟัน ถอนฟัน ขูดหินปูน ผ่าฟันคุด หากวัตถุประสงค์ต้องการทำเพื่อการจัดฟันถือว่าเกินความจำเป็น
  • ไม่มีข้อบ่งชี้ของทันตแพทย์เพื่อการรักษาถือว่าไม่คุ้มครอง

 

 

 

สิทธิบัตรทอง, สิทธิ 30 บาท, สิทธิทันตกรรม, ถอนฟัน, อุดฟัน, รากฟัน, โรคปริทันต์อักเสบ, โรครำมะนาด, ดัดฟัน, จัดฟัน, ครอบฟัน, ฟันแท้, ฟันน้ำนม, ฟันปลอม, ทันตแพทย์

 

 

 

ข้อมูล : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

โฆษกตร.แจงเหตุ "พ.ต.อ.ไพรัตน์" ได้รับพิจารณาเลื่อนตำแหน่ง แม้เคยถูกออกหมายจับในอดีต
สุดเศร้า "สาวไทยวัย 30 " จบชีวิตในห้องน้ำห้างดังมาเลเซีย ล่าสุดครอบครัว-ญาติ รู้ข่าวแล้ว
"พิพัฒน์" เปิดโครงการก.แรงงานพบประชาชน สนับสนุนการเข้าถึงโอกาสตำแหน่งงาน พัฒนาอาชีพบุคคล
"สำนักงานสลากฯ" เห็นชอบขายสลาก N3 ต่อเนื่อง งวดละ 5 ล้านรายการ พร้อมเพิ่มผู้แทนเดินจำหน่าย
ระทึก จนท.ช่วย "ช้างป่า" ขึ้นจากสระน้ำ ก่อนทำร้ายชาวบ้านบาดเจ็บสาหัส
ทางการจีนขอบคุณตร.ไทย ช่วยพลเมือง "ดารานายแบบ-เหยื่อชาวจีน" พ้นเงื้อมมือแก๊งคอลเซ็นเตอร์
“นายกฯ” ยินดี “กรุงเทพฯ” ติดอันดับ 2 เมืองที่ดีที่สุดในโลกปี 2025 ย้ำรบ.เร่งเดินหน้าพัฒนาทั่วประเทศ
"ทักษิณ" หาเสียงอบจ.หนองคาย ยันลุยแก้หนี้-แก๊งคอลเซ็นเตอร์ มั่นใจลดค่าไฟต่ำกว่า 3.70 บาท
"เจ้าของร้านทอง" ไหวพริบดี ช่วย "เหยื่อ" จากแก๊งคอลฯ หลังมิจฉาชีพอ้างเป็น ตร.บังคับขายทอง
‘อ.ปรเมศวร์’ วิเคราะห์ชัด ทำไมรื้อ‘คดีแตงโม’ ถึงเป็นไปได้ยาก

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น