นายอายุตม์ สินธพพันธุ์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวถึงกรณีผู้ต้องขัง กลุ่มทะลุแก๊ส รับประทานยาพาราเซตามอลเกินขนาด รวมถึงการทำร้ายตัวเองด้วยของมีคม ขณะถูกควบคุมตัวอยู่ภายในเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ว่า กรมราชทัณฑ์ ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงไปยังผู้บัญชาการเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร พบว่าผู้ต้องขังกลุ่มดังกล่าว จำนวน 3 ราย ได้แก่
กรมราชทัณฑ์ เร่งตั้งกรรมการสอบปม 3 ผู้ต้องขัง กลุ่มทะลุแก๊ส ทำร้ายตัวเอง-กินยาเกินขนาด เผยสาเหตุเบื้องต้นเกิดจากความเครียดเรื่องคดีและภรรยากำลังตั้งครรภ์
ข่าวที่น่าสนใจ
ผู้ต้องขังชาย ใบบุญ (ขอสงวนนามสกุล) และผู้ต้องขังชาย พุฒิพงศ์ (ขอสงวนนามสกุล) ได้ทำร้ายตัวเองด้วยการนำของมีคมกรีดข้อมือตนเอง พร้อมด้วย ผู้ต้องขังชาย พลพล (ขอสงวนนามสกุล) รับประทานยาพาราเซตามอลเกินขนาด เป็นเหตุต้องนำส่งไปรักษาตัวยังทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ตั้งแต่วันที่ 26 มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยอาการเบื้องต้น ณ วันที่ 27 มิ.ย.65
ผู้ต้องขังชาย พลพล มีอาการดีขึ้น รู้สึกตัวได้ดี พูดคุยรู้เรื่องช่วยเหลือตัวเองได้ ยังรับประทานอาหารได้มากขึ้น ไม่มีอาการปวดท้อง แต่ยังมีอาการคลื่นไส้อาเจียนเล็กน้อย นอนหลับได้ อาการเครียดดีขึ้นตามลำดับ อยู่ระหว่างการรักษาสังเกตอาการใกล้ชิด จากการสอบถามโดยนักจิตวิทยา ผู้ต้องขังชาย พลพล แจ้งว่าสาเหตุจากการกระทำดังกล่าว เกิดจากความเครียดในเรื่องส่วนตัว เนื่องจากเป็นห่วงภรรยาที่ตั้งครรภ์ และเรื่องคดีความของตนเอง แต่ก็จะพยายามปรับตัว ไม่คิดมากให้เกิดความเครียดอีก
ในส่วนของผู้ต้องขังชาย ใบบุญฯ และ ผู้ต้องขังชาย พุฒิพงศ์ฯ ที่ได้ทำร้ายตัวเองด้วยการนำของมีคมกรีดข้อมือตนเองนั้น พบว่ามีบาดแผล แต่ไม่รุนแรง พยาบาลประจำเรือนจำได้ทำการรักษาล้างแผลให้ทุกวัน โดยสาเหตุของการกระทำดังกล่าว แจ้งว่าเกิดจากความกังวลเรื่องทนายไม่มาติดต่อหรือพูดคุย แต่หลังจากได้เยี่ยมญาติและพบทนายแล้ว ทั้ง 2 ราย ก็รู้สึกเกิดความผ่อนคลายมากขึ้น
นายอายุตม์ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากเหตุการณ์ดังกล่าว กรมราชทัณฑ์ ไม่ได้นิ่งนอนใจแต่อย่างใดและได้ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการลักลอบนำยาพาราเซตามอลที่มีจำนวนมาก และการทำร้ายตัวเองด้วยของมีคมดังกล่าวแล้ว เพื่อมิให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นอีก ซึ่งกรมราชทัณฑ์ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพจิตของผู้ต้องขังทุกราย และมีความเป็นห่วงอย่างยิ่ง เมื่อผู้ต้องขังเกิดความเครียดที่ต้องถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำ โดยกำชับให้ทุกเรือนจำและทัณฑสถานทุกแห่งมอบหมายนักจิตวิทยา เข้าดูแลพูดคุยกับผู้ต้องขังเพื่อให้ได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด และเท่าเทียมกัน เพื่อมิให้เกิดการทำร้ายตัวเองขึ้นอีก
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
-