“ดร.สามารถ” ยันรถไฟฟ้าสีเขียว ถูกสุดแล้วย้อนถาม 20-25 บาททำแบบไหน

"ดร.สามารถ" ยันรถไฟฟ้าสีเขียว ถูกสุดแล้วย้อนถาม 20-25 บาททำแบบไหน

ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะผู้ชำนาญด้านโครงการและแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนและท่าอากาศยาน ให้สัมภาษณ์กับทีมข่าว TOP NEWS ถึงแนวคิด เรื่องการปรับอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวให้ถูกลง ว่า กรณีรถไฟฟ้าสายสีเขียว ถ้ามีการขยายสัมปทาน ค่าโดยสารสูงสุดที่เคยประเมินไว้จะอยู่ที่ 65 บาท ผู้โดยสารสามารถนั่งได้ไกลจากคูคต- สมุทรปราการ รวม 59 สถานี ระยะทาง 68.25 กิโลเมตร หรือ คิดเป็นค่าโดยสารต่อกิโลเมตร 1.23 บาท สำหรับตนเห็นว่ายังถูกกว่ารถไฟฟ้าหลายสาย

ดังนั้นกรณีที่มีการออกมาเรียกร้องให้ลดราคาค่าโดยสารลงมา ดร.สามารถ ตั้งคำถามกลับว่า ทำไมไม่ลดราคารถไฟฟ้าทุกสาย เพราะรถไฟฟ้าสายอื่นก็ไม่ถูกเหมือนอย่างที่อ้างกัน ในทางตรงข้ามรถไฟฟ้าสายสีเขียว บริษัท บีทีเอส เป็นฝ่าย ลงทุนเองทั้งหมด 100% ขณะที่สายอื่น บางสาย รัฐบาลลงทุนเอง หรือบางสายรัฐลงทุน 80% สำหรับตนจึงมองว่าสายสีอื่นๆ มีโอกาสทำให้ถูกลงได้เช่นเดียวกัน

ส่วนการเสนอแนวคิด ราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าที่ 20-25 บาท ดร.สามารถ มองว่าเป็นไปไม่ได้ เพราะปัจจุบัน ราคารถโดยสารปรับอากาศ ก็อยู่ที่ 12-20 บาทแล้ว ดังนั้นคนที่เสนอแนวคิดลักษณะนี้ จำเป็นต้องเสนอวิธีการประกอบมาด้วย

“หากต้องการจะให้ค่าโดยสารรถไฟฟ้าถูกลงนั้น รัฐบาลต้องลงทุนเองทั้งหมด แต่แม้ว่ารัฐบาลลงทุน 100% อาทิ สายสีม่วง ซึ่งรฟม. เป็นผู้ลงทุนทั้งหมด ปรากฎว่าค่าโดยสารอยู่ที่ 17-42 บาท คิดเป็นต่อกิโลเมตร จะเท่ากับ 1.83 บาท ซึ่งยังถือว่าแพงกว่ารถไฟฟ้าสายสีเขียว”

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ทั้งนี้ เมื่อมาดูข้อมูล ที่ดร.สามารถ เคยโพสต์เฟซบุ๊กเปรียบเทียบค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายต่างๆ พบว่า ค่าโดยสารต่อระยะทาง 1 กิโลเมตร สายสีม่วงแพงที่สุด และสายสีแดงถูกที่สุด ตามด้วยของสายสีเขียวถูกรองลงมา โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. สายสีเขียว

หากมีการต่อสัญญาให้ผู้รับสัมปทานคือบีทีเอส ค่าโดยสารจะอยู่ระหว่าง 16-65 บาท ใช้น้อยจ่ายน้อย ใช้มากจ่ายมาก แต่ไม่เกิน 65 บาท ซึ่งจะเดินทางได้ไกลสุดคือระหว่างคูคต-เคหะสมุทรปราการ ระยะทาง 53 กิโลเมตร ดังนั้น ค่าโดยสารต่อกิโลเมตรจะเท่ากับ 1.23 บาท (65/53) รถไฟฟ้าสายสีเขียวเป็นการลงทุนทั้งหมดโดยบีทีเอส

2. สายสีน้ำเงิน

ค่าโดยสาร 17-42 บาท หรือสูงสุดไม่เกิน 42 บาท ซึ่งจะเดินทางได้ไกลสุดคือระหว่างสุทธิสาร-หลักสอง ระยะทาง 26 กิโลเมตร ดังนั้น ค่าโดยสารต่อกิโลเมตรจะเท่ากับ 1.62 บาท (42/26)

รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเป็นการลงทุนโดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ประมาณ 80% และผู้รับสัมปทานคือบริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีอีเอ็ม ประมาณ 20%

3. สายสีม่วง

ค่าโดยสาร 17-42 บาท หรือสูงสุดไม่เกิน 42 บาท ซึ่งจะเดินทางได้ไกลสุดคือระหว่างเตาปูน-บางใหญ่ (คลองบางไผ่) ระยะทาง 23 กิโลเมตร ดังนั้น ค่าโดยสารต่อกิโลเมตรจะเท่ากับ 1.83 บาท (42/23) และรถไฟฟ้าสายสีม่วงเป็นการลงทุนทั้งหมดโดย รฟม.

 

 

4. รถไฟฟ้าสายสีแดง

ค่าโดยสาร 12-42 บาท หรือสูงสุดไม่เกิน 42 บาท ซึ่งจะเดินทางได้ไกลสุดคือระหว่างรังสิต-ตลิ่งชัน ระยะทาง 41 กิโลเมตร ดังนั้น ค่าโดยสารต่อกิโลเมตรจะเท่ากับ 1.02 บาท (42/41) และป็นการลงทุนทั้งหมดโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)

5. รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์

ค่าโดยสาร 15-45 บาท หรือสูงสุดไม่เกิน 45 บาท ซึ่งจะเดินทางได้ไกลสุดคือระหว่างพญาไท-สนามบินสุวรรณภูมิ ระยะทาง 28.5 กิโลเมตร ดังนั้น ค่าโดยสารต่อกิโลเมตรจะเท่ากับ 1.58 บาท (45/28.5) โดยเป็นการลงทุนทั้งหมดโดย รฟท.

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ปภ.ประชุมด่วน ผู้ให้บริการ 3 เครือข่ายมือถือ ซักซ้อม-ปรับวิธีส่งข้อมูลแจ้งเตือนภัยผ่าน SMS และ Cell Broadcast
"ยูเน็กซ์ อีวี" เปิดตัวแพลตฟอร์ม ขับเคลื่อนอัจฉริยะปฏิวัติอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในไทย พร้อมจับมือพันธมิตร ธุรกิจสร้างระบบนิเวศ EV ครบวงจร
"พาณิชย์–DITP" จัดกิจกรรมจับคู่เจรจาการค้าระหว่าง ผู้ส่งออกสินค้าน้ำตาล-น้ำตาลแปรรูปกับผู้นำเข้าฟิลิปปินส์
“การรถไฟฯ” แจง ผลตรวจเหล็ก สร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน
"ผบ.ทบ." เยี่ยมหน่วยตรวจเลือกทหารภาคใต้ ย้ำทุกกระบวนการยึดตามระเบียบ โปร่งใส
นาทีเดือด "กลุ่ม ศปปส." ปะทะ "แกนนำกลุ่มแรงงานพม่า Bright future" หลังจะมาตั้งม็อบประท้วงหน้า UN
"กรมทางหลวงชนบท" โร่แจง ไม่เคยเป็นคู่สัญญากับ "บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 "
"ก.แรงงาน" เตรียมถกแนวทาง "หลักประกันค่าชดเชย" กรณีถูกเลิกจ้าง 9 เม.ย.นี้
จนท.นำเครื่องจักรหนักเข้าพื้นที่โซน B ได้แล้ว ลุยตัดสิ่งกีดขวางขนาดใหญ่
วอร์รูม “ก.แรงงาน” เร่งเครื่องจ่ายเงินเยียวยา เหยื่อแผ่นดินไหวแล้ว 17.4 ลบ.

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น