“ดร.สามารถ” แนะ “ชัชชาติ” แก้ระยะยาว แค่เก็บเพิ่ม BTS 15 บาท ไม่พอใช้หนี้

"ดร. สามารถ" ชี้ เก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายเป็นเรื่องที่ดี แต่เป็นการแก้ปัญหาระยะสั้นเท่านั้น เชื่อเก็บเพิ่ม 15 บาท รายได้ไม่เพียงพอใช้หนี้ ให้บีทีเอส แนะผู้ว่าฯ กทม. มองการแก้ปัญหาระยะยาว

วันที่ 29 มิ.ย. 65 ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะผู้ชำนาญด้านโครงการและแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนและท่าอากาศยาน ได้ให้สัมภาษณ์กับทีมข่าว TOPNEWS ถึงกรณีที่นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ผู้ว่าฯ กทม.) ออกมาให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการบริหารจัดการรถไฟฟ้าสายสีเขียว เนื่องจากมีหนี้สินคงค้างภาคเอกชน มากถึงกว่า 4 หมื่นล้านบาท และส่วนหนึ่งมีการพูดถึง ข้อพิจารณาเรื่องค่าโดยสารในส่วนต่อขยายไม่เกิน 59 บาทตลอดเส้นทาง ว่า ถือเป็นแนวคิดที่ดี ในการเก็บค่าโดยสารส่วนต่อขยายที่เปิดให้บริการฟรีมากว่า 2 ปี จึงควรให้มีการจัดเก็บค่าโดยสาร เพื่อเป็นรายได้ในการนำไปใช้หนี้ให้กับบีทีเอส แต่มองว่า ในการแก้ปัญหาดังกล่าว เป็นการเเก้ปัญหาในระยะสั้นเท่านั้น แต่ยังไม่ได้มีการหารือในเรื่องของการขยายสัมปทาน ซึ่งทางด้านผู้ว่าฯ กทม. ได้ขอระยะเวลาในการพิจารณาอีก 1 เดือน อีกทั้ง ในการเก็บค่าโดยสารส่วนต่อขยายยังไม่มีรายละเอียดว่าในการจัดเก็บจะเป็นในรูปแบบใด แต่คาดว่า จะเป็นการเก็บตามระยะทาง

ทั้งนี้ มองว่า แม้จะมีการจัดเก็บค่าโดยสารส่วนต่อขยาย แต่ก็ไม่เพียงพอที่จะนำไปใช้หนี้ให้แก่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือ BTSC ได้ เนื่องจากว่า การเก็บอัตราสูงสุดไม่เกิน 59 บาทตลอดสาย เมื่อนำมาหักค่าโดยสารตรงส่วนไข่แดง ที่มีการเก็บค่าโดยสารอยู่ที่ 44 บาท ที่จะต้องจ่ายให้กับบีทีเอส จะทำให้กทม. เหลือค่าโดยสารเพียง 15 บาทเท่านั้น อย่างไรตาม เรื่องค่าโดยสารดังกล่าว ต้องนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมสภากทม. เพื่อพิจารณา ก่อน

ดังนั้น การแก้ปัญหารถไฟฟ้าสายสีเขียว จะต้องพิจารณาว่า นายชัชชาติ จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร จะมีการต่ออายุสัมปทานออกไปหรือ จะมีขั้นตอนการดำเนินการอย่างไร ซึ่งจะต้องรออีกหนึ่งเดือนเพื่อจะได้คำตอบที่ชัดเจน

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ดร.สามารถ ยังกล่าวถึงแนวทางการแก้ปัญหาโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่เกิดขึ้นว่า จะต้องมองถึงการแก้ปัญหาในระยะยาว โดยจะต้องมาพิจารณาว่าทางด้านของกทม. ได้เป็นหนี้ บีทีเอสและเป็นหนี้ รฟม. ตั้งแต่ปี 2562 ถึงปี 2572 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของสัญญาสัมปทาน รวมทั้งหมด 130,000 ล้านบาท ซึ่งกทม. จะมีเงินเพียงพอนำไปใช้หนี้ได้หรือไม่ ซึ่งปัจจุบันกทม.ไม่มีเงินเพียงพอในการใช้หนี้

ดังนั้น ทางออกจึงต้องขยายสัมปทานให้กับบีทีเอส เพื่อแลกกับการใช้หนี้ไปจนถึงปี 2602 แต่หากว่าทางด้านของกทม มีเงินก็ต้องเตรียมใช้หนี้ได้ ในปี 2572 กทม. ก็จะสามารถเปิดประมูลหาผู้เดินรถใหม่มาดำเนินการซึ่งอาจจะทำให้ค่าโดยสารถูกลงได้ แต่กทม.ก็จะยังมีปัญหาในเรื่องของสัญญาจ้างเดินรถส่วนต่อขยายซึ่งจะสิ้นสุดในปี 2585 ดังนั้น จะต้องมาพิจารณาถึงแนวทางการแก้ปัญหาในเรื่องนี้ด้วย

 

ส่วนกรณีการโอนทรัพย์สินส่วนต่อขยายกลับคืนไปให้รฟม. เพื่อแก้ปัญหาภาระหนี้นั้น ดร.สามารถ ระบุว่าการโอนทรัพย์สินส่วนต่อขยายกลับคืนไปให้ รฟม.ถือเป็นเรื่องที่ไม่ดี เนื่องจากที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรี ต้องการให้การเดินทางของประชาชนเป็นไปแบบไร้รอยต่อ จึงต้องมีการโอนทรัพย์สิน จากรฟม. มาเป็นของกทม ทำให้กทม.ต้องรับภาระหนี้ ในส่วนของงานโยธาทั้งหมดประมาณ 55,000 ล้านบาท ดังนั้น หากมีการโอนกลับไปจะทำให้รฟม.ต้องไปจ้างผู้ประกอบการรายใหม่ในการเดินรถ หากเป็นผู้ประกอบการละรายกัน จะส่งผลกระทบต่อผู้โดยสารในการปรับ เปลี่ยนขบวนรถไฟฟ้า เป็นต้น

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สุดทน "พ่อพิการ" ร้อง "กัน จอมพลัง" หลังถูกลูกทรพี ใช้จอบจามหัว-ทำร้ายร่างกาย จนนอน รพ.นับเดือน
สลด กระบะชนจยย.พลิกคว่ำตก "ดอยโป่งแยง" เชียงใหม่ เจ็บตายรวม 13 ราย
“สมศักดิ์” ยกนวดไทยเป็นมรดกชาติ สร้างมูลค่าเศรษฐกิจสุขภาพ เล็งพาหมอนวดโกอินเตอร์ โชว์ฝีมืองาน เวิลด์เอ็กซ์โปโอซาก้า ญี่ปุ่น
ห่ามาแล้ว! “แม่สอด” พบติดเชื้ออหิวาต์ เผยญาติฝั่งพม่าซื้อข้าวมากินด้วยกัน
ผกก.สภ.รัตนาธิเบศร์ สั่งตั้งคกก.สอบ "ตร.จราจร" รีดเงินแทนเขียนใบสั่ง
สตม. บุกทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ กลางคอนโดหรูห้วยขวาง รวบ 6 คนจีน อึ้งเจอซิมการ์ด 2 แสนซิม
ครูบาอริยชาติ เชิญชวนพุทธศาสนิกชน ฉลองสมโภช 18 ปีวัดแสงแก้วโพธิญาณ และทำบุญฉลองอายุวัฒนมงคล 44 ปี
กกต.สั่งดำเนินคดีอาญา "ชวาล" ส.ส.พรรคประชาชน ยื่นบัญชีใช้จ่ายเท็จ โทษคุก-ตัดสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี
จีนเตือนสหรัฐกำลังเล่นกับไฟหลังส่งอาวุธให้ไต้หวัน
อิลอน มัสก์วิจารณ์แรงผู้นำเยอรมันเหตุโจมตีตลาดคริสต์มาส

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น