วันที่ 30 มิ.ย.65.-พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณบุคคลและองค์กรที่มีผลงานยอดเยี่ยมและดีเด่น ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ประจำปี 2565 ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งการจัดพิธีในครั้งนี้จัดพร้อมกันทั่วประเทศผ่านระบบคอนเฟอเรนซ์ไปยังสำนักงาน ป.ป.ส ส่วนกลาง (ดินแดง) และสำนักงาน ป.ป.ส. ภาค 1-9
นายกฯมอบรางวัลบุคคล-องค์กรป้องกันยาเสพติด ยอมรับกังวลเกิดผู้เสพหน้าใหม่ หลังถอดยาเสพติดบางชนิดออกจากบัญชี
ข่าวที่น่าสนใจ
นายกฯ กล่าวว่า ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาเรื้อรัง ยาวนาน และรุนแรง ซึ่งรัฐบาลได้แก้ปัญหาอย่างมีความก้าวหน้าตามลำดับ จึงแสดงความยินดีกับผู้ที่ได่รับรางวัลบในการป้องกันและแก้ปัญหายาเสพติด พร้อมขอเชิดชูเกียรติคนที่เสียสละ เสียชีวิต บาดเจ็บ ในการปฎิบัติงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ซึ่งเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นความอุทิศตนในการมุ่งมั่นตั้งใจในการปฎิบัติหน้าที่อย่างเข้มแข็ง ทำประโยชน์ ต่อสังคมและประเทศชาติ
ทั้งนี้รัฐบาลให้ความสำคัญกับวาระป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ซึ่งเป็นวาระสำคัญที่เร่งดำเนินการโดยด่วน แต่ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนการทำงานให้สำเร็จ ตามวัตถุประสงค์ ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีด้านความมั่นคง โดยต้องยึดตามมติที่ประชุมสมัชชาหประชาชาติ สมัยพิเศษ ว่าด้วยปัญหา ยาเสพติดโลก คศ.2016 ซึ่งกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหายาเสพติดแนวใหม่ไว้ 3 ประการ คือ 1ผู้เสพคือผู้ป่วย ที่ต้องได้รับการรักษา ตามวิธีการสาธารณสุข 2 การนำพืชเสพติดมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ สาธารณสุข ส่งเสริมเป็นพืชเศรษฐกิจที่ปลอดภัย และ 3 ผู้ค้ายาเสพติดถือว่าเป็นอาชญากร ที่ต้องได้รับโทษทางพฤติการณ์กระทำความผิด ซึ่งรัฐบาลนี้มีการปรับปรุงกฎหมายยาเสพติด ที่ได้รวบรวมจัดทำเป็นประมวลกฎหมายยาเสพติด มุ่งเน้นการแก้ปัญหายาเสพติดของประเทศ แบบมุ่งเน้นการสร้างความสมดุล ระหว่างการปราบปราม การป้องกัน และบำบัดรักษา ทำให้ประชาชนเข้าใจง่าย สามารถเข้าถึงกฎหมายได้อย่างสะดวกและสามารถปฎิบัติกฎหมายได้อย่างถูกต้อง ตลอดจนให้เจ้าหน้าที่ใช้เป็นเครื่องมือปฎิบัติงานได้อย่างเต็มที่ มีประสิทธิภาพ โดยองค์การสหประชาชาติ ให้ 26 มิ.ย.ของทุกปี เป็นการต่อต้านยาเสพติด สิ่งสำคัญคือมาตรการป้องกันไม่ให้มีผู้เสพรายใหม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่กังวล เพราะยังมียาเสพติดเดิม และถอดจากยาเสพติดไปแล้ว ดังนั้นต้องระมัดระวังผู้เสพรายใหม่ เยาวชนกลุ่มเสี่ยง ต้องไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด และสิ่งไหนที่มีผลต่อการพัฒนาสมอง สุขภาพ ไม่ให้ถูกทำลายเด็กตั้งแต่อายุยังน้อย จึงต้องเร่งสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กและเยาวชนให้ได้ โดยปฎิเสธยาเสพติด ให้ความรู้ความเข้าใจ ตระหนักถึงพิษภัยยาเสพติดที่มีต่อตนเอง และสังคม และจำเป็นต้องบรรจุในหลักสูตรการศึกษาในระดับต่างๆ ส่งเสริมให้หมู่บ้าน ชุมชน เป็นแหล่งเรียนรู้ปลอดจากยาเสพติด และส่งเสริมให้ผู้บำบัดรักษา มีทักษะอาชีพ หารายได้อย่างสุจริต มีชีวิตใหม่ จนได้รับการยอมรับจากสังคม และหลุดพ้นจากวงจรยาเสพติดได้ในที่สุด พร้อมขอเจ้าหน้าที่ปฎิบัติวางตัวอย่างเหมาะสม จากสถิติปี 2561-2565 พบว่า การจับกุมลดลงตามลำดับ โดยในปี 2565 มีสถิติการจับกุม 34,957 คดี ขณะที่ปี 2561 มีถึง 90,000 คดี เนื่องจากมีการใช้มาตรการต่างๆมาควบคุม และได้รับความร่วมมือ ในประเทศ และประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีฐานการผลิตที่สามเหลี่ยมทองคำ ขณะที่ผู้เข้ารับการรักษา 74,720 คนจากก่อนหน้านี้มีถึง 2 แสนคน
ด้าน นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า จากสถิติการจับกุมยาเสพติด สามารถยึดทรัพย์สินได้มากขึ้น โดยอดีตที่ผ่านมาก่อนรัฐบาลชุดนี้จะเข้ามา ซึ่งยึด อายัดทรัพย์ได้ไม่เกิน 6,000 ล้านบาทต่อปี แต่ล่าสุดตัวเลขอยู่ที่ 9,200 ล้านบาท จากที่ตั้งเป้าไว้ปีละ 10,000 ล้านบาท พร้อมประชาสัมพันธ์กับประชาชนใครแจ้งเบาะแสจะได้รับเงินส่วนแบ่งเป็นค่าสินบนนำจับ 5% ส่วนราชการที่มีส่วนร่วมจะได้ 25% ทั้งนี้จากประมวลกฎหมายยาเสพติด ทำให้ใช้เวลายึดทรัพย์ได้ไม่เกิน 2 ปี จากเดิมที่ต้องใช้เวลา 8 ปี อย่างไรก็ตาม กระทรวงยุติธรรม มีคณะกรรมการเฉพาะกิจชื่อพาลีปราบยา โดยบูรณาการ ป.ป.ส. ดีเอสไอ บช.ปส. และหน่วยงานอื่นรวมทั้งราชทัณฑ์ต่างๆ
ส่วนสถิติคดียาเสพติดที่ออกมาจากสามเหลี่ยมทองคำ ขณะนี้ลดลง จำนวนผู้ต้องหาที่เคยถึง 356,000 คน ตอนนี้ 8 เดือนกว่าอยู่ที่ 188,000 คน สำหรับจำนวนคดีจากเดิม 341,000 คดี ปัจจุบันเหลือ 182,000 คดี ซึ่งเป็นตัวเลขที่ลดลงมาก ข้อหาสำคัญก็ลดลงอย่างเห็นได้ชัด สะท้อนว่านโยบายรัฐบาลที่มีประมวลกฎหมายอาญายาเสพติดสัมฤทธิ์ผล
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
-