‘กรมเจรจาฯ’ ลุยเบตง ปูทางทุเรียนไทย ใช้ FTA ขยายส่งออกตลาดโลก

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ลงพื้นที่ อ.เบตง จ.ยะลา หนุนผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชน และเกษตรกร กรุยทางทุเรียนไทยเร่งใช้ประโยชน์จาก FTA สร้างแต้มต่อขยายส่งออกตลาดโลก หลังทุเรียนสายพันธุ์มูซังคิงหรือทุเรียนเบตง กำลังเป็นที่นิยมในตลาดต่างประเทศ ด้านเกษตรกรวอนรัฐดูแลเรื่องปุ๋ยเคมี ทำต้นทุนพุ่งกว่า 30%

นางอรมน  ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ พร้อมคณะผู้บริหาร ลงพื้นที่เยี่ยมชมวิสาหกิจชุมชนสวนทุเรียนศักดิ์ศรี อำเภอเบตง จังหวัดยะลา เพื่อหารือกับผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชน และเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน ให้ผลผลิตทุเรียนภาคใต้ที่เริ่มทยอยออกสู่ตลาดในเดือน ก.ค.นี้ ได้ใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี (FTA) ที่ไทยทำกับคู่ค้า 18 ประเทศ ได้แก่ อาเซียน จีน ฮ่องกง ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย ชิลี และเปรู ที่ได้ยกเลิกการเก็บภาษีนำเข้าทุเรียนจากไทยแล้ว เหลือเพียงเกาหลีใต้ที่ยังคงเก็บภาษีนำเข้าที่ร้อยละ 36 แต่จะทยอยลดเหลือร้อยละ 0 ในปี 2574 ภายใต้ความตกลง RCEP ซึ่งถือเป็นข้อได้เปรียบและโอกาสทางการค้าของวิสาหกิจชุมชน เกษตรกร และผู้ประกอบการไทย ในการขยายส่งออกสินค้าทุเรียนไปตลาดโลก

ข่าวที่น่าสนใจ

นางอรมน กล่าวว่า กรมฯ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพทางการค้าของผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชน เกษตรกร ในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ โดยตั้งแต่ปี 2561 ได้ดำเนินโครงการ “สร้างเครือข่ายเชื่อมโยง 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สู่ตลาดการค้าเสรีอาเซียน” มาอย่างต่อเนื่องทุกปี ได้แก่ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และสงขลา ซึ่งเป็นการทำงานแบบบูรณาการร่วมกับกับหน่วยงานพันธมิตร เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องการใช้ประโยชน์จาก FTA ให้กับเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการ ซึ่งพบว่า มีสินค้าที่มีศักยภาพและความพร้อมส่งออก โดยเฉพาะผลไม้ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ทุเรียน มังคุด ส้ม ลองกอง และกล้วยหิน

ทั้งนี้ ไทยส่งออกทุเรียนสดและทุเรียนแช่แข็ง เป็นอันดับที่ 1 ของโลก ในปี 2564 มูลค่ารวม 3,788 ล้านเหรียญสหรัฐ แบ่งเป็น
– การส่งออกทุเรียนสด มูลค่า 3,490 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 68%
– ส่งออกทุเรียนแช่เย็น แช่แข็ง มูลค่า 299 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 42%
ตลาดส่งออกหลัก คือ จีน มูลค่าส่งออกสูงถึง 3,400 ล้านเหรียญสหรัฐ (90% ของการส่งออกทุเรียนของไทย) รองลงมาคือฮ่องกง มูลค่า 197 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (5% ของการส่งออกทุเรียนไทย) และเวียดนาม 119 ล้านเหรียญสหรัฐ (3% ของการส่งออกทุเรียนไทย)

สำหรับในช่วง 4 เดือนแรก (ม.ค.-เม.ย. 65) ไทยส่งออกทุเรียนไปตลาดโลก มูลค่า 721 ล้านเหรียญสหรัฐ แบ่งเป็น ทุเรียนสด มูลค่า 676 ล้านเหรียญสหรัฐ (96% ของการส่งออกทุเรียนทั้งหมดของไทย) และส่งออกทุเรียนแช่เย็นแช่แข็ง มูลค่า 45 ล้านเหรียญสหรัฐ ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ จีน ฮ่องกง และจีนไทเป โดยส่งออกไปประเทศคู่ค้า FTA มูลค่ารวม 712 ล้านเหรียญสหรัฐ (สัดส่วน 99% ของการส่งออกทั้งหมด) ขยายตัวร้อยละ 23 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

ด้านนายศักดิ์ศรี สง่าราศี เจ้าของสวนทุเรียน ศักดิ์ศรี ซึ่งเป็นทุเรียนสายพันธุ์ มูซังคิง ตั้งอยู่หมู่ 2 ตำเนาะแมะเราะ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา เปิดเผยว่า ปัจจุบัน ผลผลิตทุเรียนสายพันธุ์มูซังคิง อยู่ที่ ประมาณ 5-8 ตันต่อปี ส่วนใหญ่เน้นการจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์ถึง 95% ราคาผลเกรดเอ จำหน่ายกิโลกรัมละ 650 บาท โดยมูซังคิง เริ่มมีความต้องการที่สูงขึ้นโดยเฉพาะในประเทศ เนื่องจากเป็นพันธุ์ทุเรียนที่นำเข้าจากต่างประเทศ

ขณะเดียวกัน จากความต้องการที่เพิ่มขึ้น ทำให้วิสาหกิจชุมชนสวนศักดิ์ศรีทุเรียนเบตง ได้วางเป้าหมายการส่งออกทุเรียนมูซังคิงไปยังต่างประเทศ ภายใน 5 ปี และปีนี้ ได้มีการทดลองส่งทุเรียนสายพันธุ์ มูซังคิง ไปจำหน่ายยัง จีนและ ออสเตรเลีย อีกทั้งยังมีผู้ประกอบการล้งติดต่อมายังวิสาหกิจ เพื่อทดลองส่งไปยังตลาดต่างประเทศ โดยราคาของทุเรียนขึ้นอยู่กับตลาด โดยขายประเทศจีน แบบแกะเนื้อ กิโลกรัมละ 3 พันบาท

ขณะเดียวกัน จากราคาปุ๋ยที่ปรับตัวสูงขึ้น ได้ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนประมาณ 30% จากช่วงต้นปีที่ผ่านมา จึงต้องการให้ภาครัฐเข้ามาส่งเสริมสนับสนุนในเรื่องของราคาปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกร ผู้ปลูกทุเรียนสิ่งสำคัญต้องการให้ภาครัฐส่งเสริมเรื่องราคาปุ๋ย ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นประมาณ 30% จากช่วงต้นปีที่ผ่านมา ทำให้เกษตรกรต้องใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อการใช้ปุ๋ยเคมีและลดต้นทุนการผลิตให้ถูกลง

สำหรับวิสาหกิจชุมชนสวนศักดิ์ศรีทุเรียนเบตง จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2564 มีสมาชิก 7 คน ปลูกทุเรียนบนพื้นที่ 25 ไร่ มากกว่า 17 ปี รวม 400 กว่าต้น ผลิตทุเรียน 3 สายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์มูซังคิง พันธุ์โอวฉีหรือหนามดำ และพันธุ์ยาวลิ้นจี่ เป็นสวนเกษตรอินทรีย์ผลิตทุเรียนปลอดสารพิษและได้รับมาตรฐานรับรอง GAP ซึ่งช่วยยกระดับคุณภาพและราคาของทุเรียนให้เพิ่มสูงขึ้น เน้นการทำตลาดออนไลน์ และบางส่วนจำหน่ายใน Tops Supermarket อีกทั้งจำหน่ายต้นกล้าทุเรียน ราคาต้นละ 100 บาท ส่งจำหน่ายทั่วประเทศได้ปีละ 60,000-80,000 ต้น

ปัจจุบัน สินค้าไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด รวมทั้งได้จำหน่ายทุเรียนแช่แข็งให้กับนักท่องเที่ยว และเตรียมขยายการผลิตเพื่อการส่งออกในอนาคต สำหรับทุเรียนของเบตง มีเอกลักษณ์แตกต่างจากพื้นที่อื่น คือ มีสีเหลืองแห้ง กลิ่นหอมเฉพาะ และรสหวานจัด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สุดทน "พ่อพิการ" ร้อง "กัน จอมพลัง" หลังถูกลูกทรพี ใช้จอบจามหัว-ทำร้ายร่างกาย จนนอน รพ.นับเดือน
สลด กระบะชนจยย.พลิกคว่ำตก "ดอยโป่งแยง" เชียงใหม่ เจ็บตายรวม 13 ราย
“สมศักดิ์” ยกนวดไทยเป็นมรดกชาติ สร้างมูลค่าเศรษฐกิจสุขภาพ เล็งพาหมอนวดโกอินเตอร์ โชว์ฝีมืองาน เวิลด์เอ็กซ์โปโอซาก้า ญี่ปุ่น
ห่ามาแล้ว! “แม่สอด” พบติดเชื้ออหิวาต์ เผยญาติฝั่งพม่าซื้อข้าวมากินด้วยกัน
ผกก.สภ.รัตนาธิเบศร์ สั่งตั้งคกก.สอบ "ตร.จราจร" รีดเงินแทนเขียนใบสั่ง
สตม. บุกทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ กลางคอนโดหรูห้วยขวาง รวบ 6 คนจีน อึ้งเจอซิมการ์ด 2 แสนซิม
ครูบาอริยชาติ เชิญชวนพุทธศาสนิกชน ฉลองสมโภช 18 ปีวัดแสงแก้วโพธิญาณ และทำบุญฉลองอายุวัฒนมงคล 44 ปี
กกต.สั่งดำเนินคดีอาญา "ชวาล" ส.ส.พรรคประชาชน ยื่นบัญชีใช้จ่ายเท็จ โทษคุก-ตัดสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี
จีนเตือนสหรัฐกำลังเล่นกับไฟหลังส่งอาวุธให้ไต้หวัน
อิลอน มัสก์วิจารณ์แรงผู้นำเยอรมันเหตุโจมตีตลาดคริสต์มาส

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น