“กรมอนามัย” เตือน กัญชาพันลำ ปล่อย PM 2.5 สูงกว่าบุหรี่ 3.5 เท่า

กรมอนามัยเตือน สิงห์อมควัน สายเขียว กัญชาพันลำ ปล่อย PM 2.5 สูงกว่าบุหรี่ 3.5 เท่า เสี่ยงหอบหืด หลอดลมอักเสบ ปอดอุดตัน ควันกัญชากระทบจิตประสาท เด็ก-ทารก ส่วนผู้ประกอบการ หากควรจัดมาตรการป้องกันเหตุรำคาญ ฝ่าฝืนมีโทษทั้งจำและปรับ

วันนี้ ( 2 ก.ค.) นางณีรนุช อาภาจรัส ผอ.กองกฎหมาย กรมอนามัย กล่าวถึงกรณี ที่มีการตรวจพบการขายกัญชามวน และการสูบในที่สาธารณะ ว่า การสูบกัญชาก่อให้เกิดกลิ่นและควันในที่สาธารณะ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ที่อยู่ใกล้เคียง ถือเป็นเหตุรำคาญ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดให้การกระทำให้เกิดกลิ่นหรือควันกัญชา กัญชง หรือพืชอื่นใด เป็นเหตุรำคาญ พ.ศ. 2565 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 15 มิ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งผู้ได้รับผลกระทบสามารถร้องเรียนเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ตรวจสอบ โดยพิจารณาจากแหล่งกำเนิดกลิ่นหรือควัน ลักษณะกลิ่น ช่วงเวลา เป็นต้น หากไม่เข้าหลักเกรฑ์ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้แจ้ง
แต่ถ้าตรวจสอบแล้ว เข้าข่ายเป็นเหตุรำคาญ ให้แนะนำให้ผู้ก่อเหตุปรับปรุงแก้ไข ข้อเท็จจริงที่ตรวจพบ มาตรการหรือวิธีการแก้ไขปรับปรุงภายในเวลาที่กำหนด หากยังไม่มีการแก้ไข ให้ออกคำสั่งทางปกครอง ตามพ.ร.บ.การสาธารณสุข มาตรา 27 กรณีเหตุเกิดขึ้นในที่หรือทางสาธารณะ หรือมาตรา 28 กรณีเหตุเกิดในสถานที่เอกชน เพื่อให้ผู้ก่อเหตุปรับปรุงแก้ไข หรือระงับเหตุรำคาญ หากยังไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ผู้ก่อเหตุต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2.5 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากปฏิบัติตามคำสั่งแล้ว ให้แจ้งผลการดำเนินการให้ผู้ร้องเรียนทราบ และยุติเรื่องต่อไป

ข่าวที่น่าสนใจ

ด้าน นางนภพรรณ นันทพงษ์ ผอ.สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กล่าวว่า การนำกัญชาไปใช้ไม่เหมาะสมจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ดังนี้ 1.ควันกัญชา ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหอบหืด หลอดลมอักเสบ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
2.เด็กและทารกที่สัมผัสควันกัญชามือสอง อาจได้รับผลกระทบทางจิตประสาทเช่นเดียวกับผู้สูบ
3.กระตุ้นให้เกิดอาการป่วยทางจิตในกลุ่มเสี่ยงที่มีประวัติซึมเศร้าหรือป่วยด้วยโรคจิตเภทอยู่เดิม

นอกจากนี้ จากผลการศึกษาวิจัยพบว่า กัญชาแบบพันลำ สามารถปล่อย PM2.5 เฉลี่ย 3.5 เท่าของบุหรี่แบบธรรมดา เพิ่มความเสี่ยงเกิดโรคระบบทางเดินหายใจ ดังนั้น ประชาชนควรตระหนัก ถึงผลกระทบต่อสุขภาพจากการได้รับควันกัญชามือสอง

สำหรับสถานประกอบการ ควรมีมาตรการควบคุมไม่ให้เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญ หากเจ้าพนักงานท้องถิ่นพบการเห็นการกระทำฝ่าฝืน สามารถดำเนินการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องได้ทันที เนื่องจากหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นผู้ใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.การสาธารณสุข นอกจากนี้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ควรร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความรู้ความเข้าใจถึงโทษภัยแก่ประชาชน รวมถึงเฝ้าระวังไม่ให้เกิดการใช้ในทางไม่เหมาะสมหรือเป็นอันตราย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สธ.ลงพื้นที่ตรวจฝุ่น-สภาพอากาศ รอบบริเวณ "ตึกสตง." ถล่ม เยียวยาจิตใจญาติ "กัน จอมพลัง" จัดดนตรีช่วยคลายเครียด
"เนวิน" นำบรรยายแนวทางพัฒนาบุรีรัมย์ ฝากผู้ว่าฯ นายกอบจ. สร้างเปลี่ยนแปลงท้องถิ่น สนองพระมหากรุณาธิคุณ ในหลวง ร.9
ผู้ช่วย รมว. กระทรวง อว.ลงพื้นที่การดำเนินงานขับเคลื่อนงานด้าน อววน. ผลักดันการท่องเที่ยวจากเมืองรองสู่เมืองหลักเขตเศรษฐกิจพิเศษในพื้นที่ จ.กาญจนบุรี
DSI เปิดผัง "บริษัทจีน" สร้างตึกสตง. เบื้องหลังรับงาน 29 โครงการรัฐ พบใช้ 3 คนไทย เป็นนอมินีอำพรางถือหุ้น
“ทวี” ลั่นไม่ปล่อยแน่ หากพบมีผู้มีอิทธิพลเอี่ยว "บริษัทจีน" สร้างตึกสตง. ประสานตม.ตรวจเข้มคนเข้าออกประเทศ
จับตา “รอยเลื่อนภาคใต้” ตะลึง! ยาวสุด 270 กม. พิกัดใกล้ “เขื่อนยักษ์”
หลักฐานมัดตัว ลูกนักการเมืองท้องถิ่น เปิดปากเล่าปมฆ่า “น้องโฟกัส” ย่าไม่ให้อภัย อยากให้ประหารชีวิต
พาณิชย์จัดโครงการรางวัลการออกแบบยอดเยี่ยม ปี 2568 DEmark 2025 ภายใต้แนวคิด“THE LIVABLE CREATION”: สร้างสรรค์ อย่างน่าอยู่
"อดีตสว.สมชาย" โพสต์แพทยสภา เลื่อนลงมติผลสอบชั้น 14 "มีกลิ่นตุ ๆ หรือผมคิดไปเอง"
ผู้ว่าการ MEA ย้ำความพร้อมระบบไฟฟ้า รับมือแผ่นดินไหว – สนับสนุนภารกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัยเต็มกำลัง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น