เปิด 2 มาตรการสู้วิกฤต จาก”ประชัย” ถึง”นายกฯตู่” เร่งฟื้นคะแนนแบบแลนด์สไลด์

เปิด 2 มาตรการสู้วิกฤต จาก"ประชัย" ถึง"นายกฯตู่" เร่งฟื้นคะแนนแบบแลนด์สไลด์

นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) เขียนบทความพิเศษ “ข้อเสนอถึงนายกรัฐมนตรี” โดยมีรายละเอียดดังนี้ มีข้อเสนอฝากไปถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และถ้ารัฐบาลสามารถทำได้ทั้ง 2 มาตรการที่นำเสนอนี้ งานของท่านก็จะเบาขึ้นอีกเยอะ คะแนนเสียงจะถล่มทลายเป็นแลนด์สไลด์ให้กับฝ่ายรัฐบาล ไม่ใช่ฝ่ายค้านพวกหน้าเหลี่ยม

มาตรการที่ 1 วิธีตรึงราคา น้ำมันดีเซล ให้อยู่ที่ 30 บาท ต่อลิตร หน้าปั๊มน้ำมัน เพื่อไม่ให้ค่าขนส่งขึ้น ซึ่งท้ายที่สุดจะทำให้ราคาสินค้าขึ้นน้อยลงเป็นการรักษาระดับราคาสินค้า ปกติน้ำมันดิบเมื่อนำมากลั่น จะออกมาเป็นน้ำมัน 3-4 ชนิดหลักๆ ได้แก่ น้ำมันดีเซล ประมาณ 30 กว่าเปอร์เซ็นต์ น้ำมันเบนซิน น้ำมันแนฟทา พวกอะโรเมติกส์ และน้ำมันเตา อีกประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ ถึง 70 เปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้นถ้าเราตรึงราคาน้ำมันดีเซลในราคาพอสมควรคือ 30 บาทต่อลิตร โรงกลั่นน้ำมันก็สามารถโอนต้นทุนไปสู่น้ำมันเบนซิน น้ำมันเตา น้ำมันแนฟทา และพวกอะโรเมติกส์ ซึ่งถ้าตอนนี้ส่งออกก็จะมีกำไร แต่ถ้าต้องโอนต้นทุนของดีเซลไปให้น้ำมันเบนซิน และพวก aromatics ทั้งหลายก็อาจจะทำให้ต้นทุนสูงขึ้น และทำให้กำไรของโรงกลั่นลดน้อยลงแต่ไม่ถึงกับขาดทุน เพื่อตรึงราคาน้ำมันดีเซล ให้กระทรวงพาณิชย์ สั่งโรงกลั่น ให้ขายราคาน้ำมันดีเซลในราคาควบคุม 28 บาทต่อลิตรหน้าโรงกลั่น และสั่งควบคุมราคาหน้าปั๊มน้ำมัน ดีเซล 30 บาทต่อลิตร และกระทรวงพาณิชย์ ต้องห้ามส่งออกน้ำมันดีเซล มิฉะนั้น โรงกลั่นจะแกล้งส่งน้ำมันดีเซล ทำให้น้ำมันดีเซลขาดแคลน และจะบังคับให้รัฐบาลขึ้นราคาน้ำมันดีเซลอีก

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

สำหรับ น้ำมันเบนซิน และ น้ำมันเตา ให้เปิดเสรี ใครจะขายราคาเท่าไหร่ก็ได้ แต่ท้ายที่สุดน้ำมันเบนซินก็จะไม่แพงเกินไป เพราะน้ำมันเบนซินเมื่อสูงขึ้นก็จะส่งออกได้ลำบาก เพราะฉะนั้นก็จะมีการแย่งกันขาย แข่งกันขายทำให้ราคาน้ำมันเบนซินอยู่ในระดับสูงพอสมควร แต่ไม่สูงเกินไป และโรงกลั่นก็จะมีกำไรพอสมควร ไม่ทำกำไรเกินควรอย่างทุกวันนี้ ในการนี้รัฐบาลยังสามารถเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันได้เพื่อลดหนี้ 1 แสนล้านบาท ของกองทุนน้ำมันที่กระทรวงพลังงานก่อขึ้น

 

มาตรการที่ 2 เนื่องจากขณะนี้คนจนเป็นลูกหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้หลายล้านคน โดยเป็นหนี้ที่ไม่ก่อรายได้เป็นจำนวนมากกว่า 4 ล้านล้านบาท ทำให้ต้องเข้าอยู่ในบัญชีเครดิต เป็นเหตุให้ธนาคารไม่สามารถปล่อยกู้ให้คนเหล่านี้ได้ แม้ว่ารัฐบาลจะอนุมัติเงิน 1 ล้านล้านบาท มาให้ธนาคารปล่อยกู้ แต่ธนาคารก็ปล่อยกู้ได้แค่ 1.5 แสนล้านบาทเท่านั้น วิธีแก้ความยากจนไร้อาชีพของคนสิบกว่าล้านคนนี้ ต้องให้กระทรวงการคลัง และ ธนาคารแห่งประเทศไทย ออกระเบียบให้ธนาคารพาณิชย์เรียกลูกหนี้เหล่านี้มารับสภาพหนี้ และทำสัญญากู้ใหม่ให้ชำระหนี้คืนหลัง 5 ปีไปแล้ว พร้อมชำระดอกเบี้ยปีละ 1% คืนใน 3 ปีหลังจากนั้น และไม่ต้องอยู่ในบัญชีเครดิตบูโร

 

ซึ่งจะทำให้ลูกหนี้เหล่านี้สามารถกู้เงินได้ และธนาคารพาณิชย์ก็สามารถปล่อยกู้หนี้ดอกเบี้ยถูก 2-3 ล้านล้านบาท ให้ผู้ยากไร้เหล่านี้ไปเริ่มประกอบอาชีพใหม่ ซึ่งน่าจะสามารถฟื้นขึ้นมาได้ภายใน 5 ปี เจ้าหนี้ก็จะได้หนี้เงินคืนในที่สุด ธนาคารพาณิชย์ก็ไม่ต้องบันทึกเป็นหนี้ที่ไม่ก่อรายได้ และสามารถบันทึกกำไร 4 ล้านล้านบาท ทำให้ราคาหุ้นของธนาคารดีขึ้นมาก และกระทรวงการคลังก็เก็บภาษีเงินได้เพิ่มอีก 1 ล้านล้านบาท คนจนเหล่านี้จะมีสัมมาอาชีพมีความสุขโดยทั่วหน้า

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

บึ้มสนั่นกลางดึก ชาร์จรถ 3 ล้อไฟฟ้า เกิดไฟฟ้าลัดวงจรลามไหม้ร้านของชำ หวิดวอดทั้งหลัง
กรมอุตุฯ เผยไทยตอนบนอากาศหนาวในตอนเช้า อุณหภูมิสูงขึ้นเล็กน้อย เตือนภาคใต้มีฝนตกบางแห่ง
"กรมโยธาฯ" จับมือ "คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล" ลงนาม MOU ช่วยชีวิตผู้ป่วยด้วยการบริจาคโลหิต
“ไทด์” แฉลึก! ยศใหญ่โทรปิดเกม สั่งย้าย “แตงโม” เข้านิติเวช รพ.ตำรวจ
เมียไรเดอร์ เปิดใจเสียงสั่น กลัวไม่ได้รับความเป็นธรรม หลังรู้ข่าว หนุ่มอินเดียซิ่งเก๋งได้ประกันตัว ลั่น ‘คนมีเงินมันยิ่งใหญ่’
นายกฯ เปิดงาน Thailand Reception เชิญชวนสัมผัสเสน่ห์อาหารไทย ชูศักยภาพเศรษฐกิจ
จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น