พนักงาน JSL ร่ำไห้ รวมตัวร้องทนายเดชา หลังถูกเลิกจ้างฟ้าผ่าไม่เป็นธรรม

พนักงาน JSL ร่ำไห้ รวมตัวร้องทนายเดชา หลังถูกเลิกจ้างฟ้าผ่าไม่เป็นธรรม

จากกรณี บริษัท เจเอสแอล โกลบอล มีเดีย จำกัด ออกประกาศเรื่องยุติการทำงานบางส่วน จึงเป็นเหตุพนักงานบริษัทที่ถูกยุติบทบาทได้รับเงินเยียวยาไม่ครบและยังไม่ได้รับค่าเสียหาย จากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ล่าสุดวันที่ 3 ก.ค. 65 ที่สำนักงานทนายคลายทุกข์ บริเวณ รัชดา 36 โดยทางด้านผู้เสียหาย บริษัทดังกล่าว เดินทางเข้าร้องทุกข์ กับ ทนายเดชา กิตติวิทยานันท์ เพื่อร้องขอความช่วยเหลือทางด้านกฏหมายเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม

ด้านตัวแทนผู้เสียหายกล่าวว่า วันนี้ตนเดินทางมาของความช่วยเหลือจากทนายเดชาเพื่อเรียกร้องให้ได้รับสิทธิในเรื่องเงินชดเชยที่ได้รับตามกฎหมายอย่างถูกต้อง เนื่องจากบริษัท ได้ประกาศปิดตัวไปเมื่อวันที่ 29 มิ.ย. ที่ผ่ายมา เพื่อมาขอว่าพวกเราจะรับมือยังไงต่อไป ทั้งนี้ พวกเราทุกคนเดือดร้อนกันมาก เนื่องจากทางบริษัทมีเงินชดเชยให้แค่ 16% เท่านั้น ซึ่งตอนที่ได้รับรู้เรื่องนี้ คนช็อกมากๆ และก็เสียใจที่บริษัทต้องปิดตัวลง แต่มันเกิดคำถามในใจพวกเรามากมายว่า พวกเราจะไปยังไงกันต่อ เนื่องจากพวกเราทำงานกันมานาน และเป็นบริษัทที่มีชื่อเสียง พนักงานส่วนใหญ่อายุงานค่อนข้างเยอะ เยอะสุดในบันดาลพวกเราอยู่ที่ 35 ปี พวกเราทำงานกันมาด้วยความเชื่อมั่น และถูกปลูกฝังมาจากผู้บริหารว่าจะสู้ไปด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการขอลดเงินเดือน หรือเป็นการผ่อนจ่ายเงินเดือน พวกเราเต็มใจและเห็นใจบริษัทเป็นอย่างมาก แต่กลับไม่ได้รับความเห็นใจจากบริษัทเลย

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ด้านทนายเดชา กล่าวว่า ทั้งนี้ยังมีการทำหนังสือให้พนักงานยินยอม โดยมีใจความระบุว่า “ข้าพเจ้า…ทราบและตกลงยอมรับการเลิกจ้างและข้าพเจ้าพอใจในเงินดังกล่าวข้างต้นนี้ ไม่ติดใจเรียกร้องเงินทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่บริษัทเจเอสแอล โกลบอล มีเดีย จำกัด จึงลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน” การกระทำดังกล่าวของบริษัทเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย เนื่องจากบุคคลที่จะรับ 16% นั้นจะต้องสละสิทธิ์ตามข้อความข้างต้นเพื่อรับเงินเยียวยา คุณไม่สามารถให้ลูกจ้างสละสิทธิ์รับค่าชดเชยเหลือแค่ 16% ไม่ได้เพราะเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ถึงแม้จะมีการสละสิทธิ์ไม่รับเงินค่าชดเชย แต่พนักงานตรวจแรงงานก็ต้องมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายทุกคน

 

ทั้งนี้การเลิกจ้างจะต้องมีการบอกกล่าวล่วงหน้า โดยทั่วไปก็คือ 1 เดือน ซึ่งทางบริษัทก็ไม่ได้มีการบอกกล่าว โดยทางกฏหมายแล้วนั้น ถ้าไม่ได้มีการบอกกล่าวจะต้องจ่ายเงินทันที ทั้งค่าบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชย จะต้องเริ่มตั้งแต่การประกาศเลิกจ้าง และนี่ผ่านมา 3 วันแล้ว ซึ่งจะต้องจ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี เราจะต้องจ่ายเงินร้อยละ 15 ทุก 7 วัน และถ้ายังไม่จ่ายเงินจะต้องมีโทษจำคุก 6 เดือน มาตรา 140 อันนี้เป็นสิ่งที่บริษัทควรรับผิดชอบต่อพนักงาน

 

 

 

ทนายเดชากล่าวอีกว่า เนื่องจากบริษัทจงใจที่จะมีการฝ่าฝืนกฎหมายอยู่แล้ว ซึ่งทางบริษัทมีที่ปรึกษาทางกฎหมาย มีทนายความประจำบริษัทจะต้องรู้ รวมถึงการสละสิทธิ์ที่ต้องเรียกเงิน ถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ถ้าเป็นทนายความถือว่าผิดจรรยาบรรณวิชาชีพ เพราะคุณรู้อยู่แล้วว่าคุณจะไปให้ลูกจ้างสละสิทธิ์ในการเรียกร้องเงินชดเชยซึ่งเป็นมาตรฐานขั้นต่ำในการคุ้มครองแรงงานเป็นเรื่องที่ขัดต่อจรรยาบรรณ กระบวนการหลังจากนี้ 09.00 น. จะนำกลุ่มผู้เสียหายไปร้องทุกข์กล่าวโทษ กับกรมแรงงาน (พื้นที่ 4) ซึ่งจะมีการดำเนินการสอบวินิจฉัยโดยใช้เวลาภายใน 60 วัน และจะสั่งให้นายจ้างจ่ายภายใน 30 วัน ถ้าไม่มีการจ่ายจะต้องดำเนินคดีอาญาต่อไป

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เมียไรเดอร์ เปิดใจเสียงสั่น กลัวไม่ได้รับความเป็นธรรม หลังรู้ข่าว หนุ่มอินเดียซิ่งเก๋งได้ประกันตัว ลั่น ‘คนมีเงินมันยิ่งใหญ่’
นายกฯ เปิดงาน Thailand Reception เชิญชวนสัมผัสเสน่ห์อาหารไทย ชูศักยภาพเศรษฐกิจ
จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น