“เพจกฎหมายแรงงาน” ไขข้อสงสัย กรณี JSL เลิกจ้าง จ่ายค่าชดเชยร้อยละ 16 ของค่าจ้างได้หรือไม่

"เพจกฎหมายแรงงาน" ไขข้อสงสัย กรณี JSL เลิกจ้าง จ่ายค่าชดเชยร้อยละ 16 ของค่าจ้างได้หรือไม่

วันที่ 5 ก.ค.2565  เฟซบุ๊กเพจ กฎหมายแรงงาน โพสต์ข้อความระบุว่าJSL เลิกจ้างจ่ายค่าชดเชยร้อยละ 16 ของค่าจ้างได้หรือไม่ อ่านโพสต์ที่คุณสรยุทธฯ โพสถึงความทุกข์ของพนักงานที่ถูก JSL เลิกจ้างก็ตกใจที่บริษัทจ่ายค่าชดเชยเพียงร้อยละ 16 โดยปกติค่าชดเชยจ่ายเมื่อเลิกจ้าง หรือสัญญาจ้างสิ้นสุด หรือกิจการนายจ้างดำเนินกิจการต่อไปไม่ได้ หรือเกษียณ เหล่านี้กฎหมายเรียกว่า “เลิกจ้าง” เมื่อเลิกจ้าง ก็มีสิทธิได้รับค่าชดเชย โดยมีสิทธิได้รับในวันที่เลิกจ้าง หากไม่จ่ายในวันเลิกจ้างนายจ้างก็ต้องจ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี หรือถ้าเป็นการจงใจเจตนาไม่จ่ายก็จะต้องจ่าย “เงินเพิ่ม” ร้อยละ 15 ทุก ๆ 7 วัน
กรณีบริษัท JSL จะจ่ายค่าชดเชยร้อยละ 16

ข่าวที่น่าสนใจ

กรณีนี้บริษัทไม่สามารถทำได้ เพราะกฎหมายกำหนดอัตราการจ่ายค่าชดเชยเอาไว้อย่างชัดแจ้งแล้ว ในมาตรา 118 โดยพิจารณาว่าทำงานมานานเพียงใด ก็จะต้องจ่ายค่าชดเชยตามนั้น กล่าวคือ

  • ก) หากทำงานครบ 120 วันแต่ไม่ครบ 1 ปี ต้องจ่ายค่าชดเชย 30 วัน
  • ข) หากทำงานครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี ต้องจ่ายค่าชดเชย 90 วัน
  • ค) หากทำงานครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี ต้องจ่ายค่าชดเชย 180 วัน
  • ง) หากทำงานครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี ต้องจ่ายค่าชดเชย 240 วัน
  • จ) หากทำงานครบ 10 ปี แต่ไม่ครบ 20 ปี ต้องจ่ายค่าชดเชย 300 วัน
  • ฉ) หากทำงานครบ 20 ปีขึ้นไป ต้องจ่ายค่าชดเชย 400 วัน

เช่น พนักงานมีเงินเดือน 36,000บาท หาร 30จะได้เป็นค่าจ้างรายวัน ๆ ละ 1,200 บาท หากทำงานมานาน 120ปี จะได้ค่าชดเชย 300 วัน ซึงคูณค่าจ้างรายวัน 1,200 บาท จะได้เป็นค่าชดเชยที่นายจ้างต้องจ่ายคือ 360,000 บาท

นายจ้างจะอ้างว่าจ่ายร้อยละ 16 ของเงินที่ควรได้รับคือ 360,000 บาท ไม่ได้ เพราะไม่มีกฎหมายอนุญาตให้ทำได้ แม้ลูกจ้างตกลงด้วยก็เป็นโมฆะ ข้อควรระวัง เมื่อถูกเลิกจ้างแล้ว หากไปเซ็นต์ตกลงรับเงินเพียงร้อยละ 16 ของเงินที่ควรได้รับ ก็อาจทำให้ข้อตกลงนั้นมีผลบังคับได้ เพราะตอนทำข้อตกลงลูกจ้างเป็นอิสระแล้ว ซึ่งศาลฎีกาที่ 3121/2543 พิพากษาว่าการตกลงหลังเลิกจ้างแล้วลูกจ้างมีอิสระพ้นจากพันธกรณี และไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาโดยสิ้นเชิงแล้ว ข้อตกลงจึงใช้บังคับได้

 

 

 

จึงต้องระวังไม่ไปเซ็นตกลงยินยอมรับเงินที่น้อยกว่าสิทธิที่ควรจะได้ ประเด็นนี้ สามารถฟ้อง หรือร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานได้เลย หากได้เงินไม่พอก็อาจบังคับยึดทรัพย์ของบริษัทขายทอดตลาด และเงินที่ได้จะต้องนำมาจ่ายค่าจ้างแก่พนักงานก่อน ประเด็นต่อไป การเลิกจ้างเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหรือไม่

จากข้อเท็จจริงทราบว่าบริษัทขาดทุนสะสม และขาดทุนจริงกระทั่งต้องปิดกิจการ กรณีนี้ถือว่าการเลิกจ้างมีเหตุอันสมควรที่จะเลิกจ้างได้ (แต่ถ้าไม่ขาดทุนจริง ก็เลิกจ้างไม่ได้เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม) ดังนัน กรณีนี้คิดว่าไม่จำเป็นต้องฟัองคดีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย
ทบ.ขานรับนโยบายปราบยาเสพติด เพิ่มทหาร 6 กองกำลัง วัดเคพีไอ 10 กพ.-10 มิ.ย.
ซีพีเอฟ ซีพี-เมจิ ร่วมหนุนสระบุรีแซนด์บ๊อกซ์ "รวมพลังสร้างเมืองคาร์บอนต่ำแห่งแรกของประเทศไทย”
สละเรือแล้ว! "ผบ.อิสราเอล" ยื่น "ลาออก" เซ่นเหตุ 7 ต.ค. ไล่แทงกันในเทลอาวีฟเจ็บ 5
สุดปัง “นายกฯ” สวมกระโปรงผ้าปาเต๊ะ ร่วมประชุม WEF

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น