จับมือ ฟื้น MOU ให้ความรู้กฎหมายประชาชน

สภาทนายความฯ จับมือ ผู้ตรวจการแผ่นดิน เตรียมขยายและฟื้น MOU ความร่วมมือให้ความรู้ด้านกฎหมายประชาชน พัฒนาศักยภาพทนายความก่อนยื่นมือช่วยเหลือประชาชนด้านกฎหมาย ให้เกิดความทั่วถึง เป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม

วันที่ 7 ก.ค. 65 ว่าที่ร้อยตรี ดร.ถวัลย์ รุยาพร นายกสภาทนายความ พร้อมด้วย นายอนุพร อรุณรัตน์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ นายกองตรีดร.ธนพล คงเจี้ยง นายวิทยา ทองกุ้ง พร้อมคณะเข้าพบหารือกับ พันตำรวจโท กีรป กฤตธีรานนท์ เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ศูนย์ราชการฯ

โดยเลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน เปิดเผยว่า ที่ผ่านมามีประชาชนเข้ามาร้องเรียนโดยตรงต่อผู้ตรวจการแผ่นดินจำนวนมากแต่เนื่องจากผู้ตรวจการแผ่นดินไม่มีสำนักงานทั่วประเทศจึงได้หารือกับสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ที่มีสภาทนายความแต่ละจังหวัด และสภาทนายความส่วนกลาง เพื่อจะร่วมมือกันให้ความช่วยเหลือประชาชนด้านกฎหมายได้อย่างทั่วถึง และเป็นการทำงานเชิงรุก ซึ่งทางสภาทนายความและผู้ตรวจการแผ่นดินได้เคยทำข้อตกลง MOU การให้ความรู้ด้านกฎหมายแก่ประชาชนมาแล้วเมื่อปี 2545 จึงต้องยกร่างความตกลงร่วมมือกันเพิ่มเติมเพื่อจะสามารถให้บริการความช่วยเหลือทางกฏหมายเยียวยาความทุกข์ร้อนของประชาชนจากความไม่เป็นธรรมและความไม่ชอบด้วยกฎหมายให้เกิดความสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และเห็นว่าควรใช้ระบบไกล่เกลี่ยมาใช้เพื่อจะ เกิดประโยชน์มากกว่าการฟ้องเป็นคดี เพื่อให้เกิดการแก้ไขโดยเร็วไม่ใช้เวลานาน

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ขณะที่ นายกสภาทนายความ เห็นพ้องกันว่าทั้งสองหน่วยงานควรร่วมมือกันแก้ปัญหาในเชิงรุกเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อนทางกฎหมายได้อย่างทั่วถึงเป็นธรรม โดยเห็นควรมีการพัฒนา MOU ต่อยอดจากฉบับเดิม ให้ขอบเขตการทำงานร่วมกันมากขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์ต่อทั้งสององค์กรในการขับเคลื่อนการแก้ปัญหาให้กับประชาชน ทั้งนี้ทนายความทั่วประเทศปัจจุบันมีอยู่ 84,000 คนและทนายความอาสามีกว่า 10,000 คนทั่วประเทศ ขณะนี้ได้ให้ทนายความอาสาไปนั่งประจำสถานีตำรวจจำนวน 203 สถานีแล้ว ซึ่งจะต้องของบประมาณจากภาครัฐเพื่อขยายต่อให้ทั่วถึงทั่วประเทศ นอกจากนี้เห็นควรให้พัฒนาศักยภาพทนายความและทนายความอาสาทนายความขอแรงด้านวิชาการการอบรมข้อกฎหมายความรู้เชิงลึก ให้เกิดความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านก่อนจะออกไปช่วยเหลือประชาชน

 

เช่นเดียวกับ นายอนุพร กล่าวว่า ควรแก้ปัญหาที่ต้นเหตุในเชิงพัฒนา มากกว่าการเยียวยา การพัฒนาคือการให้ความรู้ด้านกฎหมายแก่ประชาชนมากยิ่งขึ้นและให้ประชาชนได้เข้าถึงที่ปรึกษาทางกฎหมายอย่างทั่วถึง เพิ่มช่องทางการให้ความรู้เกี่ยวกับข้อกฎหมายแก่ประชาชนมากยิ่งขึ้น เมื่อประชาชนเข้าถึงและรู้กฎหมาย ถือเป็นการป้องกันปัญหาที่ต้นเหตุ และจะทำให้ประเทศพัฒนามากยิ่งขึ้น

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เมียไรเดอร์ เปิดใจเสียงสั่น กลัวไม่ได้รับความเป็นธรรม หลังรู้ข่าว หนุ่มอินเดียซิ่งเก๋งได้ประกันตัว ลั่น ‘คนมีเงินมันยิ่งใหญ่’
นายกฯ เปิดงาน Thailand Reception เชิญชวนสัมผัสเสน่ห์อาหารไทย ชูศักยภาพเศรษฐกิจ
จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น