“โควิดระลอกใหม่” 65 จุดตายเรื่องการติดเชื้อคือการใส่หน้ากาก

โควิดระลอกใหม่, Long COVID, หมอธีระ, ATK, N95, RT-PCR, หน้ากาก, ติดเชื้อ

"โควิดระลอกใหม่" 2565 จำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันเพิ่มสูงขึ้น หมอธีระ แนะ ไม่อยากติด อย่าละเลย 5 ข้อวิธีปฏิบัติตัว ชี้ จุดตาย ติดเชื้อ คือ การใส่หน้ากาก

“โควิดระลอกใหม่” 2565 TOP News เกาะติดรายงานสถานการณ์ ล่าสุด วันนี้ (7 กรกฎาคม 2565) หมอธีระ รศ.นพ. ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผย จุดตายเรื่องการติดเชื้อนั้นคือ การใส่หน้ากาก

ข่าวที่น่าสนใจ

 

เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม ที่ผ่านมา หมอธีระ ระบุถึง “โควิดระลอกใหม่” เมื่อวานทั่วโลกติดเชื้อเพิ่ม 740,091 คน ตายเพิ่ม 1,121 คน รวมแล้วติดไป 556,088,469 คน เสียชีวิตรวม 6,363,781 คน 5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุด คือ

 

  1. ฝรั่งเศส
  2. อิตาลี
  3. บราซิล
  4. ออสเตรเลีย
  5. ไต้หวัน

 

 

“เมื่อวานนี้ จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 7 ใน 10 อันดับแรก และ 15 ใน 20 อันดับแรกของโลก จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 77.85 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 45.31”

 

สถานการณ์ระบาดของไทย

 

  • จากข้อมูล Worldometer เช้านี้ พบว่า จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 13 ของโลก และอันดับ 2 ของเอเชีย แม้ สธ. ไทยจะปรับระบบรายงาน ตั้งแต่ 1 พ.ค. จนทำให้จำนวนที่รายงานนั้นลดลงไปมากก็ตาม

 

 

 

 

โควิดระลอกใหม่, Long COVID, หมอธีระ, ATK, N95, RT-PCR, หน้ากาก, ติดเชื้อ

 

 

 

 

อัปเดตความรู้เกี่ยวกับ Long COVID

 

การติดเชื้อโรคโควิด-19 ทำให้เกิดความผิดปกติของหลอดเลือดในสมอง ล่าสุด งานวิจัยจาก US NIH ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ด้านระบบประสาท Brain และเผยแพร่สรุปผลการศึกษาในเว็บไซต์ของ National Institute of Neurological Disorders and Stroke เมื่อ 7 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา โดยทำการศึกษากลุ่มตัวอย่าง 9 คน อายุตั้งแต่ 24 – 73 ปี พบว่า

 

 

 

 

โควิดระลอกใหม่, Long COVID, หมอธีระ, ATK, N95, RT-PCR, หน้ากาก, ติดเชื้อ

 

 

 

 

“หลังการติดเชื้อโรคโควิด-19 ระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ โดยทำให้เกิดการทำลายผนังหลอดเลือดในสมอง นำไปสู่โอกาสอุดตัน และกระบวนการอักเสบต่าง ๆ ของหลอดเลือดในสมองได้ กลไกความผิดปกติดังกล่าว จึงอาจเป็นหนึ่งในคำอธิบายการเกิดภาวะ Long COVID ในผู้ป่วยที่มีอาการผิดปกติทางสมองหรือระบบประสาทได้”

 

 

ดังนั้น การป้องกันไม่ให้ติดเชื้อย่อมจะดีที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา Long COVID ในระยะยาว

 

 

 

 

โควิดระลอกใหม่, Long COVID, หมอธีระ, ATK, N95, RT-PCR, หน้ากาก, ติดเชื้อ

 

 

 

 

“โควิดระลอกใหม่” วิธีปฏิบัติตัวในสถานการณ์ระบาดของไทย

 

  1. ใส่หน้ากากเสมอ เวลาออกตะลอนนอกบ้าน
  2. เลี่ยงการเข้าร่วมงาน / กิจกรรมที่มีคนจำนวนมาก หากจำเป็นต้องไป หรือทนไม่ไหวอยากไปจริง ๆ ก็ป้องกันตัวให้ดี ไม่ถอดหน้ากากระหว่างงาน แยกตัวไปกินดื่มห่างจากคนอื่น ระหว่างพูดคุยควรใส่หน้ากาก
  3. เชียร์กีฬา ร้องเพลง โดดเล่นเต้นระบำ ควรใส่หน้ากาก และไม่ควรตะโกน เพราะจะเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อ ติดเชื้อกันมากขึ้น
  4. ออกกำลังกาย แบบเดี่ยวจะดีกว่ากลุ่ม กลางแจ้งจะดีกว่าอินดอร์ หากจะไปฟิตเนส ใส่หน้ากากจะดีกว่า และใช้เวลาสั้น ๆ
  5. ไข้ ปวดหัว ปวดเมื่อยตามตัว ไอ เจ็บคอ คัดจมูก ท้องเสีย ให้นึกถึง โควิด-19 ด้วยเสมอในยามนี้ ตรวจ ATK ด้วยตนเอง

 

 

 

 

 

หมอธีระ ระบุต่อว่า หากได้ผลบวก แยกตัวจากคนอื่นอย่างน้อย 10 – 14 วัน (ถ้าบางอาชีพต้องกลับไปทำงานก่อนเวลาที่บอกไว้ ก็ควรใส่หน้ากาก N95 หรือเทียบเท่า และระมัดระวังป้องกันตัวอย่างเคร่งครัดมาก ๆ จนครบ 14 วัน)

 

“แต่หากมีอาการป่วย แต่ตรวจได้ผลลบ อย่าวางใจ เพราะมีโอกาสผลลบปลอมสูง อาการป่วยจะเชื่อได้มากกว่า ดังนั้น จึงควรตรวจ ATK ซ้ำเป็นระยะตลอดช่วงอาการป่วย หรือไปตรวจ RT-PCR ถ้าสงสัยและมีประวัติเสี่ยงชัดเจน”

 

 

 

หมอธีระ ย้ำอีกครั้งว่า ด้วยข้อมูลทางการแพทย์ปัจจุบัน หากติดเชื้อแล้วแยกตัว 5 วัน “ไม่เพียงพอครับ”
ใครจะว่าเอาอยู่ เพียงพอ เวฟเล็กๆๆๆๆๆๆๆ ก็ว่ากันไป คนหน้างาน และประชาชนในสังคมย่อมประเมินสถานการณ์รอบตัวด้วยตา และด้วยประสบการณ์ตรงของตนได้ว่าเป็นอย่างไร

 

“จากที่เห็น จากที่คลุกคลี บอกได้ว่า ไม่ใช่ การหนีความจริงนั้นยากนะครับ สุดท้ายแล้วที่ยากที่สุด คือ การมองหน้า สบตากับทุกคนได้อย่างสนิทใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน้าและสายตาของตนเองในกระจกที่ส่องทุกเช้าค่ำ และสมาชิกในครอบครัว”

 

 

 

 

อ้างอิง

 

  • Lee M-H, et al. Neurovascular injury with complement activation and inflammation in COVID-19. Brain. 2022.

 

 

 

 

ล่าสุด จุดตายเรื่องการติดเชื้อ นั้นคือ การใส่ หน้ากาก

 

  1. ใส่ให้ถูกต้อง ปิดปาก ปิดจมูก ไม่มีร่องข้างจมูกและข้างแก้ม
  2. หากหน้ากากอนามัยไม่แนบสนิทกับใบหน้า ต้องใส่หน้ากากผ้าทับไว้ข้างนอก เพื่อกดให้หน้ากากอนามัยด้านในชิดกับใบหน้า
  3. คนที่ทำงานเสี่ยงต่อการติดเชื้อมาก ควรใช้ N95 หรือเทียบเท่า และตรวจสอบความฟิตกับใบหน้าก่อนใช้
  4. ส่วนใหญ่ตกม้าตายด้วยเหตุผลเพียง 2 เรื่องคือ ใส่ไม่ถูกต้องและมีพฤติกรรมเสี่ยงขณะนั้น และถอด
  5. หน้ากากตอนอยู่ใกล้ชิดกับคนอื่น เช่น กินอาหาร/ดื่มร่วมกันทั้งในและนอกที่ทำงาน ไปงานเลี้ยงสังสรรค์ ออกกำลังกาย สนทนาชิทแชท ฯลฯ

 

 

 

 

  • ส่วนการติดในครัวเรือนนั้นป้องกันได้ยาก ทำได้เพียงคอยสังเกตอาการผิดปกติ หรือใครไปมีประวัติเสี่ยงมา ก็ควรตรวจตั้งแต่เนิ่น ๆ แล้วรีบแยกจากสมาชิกในครัวเรือน
  • ย้ำว่า ระบาดหนักมากตอนนี้ ติดกันได้หมดทั้งในอาคาร หรือในที่สาธารณะ
  • การฉีดวัคซีนช่วยเรื่องลดโอกาสป่วยรุนแรง และเสียชีวิต แต่ไม่การันตี 100% หากไม่ป้องกันตัว จะติดเชื้อได้ ป่วยได้ ตายได้ และเสี่ยงต่อ Long COVID
  • การใส่หน้ากาก คือ หัวใจสำคัญที่สุด

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น