“Long Covid” หายได้ เผย 5 ระยะฟื้นฟูร่างกายให้เหมือนเดิม (คลิป)

Long Covid, อาการ Long Covid, ภาวะลองโควิด, ภาวะ Long Covid, ลองโควิด,​ วิธีฟื้นฟูลองโควิด, โควิด, ออกกำลังงกาย, แพทยสภา

"Long Covid" ภาวะ long covid อาการ long covid มี อะไร บ้าง เผยวิธีฟื้นฟูร่างกายให้กลับมาเหมือนเดิม ยืนยัน อาการนี้หายได้ แบ่งออกเป็น 5 ระยะ

“Long Covid” ลองโควิด หายได้ไม่ยาก แพทยสภา เผยเคล็ดลับฟื้นฟูร่างกายให้กลับมาแข็งแรงเหมือนเดิม ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ในประเทศไทยเริ่มมีการแพร่ระบาดตั้งแต่ปี 2020 จนถึงปัจจุบันพบผู้ติดเชื้อ 3.6 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิต 25,200 คน หรือคิดเป็นประมาณ 0.7% ถึงแม้ว่าอัตราการเสียชีวิตจะไม่สูงมาก แต่ผลกระทบตามมาภายหลังการติดเชื้อซึ่งก็ คือ ภาวะลองโควิด ( “Long Covid” ) โดยพบผู้ที่มีภาวะลองโควิดมากถึง 2 ใน 3 ของผู้ติดเชื้อที่มีอาการรุนแรง และ 1 ใน 3 ของผู้ติดเชื้อที่มีอาการน้อยถึงปานกลาง

 

 

 

Long Covid, อาการ Long Covid, ภาวะลองโควิด, ภาวะ Long Covid, ลองโควิด,​ วิธีฟื้นฟูลองโควิด, โควิด, ออกกำลังงกาย, แพทยสภา

 

 

 

 

โดยสามารถแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ

  • ระยะ on going symptomatic COVID : ภายหลังการติดเชื้อ 4-12 สัปดาห์
  • post-COVID-19 syndrome : ระยะมากกว่าหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์

 

 

 

อาการลองโควิดที่พบได้บ่อย ได้แก่

  • อาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
  • หายใจหอบเหนื่อย
  • ไอเรื้อรัง
  • ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ
  • นอนไม่หลับ
  • การรับรู้กลิ่นรสผิดเพี้ยน
  • สมาธิสั้น ความสามารถในการคิดและการจดจำลดลง
  • ซึ่งผู้ติดเชื้อมากกว่า 80% มีอาการมากกว่า 1 อาการ โดยผู้หญิง ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีอาการรุนแรง มีโอกาสเกิดลองโควิดได้มากกว่า
  • และอาการลองโควิดสามารถยาวนานได้ถึง 6 เดือน ถึง 1 ปี
  • แต่หากได้รับการฟื้นฟูอย่างเหมาะสม อาการลองโควิดจะดีขึ้นในช่วงระยะเวลา 2-3 เดือน ภายหลังการฟื้นฟูร่างกาย

 

 

 

แม้ปัจจุบันยังไม่มีผลการศึกษาเกี่ยวกับการรักษาภาวะลองโควิดด้วยการใช้ยา อาหารเสริม หรือการออกกำลังที่แน่ชัด แต่แนวทางปฏิบัติแนะนำให้ใช้การรักษาแบบองค์รวม เน้นการฟื้นฟูทั้งสภาพร่างกายและจิตใจควบคู่กัน การออกกำลังกายจะช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพของร่างกายในระบบต่าง ๆ ทั้งความแข็งแรงทนทานของระบบการทำงานของหัวใจและปอด ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมองและความจำ

 

 

 

อีกทั้งยังช่วยฟื้นฟูด้านสภาพจิตใจได้ด้วย โดยการออกกำลังจะช่วยความเครียด ความกังวล และภาวะซึมเศร้า อย่างไรก็ตาม การเริ่มกลับไปออกกำลังหรือทำกิจกรรมทางกายที่ต้องออกแรงเยอะ สามารถทำได้เมื่ออาการจากการติดเชื้อโควิด หายไปอย่างน้อย 7 วัน หากผู้ที่มีอาการรุนแรงในช่วงติดเชื้อโควิด และยังมีอาการหายใจเหนื่อยหอบ มีอาการใจสั่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ แนะนำให้พบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุก่อนเริ่มออกกำลังกาย

 

 

 

Long Covid, อาการ Long Covid, ภาวะลองโควิด, ภาวะ Long Covid, ลองโควิด,​ วิธีฟื้นฟูลองโควิด, โควิด, ออกกำลังงกาย, แพทยสภา

การฟื้นฟูร่างกายจาก “Long Covid” ด้วยการออกกำลัง สามารถแบ่งออกเป็น 5 ระยะ ในแต่ระยะใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ ดังนี้

ระยะที่ 1 (วันที่ 0-7)

  • เป็นการเตรียมความพร้อมของร่างกาย แนะนำการออกกำลังด้วยการเดิน การยืดเหยียดส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
  • และฝึกการหายใจเข้า-ออกให้สุดแบบช้า ๆ
  • โดยระดับความเหนื่อยของการออกกำลังอยู่ในระดับไม่เหนื่อยถึงเหนื่อยเล็กน้อย

ระยะที่ 2 (วันที่ 8-14)

  • เป็นการออกกำลังในระดับเบา ได้แก่ การเดิน การเล่นโยคะเบา ๆ การทำงานบ้าน
  • โดยค่อย ๆ เพิ่มระยะเวลาในการออกกำลังวันละ 10-15 นาที
  • และเมื่อสามารถเดินได้ 30 นาที โดยรู้สึกเหนื่อยเพียงเล็กน้อย สามารถเพิ่มระดับความหนักของการออกกำลังไปสู่ระยะที่ 3 ได้

 

 

 

ระยะที่ 3 (วันที่ 15-21)

  • เป็นการออกกำลังในระดับปานกลาง โดยใช้การออกกำลังแบบแอโรบิก ได้แก่ การออกกำลังที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างต่อเนื่อง เช่น การเดินเร็ว การปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ วิ่งเหยาะ ๆ เป็นต้น
  • และการออกกำลังแบบมีแรงต้าน เช่น การยกดัมเบลล์หรือขวดน้ำ การออกกำลังโดยใช้ร่างกายของตัวเอง เช่น การลุก – นั่ง เก้าอี้ หรือการทำท่าสควอท (squat) ทำท่าแพลงก์ (plank) การดันกำแพงหรือวิดพื้น (push up)
  • โดยสามารถแบ่งการออกกำลังเป็นรอบ รอบละ 5 นาที พัก 5 นาที สามารถเพิ่มรอบการออกกำลังได้ทุกวัน วันละ 1 รอบ
  • เมื่อสามารถออกกำลังได้รวม 30 นาที (ไม่รวมเวลาพัก) ก็สามารถเพิ่มระดับความหนักไปสู่ระยะถัดไป

 

 

 

ระยะที่ 4 (วันที่ 22-28)

  • เป็นการออกกำลังในระดับปานกลางเหมือนในระยะที่ 3 โดยเพิ่มความซับซ้อนในการเคลื่อนไหว เช่น การวิ่งเปลี่ยนทิศทาง การวิ่งไปทางด้านข้าง หรือการกระโดดโดยสลับขา (shuffles) รวมถึงการออกกำลังแบบมีแรงต้านหลายๆท่าต่อเนื่องกัน
  • โดยสามารถออกกำลัง 2 วัน พัก 1 วัน และเมื่อไม่มีอาการอ่อนเพลียหลังจากออกกำลังสามารถเพิ่มระดับความหนักของการออกกำลังในระยะถัดไป

ระยะที่ 5 (ตั้งแต่วันที่ 29 เป็นต้นไป)

  • ในระยะนี้สามารถกลับไปออกกำลังได้ตามปกติ และสามารถเพิ่มระดับความหนักของการออกกำลังได้เท่าที่สามารถทำได้

 

 

 

Long Covid, อาการ Long Covid, ภาวะลองโควิด, ภาวะ Long Covid, ลองโควิด,​ วิธีฟื้นฟูลองโควิด, โควิด, ออกกำลังงกาย, แพทยสภา

 

 

 

คำแนะนำและข้อควรระวังในการออกกำลัง

  • ก่อนและหลังออกกำลังต้องวอร์มอัพ และคูลดาวน์ทุกครั้ง
  • ไม่ควรเพิ่มระดับความหนักของการออกกำลังเร็วจนเกินไป โดยในระยะที่ 1-2 เป็นการออกกำลังในระดับเบา และระยะที่ 3-4 เป็นการออกกำลังในระดับปานกลาง
  • หากรู้สึกอ่อนเพลียในวันรุ่งขึ้นแนะนำให้พักจนหายล้า และเมื่อเริ่มออกกำลังอีกครั้งลดระดับความหนักของการออกกำลังลง
  • จะเพิ่มระดับความหนักของการออกกำลังก็ต่อเมื่อสามารถออกกำลังได้ตามเกณฑ์ที่แนะนำไว้ ไม่หักโหมจนเกินไป
  • หากมีอาการผิดปกติ เช่น หายใจหอบเหนื่อยกว่าปกติ ใจสั่น แน่นหน้าอก อ่อนเพลีย แนะนำให้รีบพบแพทย์

 

 

 

ข้อมูล : แพทยสภา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น