เมินซ้ำรอยรถไฟฟ้าสีส้ม “กรมธนารักษ์” พร้อมเซ็นสัญญาท่อน้ำ EEC ไม่รอศาลปกครอง

กรมธนารักษ์ เผยความคืบหน้าตรวจสอบข้อเท็จจริงโครงการท่อส่งน้ำ EEC รอรมว.คลัง พิจารณาและสั่งการลงมา ระบุ หากผลตรวจสอบแล้ว ไม่มีอะไรผิดกฎหมาย จะเร่งลงนามสัญญากับ “วงษ์สยามก่อสร้าง” ให้เร็ว เหตุห่วงผลประโยชน์รัฐ พร้อมย้ำ ไม่จำเป็นต้องรอคำพิพากษาของศาลฯ

นายประภาศ คงเอียด อธิบดีกรมธนารักษ์ เปิดเผยกับ TOPNEWS ถึงขั้นตอนการเซ็นสัญญาโครงการท่อส่งน้ำสายหลักในภาคตะวันออก (EEC) ตามที่ปรากฎเป็นกระแสข่าวว่าจะเกิดขึ้นโดยเร็ว แม้ว่า นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ระบุว่า ได้รับรายงานผลการตรวจสอบเพิ่มเติมจากคณะกรรมการฯ ตามกำหนดขยายเวลาการสอบอีก 30 วันแล้ว แต่ต้องขอระยะเวลาตรวจสอบและพิจารณารายละเอียดทั้งหมด ก่อนพิจารณาว่าหลังจากนี้ต้องดำเนินการอย่างไรต่อไป

อธิบดีกรมธนารักษ์ ย้ำว่า เรื่องดังกล่าว ต้องรอรมว.คลัง สั่งการมาก่อน ว่า ผลตรวจสอบมีประเด็นอะไรเพิ่มเติม หรือไม่ โดยกรมธนารักษ์จะยึดความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบฯ และคำสั่งของรมว.คลัง เป็นหลัก

อย่างไรก็ตาม ครั้งนี้ ถ้าตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว ไม่มีอะไรผิดกฎหมาย กรมธนารักษ์ ก็จะเร่งเดินหน้าลงนามในสัญญา กับบริษัท วงษ์สยามก่อสร้าง จำกัด โดยเร็วที่สุด เพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงในการที่จะถูกดำเนินการในทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางปกครอง รวมถึงจะต้องมีการนัดหมายกับทางคู่สัญญาอีกครั้ง ซึ่งการลงนามได้จะเกิดขึ้นเมื่อใด ก็ขึ้นอยู่กับความพร้อมในส่วนอื่นด้วย แต่ขณะนี้กรมธนารักษ์ เตรียมการไว้หมดแล้ว

“จะใช้เวลาถึง หรือไม่ถึง (1-2 เดือน) ขึ้นอยู่กับท่านรัฐมนตรี(คลัง) จะสั่งการอย่างไร หลังจากนั้น ก็เข้าสู่ Process ตามกระบวนการ ในส่วนของการที่จะนัดหมาย ว่าต้องแจ้งกี่วัน ตามขั้นตอน” อธิบดีกรมธนารักษ์ กล่าว

ทั้งนี้ อธิบดีกรมธนารักษ์ ระบุด้วยว่า การจะลงนาม หรือไม่ลงนาม ขึ้นอยู่กับปัจจัยว่า ถ้ามีการตรวจสอบแล้วเห็นว่า ยังเป็นการดำเนินการที่ไม่ชอบกฎหมาย ก็เซ็นไม่ได้

“ ถ้าท่านสั่งการมาแล้ว แล้วพบว่าไม่มีอะไรผิดกฎหมาย ก็ต้องเร่งดำเนินการด้วยซ้ำไป เพราะตอนนี้ถือว่ากระบวนการมีความล่าช้า ผู้ที่เกี่ยวข้องจะมีความเสี่ยงในเรื่องความรับผิดทางละเมิด เพราะถือเป็นการทำให้ขัดขวางผลประโยชน์ของรัฐ หรือ ถ้ารัฐมนตรีสั่งการมาแล้วว่า ไม่มีอะไรผิด หรือไม่ถูกต้อง ให้ดำเนินการต่อไป เราก็ไม่ควรล่าช้า เนื่องจากจะกลายเป็นประเด็นอื่นเกิดขึ้นมา” อธิบดีกรมธนารักษ์ กล่าว

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ส่วนข้อคำถามว่า มีเหตุจำเป็นต้องรอคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลปกครองหรือไม่ อธิบดีกรมธนารักษ์ กล่าวย้ำว่า การลงนามในสัญญาโครงการฯ ไม่ต้องรอคำพิพากษาของศาลปกครอง
“ไม่มีเหตุต้องรอ รอศาลรอได้ยังไง ในเมื่อศาลสั่งไม่คุ้มครอง ถ้าศาลสั่งคุ้มครองก็จบ พอศาลสั่งไม่คุ้มครอง ที่นี้มันก็เป็นเหตุในทางฝ่ายบริหาร ถ้าบอกว่าอยู่ ๆ จะไปรอคำสั่งศาล รอโดยอะไร โดยมติของใคร เพราะว่าคณะกรรมการที่ราชพัสดุ ก็มีมติออกมาแล้วว่าไม่รอ คือเห็นชอบตามข้อสรุปของกรมธนารักษ์”

แต่ไม่ใช่ประเด็นที่ว่าทำให้คู่สัญญารอนาน เพราะถ้ามีเหตุต้องรอ ก็ต้องรอ เหตุผลดังกล่าว ไม่ใช่ปัจจัยหลัก ไม่ใช่สาระสำคัญของการตัดสินใจลงนามหรือไม่ลงนาม แต่ที่กรมธนารักษ์ ต้องเร่งเพราะเป็นห่วงผลประโยชน์ของรัฐ

เมื่อถามถึงกรณีคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง เรื่องรถไฟฟ้าสายสีส้ม (7 ก.ค.65) เนื่องด้วยมีคำพิพากษาการแก้ไขหลักเกณฑ์การประมูลที่มีการเปลี่ยนแปลง มิชอบด้วยกฎหมาย เป็นเหตุให้เกณฑ์ในการประมูลครั้งแรกยังมีผลอยู่ อธิบดีกรมธนารักษ์ กล่าวว่า คนละเรื่องกัน อันนั้น หมายถึงกระบวนการคัดเลือก แต่อันนี้หมายถึงผลประโยชน์ของรัฐ

ทั้งนี้ ก่อนหน้านั้น ศาลปกครอง เคยกำหนดให้กรมธนารักษ์ ยื่นข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อประกอบการพิจารณาคำร้องของ บริษัทอีสท์ วอเตอร์ ภายในวันที่ 7 ก.ค. ที่ผ่านมา และมีกำหนดจะเร่งสรุปสำนวนคำร้องเพื่อพิพากษาหรือวินิจฉัยคำร้องดังกล่าว ให้เร็วที่สุดภายในเดือนก .ค.นี้ ถ้าข้อมูลทั้งหมดสมบูรณ์ ครบถ้วน

 

โดยกระบวนการเหล่านี้ล้วนสอดคล้องกับ กรณีที่ศาลปกครอง เคยมีความเห็นเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2565 ระบุชัดเจนว่า กรณีนี้หากการคัดเลือกเอกชนเพื่อเข้าทำสัญญาในโครงการดังกล่าวยังคงดำเนินต่อไป จนมีการลงนามในสัญญา ย่อมทำให้ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นผู้ยื่นข้อเสนอในการประกาศเชิญชวนเอกชนเข้าร่วมยื่นข้อเสนอครั้งแรกได้รับความเสียหาย

เนื่องจากมาตรา 119 วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 บัญญัติให้การฟ้องคดีไม่มีผลกระทบต่อการจัดซื้อจัดจ้างที่หน่วยงานของรัฐได้ลงนามในสัญญาจัดซื้อจัดจ้างแล้ว จึงย่อมทำให้การฟ้องคดีนี้ไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้ฟ้องคดีในการแก้ไขเยียวยาความเสียหายจากมติหรือคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ที่ยกเลิกการคัดเลือกเอกชนเพื่อบริหารและดำเนินการระบบท่อส่งน้ำสายหลักในภาคตะวันออกครั้งแรก

ประกอบกับโครงการพิพาทมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เอกชนบริหารจัดการและดูแลรักษาระบบท่อส่งน้ำสายหลักในภาคตะวันออกให้สามารถตอบสนองความต้องการใช้น้ำของชุมชนและกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างเพียงพอและทันต่อการณ์ โดยบริหารจัดการเพื่อให้เกิดเสถียรภาพและความมั่นคงที่มีผลต่อขีดความสามารถในการแข่งขันในภาคตะวันออก

ดังนี้ หากการยกเลิกการคัดเลือกเอกชนเพื่อบริหารและดำเนินการระบบท่อส่งน้ำสายหลักในภาคตะวันออกเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงอาจเป็นอุปสรรคแก่การบริการสาธารณะด้านการให้บริการสาธารณูปโภค

ศาลจึงมีคำสั่งให้ดำเนินกระบวนพิจารณาโดยเร่งด่วนตามข้อ 49/2 แห่งระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2543

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

โฆษกตร.แจงเหตุ "พ.ต.อ.ไพรัตน์" ได้รับพิจารณาเลื่อนตำแหน่ง แม้เคยถูกออกหมายจับในอดีต
สุดเศร้า "สาวไทยวัย 30 " จบชีวิตในห้องน้ำห้างดังมาเลเซีย ล่าสุดครอบครัว-ญาติ รู้ข่าวแล้ว
"พิพัฒน์" เปิดโครงการก.แรงงานพบประชาชน สนับสนุนการเข้าถึงโอกาสตำแหน่งงาน พัฒนาอาชีพบุคคล
"สำนักงานสลากฯ" เห็นชอบขายสลาก N3 ต่อเนื่อง งวดละ 5 ล้านรายการ พร้อมเพิ่มผู้แทนเดินจำหน่าย
ระทึก จนท.ช่วย "ช้างป่า" ขึ้นจากสระน้ำ ก่อนทำร้ายชาวบ้านบาดเจ็บสาหัส
ทางการจีนขอบคุณตร.ไทย ช่วยพลเมือง "ดารานายแบบ-เหยื่อชาวจีน" พ้นเงื้อมมือแก๊งคอลเซ็นเตอร์
“นายกฯ” ยินดี “กรุงเทพฯ” ติดอันดับ 2 เมืองที่ดีที่สุดในโลกปี 2025 ย้ำรบ.เร่งเดินหน้าพัฒนาทั่วประเทศ
"ทักษิณ" หาเสียงอบจ.หนองคาย ยันลุยแก้หนี้-แก๊งคอลเซ็นเตอร์ มั่นใจลดค่าไฟต่ำกว่า 3.70 บาท
"เจ้าของร้านทอง" ไหวพริบดี ช่วย "เหยื่อ" จากแก๊งคอลฯ หลังมิจฉาชีพอ้างเป็น ตร.บังคับขายทอง
‘อ.ปรเมศวร์’ วิเคราะห์ชัด ทำไมรื้อ‘คดีแตงโม’ ถึงเป็นไปได้ยาก

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น