"แบรด พิตต์" Brad Pitt ดาราฮอลลีวูดชื่อดัง เผยมีอาการป่วย โรคโพรโซพาโนเซีย (prosopagnosia) ภาวะสูญเสียการจดจำใบหน้า
ข่าวที่น่าสนใจ
นับเป็นข่าวช็อกวงการบันเทิงไม่น้อย เมื่อดาราชั้นนำจาก Hollywood อย่าง Brad Pitt (“แบรด พิตต์”) เจ้าของผลงานชื่อดังอย่าง
- Troy
- Fight Club
- World War Z มหาวิบัติสงครามซี
- The Curious Case of Benjamin Button เบนจามิน บัตตัน อัศจรรย์ฅนโลกไม่เคยรู้ เป็นต้น
เผยกับนิตยสาร GQ ว่า มีอาการป่วย โรคโพรโซพาโนเซีย (prosopagnosia) หรือภาวะสูญเสียการจดจำใบหน้า ถึงแม้จะยังไม่ได้รับการวินิจฉัยก็ตาม
โดยเจ้าตัวเผยว่า ไม่สามารถจำหน้าบุคคลที่เจอกันอีกเป็นครั้งที่ 2 ได้ และบางครั้งก็ลืมใบหน้าตัวเอง แน่นอนว่าไม่มีใครเชื่อว่าเขาป่วยเป็นโรคนี้ ทำให้เขาไม่กล้าออกไปเจอผู้คนภายนอก ถึงแม้ตัวเขาจะยังไม่ได้รับการวินิจฉัยโรคอย่างเป็นทางการก็ตาม
ทำความรู้จัก โรคโพรโซพาโนเซีย (prosopagnosia) คืออะไร?
- เป็นภาวะบกพร่องของสมองในการรับรู้และประมวลผลสูญเสียการจดจำใบหน้าอย่างสมบูรณ์
- ผู้ป่วยจะไม่สามารถจดจำใบหน้าคนได้ บางครั้งยังทำให้ลืมใบหน้าตัวเองด้วย
- ความรุนแรงของอาหารขึ้นอยู่กับบุคคล บางคนมีอาการไม่รุนแรง ยังสามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้
- สำรหับผู้ที่มีอาการรุนแรง อาจปลีกตัวออกจากสังคม กระทบหน้าที่การงาน ขาดความสัมพันธ์ส่วนบุคคล หรืออาจถึงขั้นเป็นโรคซึมเศร้าได้
อาการป่วยของ โรคโพรโซพาโนเซีย สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท
- Developmental Prosopagnosia : มีอาการตั้งแต่กำเนิด เกิดความผิดปกติในช่วงพัฒนาการเติบโต
- Acquired Prosopagnosia : เป็นผลของความเสียหายที่รอยต่อของสมองกลีบขมับและสมองกลีบท้ายทอย (occipito-temporal junction) มักพบในผู้ใหญ่
ผลกระทบจากโรคนี้
1. การสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น
- เนื่องจาก ผู้ป่วยจะไม่สามารถจดจำใบหน้าผู้อื่นได้ จึงจำเป็นต้องจำจากน้ำเสียง การแต่งตัวหรือท่าทางแทน
- ซึ่งแน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้ไม่สามารถช่วยได้เสมอไป โดยเฉพาะการพบเจอโดยบังเอิญ หรือทำความรู้จักผู้คนใหม่ ๆ จึงส่งผลกระทบต่อการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นนั่นเอง
2. หน้าที่การงาน
- ส่งผลต่องานที่ใช้ในการติดต่อผู้อื่นเป็นอย่างมาก เช่น ติดต่อลูกค้า หรือผู้ร่วมงาน อาจส่งผลให้เกิดปัญหาในภายหลังได้
3. พฤติกรรมการแสดงออก
- มักจะหลีกเลี่ยงการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
- จนสุดท้ายก็กลายเป็นโรคหวาดกลัวการเข้าสังคมไปในที่สุด
- หรืออาจถึงขั้นเป็นโรคซึมเศร้าได้
วิธีรักษา
- ปัจจุบัน ยังไม่พบการรักษาที่ทำให้หายขาดได้ เนื่องจาก ส่วนใหญ่เกิดจากการบาดเจ็บรุนแรงบริเวณสมอง
- แต่นักวิจัยก็ได้พยายามหาสาเหตุในการเกิดโรค และพยายามพัฒนาโปรแกรมการฝึกที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาจดจำใบหน้าได้อีกครั้ง
- อย่างไรก็ตาม มีการคาดการณ์ว่า อาการของโรคดังกล่าว อาจจะช่วยได้เฉพาะผู้ที่เพิ่งเริ่มมีอาการเท่านั้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง