"แผ่นดินไหว" บริเวณทะเลอันดามัน 38 ครั้ง ใน 1 สัปดาห์ ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ อ.เมือง จ.พังงา 500 กม. ยังไม่รุนแรงพอทำให้เกิดสึนามิ
ข่าวที่น่าสนใจ
กองเฝ้าระวัง แผ่น ดิน ไหว เผย แผ่น ดิน ไหว ที่เกิดขึ้นบริเวณทะเลอันดามัน ห่างจากพื้นที่ของ จ.พังงา ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ประมาณ 500 กม. ช่วงของวันที่ 4 – 9 ก.ค. นั้น ลักษณะการเกิด แผ่น ดิน ไหว เป็นกระจุกหรือกลุ่ม แผ่น ดิน ไหว (earthquake swarm) ที่ไม่มี แผ่น ดิน ไหว หลัก (main shock) อย่างชัดเจน
“โดยจะเป็นกลุ่มของ แผ่น ดิน ไหว ขนาดเล็กถึงปานกลาง (ขนาด <5) เกิดขึ้นมาแล้วจำนวน 38 ครั้ง ซึ่งเกิดขึ้นในบริเวณใกล้ ๆ กันในระยะเวลาสั้น ๆ”
กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว ยังระบุอีกว่า กลุ่มของแผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดขึ้นตามแนวการขยายตัวของพื้นมหาสมุทรอันดามัน (Andaman Sea spreading centre) ที่มีลักษณะของการเลื่อนตัวแบบปกติ (normal slip)
“แผ่นดินไหวที่เกิดตามแนวการขยายตัวของพื้นมหาสมุทรจะเป็นแผ่นดินไหวที่ไม่รุนแรง โดยทั่วไปจะมีการเลื่อนตัวแบบปกติหรือในแนวระนาบ ซึ่งไม่ทำให้เกิดสึนามิ และในอดีตยังไม่พบแผ่นดินไหวขนาดมากกว่า 6.5 เกิดขึ้นในบริเวณนี้”
ประกาศ กรมอุตุนิยมวิทยา “ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทย และคลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามัน (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 14 กรกฎาคม 2565)” ฉบับที่ 7 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2565 ระบุ ในช่วงวันที่ 10 – 14 ก.ค. 65 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับ ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้
จังหวัดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ มีดังนี้
ในช่วงวันที่ 10 – 11 ก.ค. 2565
- ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก ตาก และเพชรบูรณ์
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ยโสธร กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ ร้อยเอ็ด อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี
- ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
- ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
- ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ และตรัง
ในช่วงวันที่ 12 – 13 ก.ค. 2565
- ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก ตาก กำแพงเพชร พิจิตร และเพชรบูรณ์
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ยโสธร กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา มหาสารคาม ร้อยเอ็ด อำนาจเจริญ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
- ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
- ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
- ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
ในวันที่ 14 ก.ค. 2565
- ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก ตาก และเพชรบูรณ์
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม ขอนแก่น ร้อยเอ็ด และอำนาจเจริญ
- ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรีราชบุรี รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
- ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
- ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ และตรัง
สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังแรง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร บริเวณทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนล่างทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 10 – 14 ก.ค. 65 นี้ไว้ด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง