ผอ.สำนักงบประมาณ เตือนสภาองค์กรของผู้บริโภค ใช้เงินผิดประเภทระวังติดคุก

อนุมติงบ 350 ล้านบาทให้ไปแล้ว เบรกการใช้เงินไม่ได้แต่ตรวจสอบการใช้ได้ ชี้การใช้เงินต้องมีการเสนอแผนมาให้ดูเป็นรายไตรมาส พบทำผิดส่งเรื่องให้สตง.ตรวจสอบ ป.ป.ช.ฟันทันที อนุชา สั่งตรวจสอบ 16 องค์กรสภาผู้บริโภค เถื่อนไม่มีที่ตั้ง ปลัดสปน.รับลูกตั้ง มงคลชัย ผู้ตรวจราชการลงไปตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว

นายอนุชา นาคาศัย รมต.สำนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาณ์ “ท็อปนิวส์” กรณีการตรวจสอบความไม่ชอบมาพากลในการตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภคว่า เพิ่งทราบเรื่องที่นายศรีสุวรรณ ไปร้องให้ตรวจสอบความไม่ชอบมาพากลในการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค จากนี้เมื่อมีการร้องมาจะได้สอบถามข้อมูลไปยังนายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีว่าข้อเท็จจริงเรื่องนี้เป็นอย่างไร

ด้านนายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เบื้องต้นในส่วนของการตรวจสอบเรื่องนี้ ตนได้มอบหมายให้
นายมงคลชัย สมอุดร ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นคนรับผิดชอบในการไปตรวจสอบเรื่องนี้ เพราะที่ผ่านมาตั้งแต่ต้นทางที่มีการตั้งองค์กรมาจนถึงการขึ้นทะเบียน มันไม่มีใครร้องเรียนมาว่าที่มาของแต่ละองค์กรมันไม่ถูกต้องก็เลยไม่ได้มีการตรวจสอบตั้งแต่ต้นทาง เราก็เพิ่งมาทราบข้อมูลทีหลังตอนที่มีการร้อง จากนี้ก็จะไปไล่ดูจากนี้ก็จะให้นายมงคลชัยไปดูไปออกแบบว่าจะดำเนินการอย่างไร สำหรับเรื่องงบประมาณ 350 ล้านบาทของสภาองค์กรของผู้บริโภคมีการเบิกใช้หรือยัง เรื่องนี้เราไม่ทราบเพราะไม่ได้เป็นคนรับผิดชอบ

ด้านนายเดชาภิวัฒน์ ณ สงขลา ผอ.สำนักงบประมาณกล่าวว่า ล่าสุดสำนักงบประมาณได้อนุมัติงบประมาณจำนวน 350 ล้านบาทให้กับสภาองค์กรของผู้บริโภคไปแล้ว เป็นไปตามกฎหมายจัดตั้งองค์ของเขา แต่จากนี้เขาต้องจัดทำแผนเป็นรายไตรมาสเสนอมาว่าได้นำเงินไปใช้อะไร เพราะมันเป็นเงินงบประมาณต้องใช้ให้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์

เมื่อถามว่ากรณีมีการร้องว่าสมาชิก 16 องค์กรของสภาไม่มีตัวตนไม่มีแหล่งที่มาจะเป็นเหตุให้ระงับการใช้จ่ายงบประมาณได้หรือไม่ นายเดชาภิวัฒน์กล่าวว่า ถ้าไม่มีตัวตน ไม่มีที่มา แล้วสภาไปจัดสรรให้ 16 รายนี้ถือว่าผิดกฎหมาย สภาต้องรับผิดชอบหากไปจ่ายให้องค์กรโนเนมสภาก็ต้องติดคุกไป แต่เราไปยับยั้งการใช้เงิน 350 ล้านบาทไม่ได้ แต่สามารถไปตรวจสอบการใช้เงินได้ว่าตรงตามวัตถุประสงค์หรือไม่ รวมถึงปี 2566 หากเขามาของบประมาณอีก เราก็ต้องถามว่าที่มีอยู่ 350 ล้านบาทปีที่แล้วเอาไปทำอะไร ใช้จ่ายยังไง ใครได้ประโยชน์ยังไง กิจกรรมที่ทำสอดคล้องกับวัตถุประสงค์หรือไม่ เพราะถ้าเขาเอาไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ เอาไปให้องค์กรโนเนมแล้วสำนักงบประมาณไม่ตรวจสอบ เราก็ผิดเหมือนกัน

เมื่อถามว่าหากตรวจสอบพบว่าสภาองค์กรของผู้บริโภคใช้เงินผิดประเภท ผิดวัตถุประสงค์จะเอาผิดได้อย่างไร นายเดชาภิวัฒน์กล่าวว่า เราก็ต้องทำรายงานส่งสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน เพื่อส่งต่อให้ป.ป.ช.ดำเนินการต่อไป มันมีกระบวนการตรวจสอบ ไม่ใช้ให้เงินไปใช้ฟรีๆ เพราะมันเป็นงบประมาณต้องมีการรายงานโดยละเอียดเพื่อไม่ให้เงินรั่วไหล เรื่องนี้สตง.จะเป็นคนตรวจสอบและต้องทำการตรวจสอบปิดบัญชีทุกปี
//////////////////////

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เต้ มงคลกิตติ์” เล่า “แตงโม” มาเข้าฝัน ก่อนวันส่งคลิปหลักฐานให้ดีเอสไอ เชื่ออีกไม่นาน ความจริงปรากฎ
สหรัฐฯลุยเลิกจ้าง-พักงานพนง.USAID
อิสราเอลปล่อยคลิปนาทีสังหารผู้นำฮิซบอลเลาะห์
หน่วยงานสหรัฐฯขัดขืนคำสั่งอีลอน มัสก์
บินรบอิตาลีประกบอเมริกันแอร์ไลนส์หลังขู่บึ้ม
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) DEEP Robotics เปิดตัวหุ่นยนต์ 4 ขา ใช้งานสมบุกสมบัน
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) จีนสร้างเมืองอัจฉริยะเซินเจิ้นด้วยเทคโนโลยี AI
“หมอวรงค์” ฉะ “ทักษิณ” ลงพื้นที่ 3 จว.ชายแดนใต้ ฐานะอะไร เสี่ยงแทรกแซงกิจการในประเทศ
"เต้ มงคลกิตติ์" เดินทางมาท่าเรือพิบูลย์สงคราม 1 เนื่องในวันครบรอบ 3 ปี เสียชีวิต "แตงโม"
CPF นำผลิตภัณฑ์ "โบโล่น่าพริกสด" เข้าร่วมโครงการชดเชยคาร์บอน หนุนเป้าหมาย Net-Zero

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น