ปศุสัตว์เลย เปิดศูนย์ผลิตอาหารสัตว์ชุมชน ภายใต้โครงการพัฒนาธุรกิจผลิตอาหารสัตว์ชุมชนแบบครบวงจร

อ.เมืองเลย จ.เลย สนง.ปศุสัตว์เปิดศูนย์ผลิตอาหารสัตว์ชุมชน (Feed Center) ภายใต้โครงการพัฒนาธุรกิจผลิตอาหารสัตว์ชุมชนแบบครบวงจร

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 09.30 น.วันที่ 12 ก.ค.2565 ณ ศูนย์ผลิตอาหารสัตว์ชุมชน (ศูนย์ กยท. เลย) บ้านผากลางดง ต.ธาตุ อ.เชียงคาน จ.เลย นายชัยธวัช เนียมศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย ประธานในพิธีเปิดศูนย์ผลิตอาหารสัตว์ชุมชน (Feed Center) ภายใต้โครงการพัฒนาธุรกิจผลิตอาหารสัตว์ชุมชนแบบครบวงจร มีหัวหน้าส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเกษตรกรร่วมในพิธีจำนวน นายอภินันท์ สุวรรณโค อำเภอเชียงคาน กล่าวต้อนรับ มีกิจกรรมชมการแสดงบูธนิทรรศการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตอาหารสัตว์) นิทรรศการนวัตกรรม ทางด้านการเกษตรและอาหารสัตว์ เช่น การผลิตพืช อาหารสัตว์ และเครื่องจักรกล/อุปกรณ์ต่าง ๆ สำหรับการผลิตอาหารสัตว์ จากภาคส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง การแสดงนิทรรศการ รูปแบบ แฟรนไชส์ ฟีด เซ็นเตอร์ (Franchise Feed Center) กับ ODIN โดย บริษัท โอดิน คอปอเรชั่น จำกัด มีกิจกรรมการลงนามบันทึกข้อตกลง ( MOU ) ของการซื้อขายอาหารสัตว์ ระหว่างกลุ่มผลิต อาหารสัตว์ กับบริษัท โอดิน คอปอเรชั่น จำกัด เยี่ยมชม นิทรรศการ การสาธิตผลิตอาหารสัตว์ของกลุ่มเกษตรกร

นายสุวัฒน์ มัตราช ปศุสัตว์จังหวัดเลย กล่าวรายงานว่า พิธีเปิด “ศูนย์ผลิตอาหารสัตว์ชุมชน (Feed Center) จังหวัดเลย”(ภายใต้โครงการพัฒนาธุรกิจผลิตอาหารสัตว์ชุมชนแบบครบวงจร จังหวัดเลย) วันนี้จังหวัดเลย ได้อนุมัติโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากภายใต้กลุ่มแผนงาน/โครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชนบนพื้นฐานของโอกาสและศักยภาพของท้องถิ่น : ระดับพื้นที่ ตามงบประมาณรายจ่ายงบกลาง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยา ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการ บาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกจำเป็นของรัฐบาล , โดยสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเลย ได้รับอนุมัติ “ให้ดำเนินโครงการพัฒนา ธุรกิจผลิตอาหารสัตว์ชุมชนแบบครบวงจร จังหวัดเลย” ในวงเงิน 8,090,000 บาท,

สำหรับดำเนินการฝึกอบรมเกษตรกร .20,700 บาท และเป็นงบลงทุนจัดซื้อครุภัณฑ์การเกษตรใช้ผลิต อาหารสัตว์ เป็นเงิน 8,069,300 บาท ได้แก่ เครื่องผสมอาหารสัตว์ครบส่วน พร้อมชุดลำเลียง และบรรจุ, เครื่องอัดก้อนพร้อมห่อพลาสติก รถตัก และเครื่องอัดเม็ดอาหารสัตว์พร้อมชุด, โดยมีวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อ ส่งเสริมพัฒนากลุ่มเกษตรกรทำธุรกิจผลิตอาหารสัตว์ ชุมชนจำหน่าย เชื่อมโยงเครือข่ายการผลิตและการตลาดในระบบการผลิตอาหารสัตว์ชุมชน (ระหว่างผู้ปลูกพืชอาหารสัตว์, ผู้ผลิตอาหารสัตว์ และผู้เลี้ยงสัตว์) และ เพื่อ พัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ ให้กับเกษตรกรและกลุ่มเกษตรกรในระบบการผลิตอาหารสัตว์ชุมชน บัดนี้ได้ ดำเนินการติดตั้งเครื่องจักรกลการเกษตร สำหรับผลิตอาหารสัตว์ ตามโครงการ ฯ เรียบร้อยแล้ว โดยกลุ่มเกษตรกรจะเป็นผู้ยืมใช้เครื่องจักรกลการเกษตร ซึ่งเป็นครุภัณฑ์ของทางราชการ มีสัญญายืมปีต่อปี และกลุ่มเกษตรกรได้เช่าสถานที่ดำเนินการ ซึ่งเป็นศูนย์รับซื้อปัจจัยการผลิต
และการตลาด ของการยางแห่งประเทศไทย จังหวัดเลย

สำนักงานจังหวัดเลย ที่ได้ให้การในการพิจารณาเห็นชอบโครงการ กยท. จังหวัดเลย ซึ่งเป็นเจ้าภาพสถานที่ร่วมดำเนินการ ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์เลย ธ.ก.ส.จังหวัดเลย/ธ.ก.ส.หน่วย/สาขาในพื้นที่ หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ และ ผู้นำท้องถิ่น/ท้องที่ ในเขตพื้นที่ อปท. 2 แห่ง (โดยเฉพาะนายก อบต.น้ำสวย อ.เมืองเลย และนายก ทต.ธาตุ อ.เชียงคาน) กลุ่มเกษตรกร กยท.บ้านสูบ ต.น้ำสวย และกลุ่ม เกษตรกรบ้านน้ำภู ต.เมือง อ.เมืองเลย ตลอดจนบุคลากรเจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วนที่ได้ให้การสนับสนุน เกษตรกรผู้ปลูกพืชอาหารสัตว์ ตัวแทนกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ ตัวแทนกลุ่มผู้ซื้ออาหารสัตว์ ตลอดจนภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัด จำนวน 200 คน

ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย เปิดเผยว่า เปิดศูนย์ผลิตอาหารสัตว์ชุมชน (Feed Center) ภายใต้โครงการพัฒนาธุรกิจผลิตอาหารสัตว์ชุมชนแบบครบวงจร เป็นงบกลางและเป็นต้นแบบและการนำล่องสร้างวิถีชีวิตแก่เกษตรกรที่ปลูกพืช และการเลี้ยงสัตว์ เชื่อมโยงกัน บริการทั้งด้านการเกษตรและอาหารสัตว์ เครื่องทำ ผสมอาหารอัดเม็ดงบประมาณกว่า 8 ล้านบาท เพื่อลดทุนการการผลิต การรวมกลุ่มเกษตรกรได้อย่างดี และบูรณาการส่วนราชการ ภาคเอกชน ภาคธุรกิจร่วมกัน เนื่องจากจังหวัดเลยมีศักยภาพสูงทาง ธรรมชาติ ดิน น้ำและอากาศที่ดีเหมาะแก่การเกษตรและการลี้ยงสัตว์มาก การเปิดศูนย์แห่งนี้ในเบื้องต้นมีพื้นที่ครอบคลุมที่มีมาตรการคุณภาพเป็นจุดคุ้มทุน ประกอบด้วย อ.เมืองเลย นาด้วง เชียงคานและ อ.ปากชม 3,000 ไร่ ในรัศมี 20 กม.เป็นการเชื่อมโยงการ ทั้งในระดับต้นน้ำ คือเกษตรกรที่รวมกลุ่ม กลางน้ำคือระบบการผลิต และปลายน้ำคือเอาไปใช้ในการเกษตรและระบบอุตสาหกรรม ทั้ง 3 ส่วนผสมผสานกันอย่างดี.

ภาพ/ข่าว บุญชู ศรีไตรภพ ผู้สื่อข่าวภูมิภาค จ.เลย

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย
ทบ.ขานรับนโยบายปราบยาเสพติด เพิ่มทหาร 6 กองกำลัง วัดเคพีไอ 10 กพ.-10 มิ.ย.
ซีพีเอฟ ซีพี-เมจิ ร่วมหนุนสระบุรีแซนด์บ๊อกซ์ "รวมพลังสร้างเมืองคาร์บอนต่ำแห่งแรกของประเทศไทย”
สละเรือแล้ว! "ผบ.อิสราเอล" ยื่น "ลาออก" เซ่นเหตุ 7 ต.ค. ไล่แทงกันในเทลอาวีฟเจ็บ 5
สุดปัง “นายกฯ” สวมกระโปรงผ้าปาเต๊ะ ร่วมประชุม WEF

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น