เตือนอย่าซื้อ “ยาโมลนูพิราเวียร์” ผ่านช่องทางออนไลน์ อาจได้รับยาปลอม

อย. เตือนประชาชนอย่าซื้อ "ยาโมลนูพิราเวียร์" ผ่านช่องทางออนไลน์ ระวังได้รับยาปลอม ไม่ปลอดภัยต่อตัวผู้ป่วย พร้อมย้ำการใช้ยานี้อย่างไม่เหมาะสม อาจทำให้เกิดเชื้อดื้อยาได้

นายแพทย์ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เผยว่า ตามที่มีข่าวพบการขายยาโมลนูพิราเวียร์ทางสื่อออนไลน์สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้เร่งดำเนินการตรวจสอบช่องทางที่มีการขายยาออนไลน์ทุกช่องทางได้ดำเนินการสั่งระงับโฆษณา และดำเนินคดีโฆษณาขายยาผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย และแพลตฟอร์มตลาดร้านค้าออนไลน์ (E-marketplace) เพื่อไม่ให้เป็นช่องทางที่ใช้ส่งต่อยาผิดกฎหมายให้ผู้บริโภค และจะดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดกับผู้ที่ลักลอบขายในทุกช่องทาง รวมไปถึง อย. ยังได้ร่วมกับกรมควบคุมโรคในการเฝ้าระวังการนำเข้ายาตามด่านต่างๆ เพื่อสกัดไม่ให้มีการนำเข้ายาผิดกฎหมายหรือยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับทาง อย. เข้ามาในประเทศอีกด้วย

ข่าวที่น่าสนใจ

นอกจากนี้ อย. ภายใต้การนำทีมของนายแพทย์สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ได้ลงพื้นที่ร่วมกับกรมสนับสนุนบริการสุขภาพในวันที่ 13 ก.ค. 2565 เพื่อตรวจสอบสถานพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ย่านคลองหลวง ที่ได้รับการสนับสนุนยาโมลนูพิราเวียร์จากทางภาครัฐ ว่ามีการจ่ายยาตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์อย่างถูกต้องหรือไม่ ซึ่งสถานพยาบาลได้มีการโฆษณาแพ็กเกจรักษาโรคโควิด-19 หลายรูปแบบให้ผู้ป่วยเลือกรับบริการ

ขณะที่บางแพ็กเกจ มีการโฆษณาด้วยข้อความว่าจะมีการจ่ายยาฟาวิพิราเวียร์หรือยาโมลนูพิราเวียร์ให้ผู้ป่วยด้วย แต่ยาดังกล่าวเป็นยาควบคุมพิเศษที่ต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์ ซึ่งสถานพยาบาลไม่สามารถโฆษณาได้นอกจากได้รับอนุญาต แต่จากการตรวจสอบไม่มีการขออนุญาตแต่อย่างใด กรณีนี้ทางกรมสนับสนุนบริการสุขภาพได้มีการดำเนินการตามกฎหมายต่อไปแล้ว

ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขมีการสำรองยาโมลนูพิราเวียร์ในจำนวนที่เพียงพอสำหรับการรักษาโรคติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทย แต่ที่สำคัญ ขอให้รับยาจากแหล่งที่ถูกต้อง คือ โรงพยาบาลของรัฐและเอกชนที่ได้รับจัดสรรยาจากภาครัฐ ไม่ควรซื้อยาผ่านช่องทางสื่อออนไลน์ โดยยาโมลนูพิราเวียร์เป็นยาที่ต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์ ซึ่งแพทย์จะมีการประเมินอาการและสั่งจ่ายตามข้อบ่งใช้ตามแนวทางการรักษาโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 ของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

นอกจากนี้ ยาโมลนูพิราเวียร์ยังมีข้อควรระวังในการใช้ยา โดยเฉพาะการห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ และยังต้องมีการติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากยาอย่างใกล้ชิดด้วย หากผู้ป่วยสั่งซื้อยาโมลนูพิราเวียร์ทางออนไลน์มากินเองอาจได้รับยาปลอม ยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน ซึ่งไม่ปลอดภัย ต่อตัวผู้ป่วยเอง และการใช้ยานี้อย่างไม่เหมาะสมอาจทำให้เกิดเชื้อดื้อยา ไม่สามารถใช้ยาโมลนูพิราเวียร์รักษาโรคติดเชื้อโควิดได้อีกต่อไป

อย่างไรก็ตาม หากผู้บริโภคพบเห็นการขายยาโมลนูพิราเวียร์ทางช่องทางออนไลน์ใดๆ ขอให้แจ้งได้ทางสายด่วน อย. 1556 อีเมล [email protected] Line @FDAThai Facebook : FDAThai หรือที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น