อยุติธรรม ไม่โปรงใส่ หรือ “นิพนธ์” ตกเป็นเหยื่อ ขบวนการสอบทุจริต

อดีตอาจารย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์ข้อความชวนสังคมจับตา กรณี "นิพนธ์ บุญญามณี" รมช.มหาดไทย หลังเกิดความย้อนแย้ง เมื่อขบวนการตรวจสอบทุจริตไทยมีปัญหา

ดร.ประยูร อัครบวร อดีตอาจารย์คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เขียนบทความเรื่อง “กรณีศึกษาความย้อนแย้งหรือขบวนการยุติธรรมที่ไร้หลักยึด” โดยเปรียบเทียบกับการตรวจสอบทุจริตของ นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ใจความระบุว่า ..

กรณีศึกษาความย้อนแย้งหรือขบวนการยุติธรรมที่ไร้หลักยึด… เรามักได้ยินคำว่า “ความยุติธรรมที่มาช้า ก็เกิดอยุติธรรมได้” จากกรณีนายนิพนธ์ บุญญามณี อดีตนายก อบจ.สงขลา ได้ตรวจสอบพบว่าบริษัทพลวิศว์ เทคพลัสจำกัด ทำเอกสารที่เป็นเท็จ จนถึงมือ ปปช. ก็ได้นำมาฟ้องในคดีปลอมแปลงเอกสาร การฮั้วการประมูล จนกรรมการผู้ถือหุ้นบริษัทร่วมโกงต่างหลบหนี แต่ในขณะเดียวกัน ปปช.ชี้มูลว่า นายนิพนธ์ ปฏิบัติมิชอบ ไม่จ่ายเงินค่างวดตามสัญญาต่อบริษัทคู่กรณี และจากการตรวจสอบข้อเท็จจริงส่งให้อัยการ ๆพิจารณาแล้วสั่งไม่ฟ้องนายนิพนธ์ แต่ ปปช.กลับมีมติฟ้อง นายนิพนธ์ด้วย ปปช.เอง จึงเกิดคำถามว่าอัยการบกพร่องในการตรวจสอบหลักฐานหรือ ปปช.ต้องการพิสูจน์ความเชื่อของตัวเอง

ซึ่งในข้อเท็จจริง ปปช.ฟ้องบริษัทพลวิศว์ เทคพลัสจำกัดว่ามีความผิด ทุจริต ปลอมแปลงเอกสาร ซึ่งควรสอดคล้องกับการสั่งการของนายนิพธ์ที่ถือว่าสัญญานี้เป็นโมฆะตั้งแต่ต้น ทั้งการไม่จ่ายเงิน นายนิพนธ์ ได้ปรึกษาผู้ว่าราชการจังหวัด ที่เห็นว่าไม่ควรจ่ายเงินให้บริษัทตามหนังสือจากกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 17 ธค. 2552 ที่ว่า” เมื่อคดีสู่ศาล ให้ระงับการจ่ายเงินไว้ก่อน” แต่ ปปช.กลับมาฟ้องนายนิพนธ์ว่าทำผิดกฎหมาย จึงเป็นความย้อนแย้งที่สะท้อนให้เห็นว่า ในขบวนการตรวจสอบทุจริตของไทยมีปัญหาและต้องหาบรรทัดฐานให้ผู้ปฏิบัติงาน โดย ปปช.ควรร่วมตอบคำถามด้วยว่า

 

ข่าวที่น่าสนใจ

1.เรื่องรถยนต์ราคาแพงกว่า อบจ.อื่นอย่าง อบจ.ตรังซึ่งมีนายกิจ หลีกภัย เป็นนายก อบจ.ซื้อได้ในราคาที่ถูกกว่า หน่วยงานไหนควรจะตรวจสอบ นายนิพนธ์ไปหาข้อมูลมา ควรได้รับการชมเชยว่าทำงานรอบครอบหรือเจตนากลั่นแกล้ง

2.ในทางปฏิบัติการไม่เซ็นสั่งจ่ายเงิน รัฐยังไม่เกิดความเสียหายใช่ไหม

3.ถ้าจ่ายเงินนี้ไป ต่อมาบริษัทคู่สัญญาทำผิดกฎหมายตั้งแต่ต้น สัญญานี้เป็น “โมฆียะ” ซึ่งเป็นสัญญาที่บอกล้างได้ แต่เมื่อบริษัทรับเงินไปแล้ว รัฐเสียหายใช่ไหม ใครจะรับผิดชอบว่ารัฐได้รับเงินคืนเท่าที่เสียไป โดยเฉพาะนายนิพนธ์ถ้ารู้ทั้งรู้ว่าบริษัทนี้ปลอมแปลงเอกสารแล้วยังจ่ายเงิน นายนิพนธ์จะถูกฟ้องว่าร่วมโกงได้ใช่ไหม จากสถานการณ์ที่นายนิพนธ์อยู่ระหว่างเขาควาย สุจริตชนคิดทบทวนดูว่า ถ้าท่านเป็นนายนิพนธ์จะตัดสินใจอย่างไร

4.ขบวนการย้อนแย้งนี้ ถึงเวลาต้องทบทวนได้แล้วหรือยัง เพราะผู้ปฏิบัติต้องการหลักยึดที่เป็นแนวทางในการปฏิบัติ เพราะการทำงานโปร่งใสโดยไร้แนวทางและกฎเกณฑ์นั้น เป็นไปไมได้เลย และจะเกิดขบวนการกินตามน้ำที่ดูแต่เอกสาร โดยไม่ดูข้อเท็จจริงเพราะกลัวคำตัดสินหรือการร้องเรียน ปปช.

 

จากประเด็นข้างต้น ผู้เขียนอยากให้ผู้รู้ ผู้อ่านได้ร่วมกันคิด ว่าสังคมไทยเราจะเดินไปข้างหน้าได้อย่างไร ภายใต้กฏกติกาที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ ไม่อยู่ในอำนาจสลัวๆเป็นเงาบิดเบือนข้อเท็จจริงแบบศรีธนญชัยและเกิดอำนาจที่มองไม่เห็นหากินกับกระบวนการยุติธรรมไทยไม่สิ้นสุด
…….
ดร ประยูร อัครบวร
13 กค.2565

บทความนี้ไม่เกี่ยวกับการที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะอภิปราย แต่ผู้เขียนในฐานะคนไทยคนหนึ่งที่เห็นว่า “กรณีนายนิพนธ์นี้เป็นกรณีที่ต้องนำมาศึกษาอย่างยิ่ง และสังคมต้องจับตาดู”

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เมียไรเดอร์ เปิดใจเสียงสั่น กลัวไม่ได้รับความเป็นธรรม หลังรู้ข่าว หนุ่มอินเดียซิ่งเก๋งได้ประกันตัว ลั่น ‘คนมีเงินมันยิ่งใหญ่’
นายกฯ เปิดงาน Thailand Reception เชิญชวนสัมผัสเสน่ห์อาหารไทย ชูศักยภาพเศรษฐกิจ
จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น