“นิด้าโพล” ชี้คนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจประเด็นหาร 100 หรือหาร 500

นิด้าโพล สำรวจความเห็น เรื่อง “ประชาชนเข้าใจประเด็นหาร 100 หรือหาร 500 หรือไม่” พบร้อยละ 62.35 ระบุว่า ไม่เข้าใจเลย มีเพียงร้อยละ 4.80 ระบุว่า เข้าใจมาก

วันที่ 17 กรกฎาคม ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ประชาชนเข้าใจประเด็นหาร 100 หรือหาร 500 หรือไม่” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 11-13 กรกฎาคม 2565 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,312 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความเข้าใจต่อร่างกฎหมายการเลือกตั้ง ส.ส. ในประเด็นสูตรคำนวณ ส.ส. บัญชีรายชื่อ หาร 100 หรือหาร 500 การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความ น่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

ข่าวที่น่าสนใจ

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความเข้าใจของประชาชนต่อร่างกฎหมายการเลือกตั้ง ส.ส. ในประเด็นสูตรคำนวณ ส.ส. บัญชีรายชื่อหาร 100 หรือหาร 500 พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 62.35 ระบุว่า ไม่เข้าใจเลย รองลงมา ร้อยละ 21.11 ระบุว่า ไม่ค่อยเข้าใจ ร้อยละ 11.74 ระบุว่า ค่อนข้างเข้าใจ และร้อยละ 4.80 ระบุว่า เข้าใจมาก เมื่อถามประชาชนที่เข้าใจมากและค่อนข้างเข้าใจ (จำนวน 217 หน่วยตัวอย่าง) เกี่ยวกับความคิดเห็นต่อมติที่ ประชุมรัฐสภาในการใช้สูตรคำนวณ ส.ส. บัญชีรายชื่อ หาร 500 พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 36.41 ระบุว่า ไม่เห็น ด้วยเลย รองลงมา ร้อยละ 30.41 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย และร้อยละ 16.59 ระบุว่า เห็นด้วยมาก และไม่ค่อย เห็นด้วย ในสัดส่วนที่เท่ากัน

ด้านเหตุผลสำคัญที่ทำให้ที่ประชุมรัฐสภาลงมติ ในการใช้สูตรคำนวณ ส.ส. บัญชีรายชื่อ หาร 500 พบว่า ตัวอย่างที่เข้าใจมากและค่อนข้างเข้าใจ (จำนวน 217 หน่วยตัวอย่าง) ร้อยละ 28.11 ระบุว่า ต้องการให้ทุก คะแนนที่ประชาชนไปใช้สิทธิมีความหมาย รองลงมา ร้อยละ 23.96 ระบุว่า พรรคร่วมรัฐบาลปัจจุบันต้องการ คงอยู่ต่อไปหลังการเลือกตั้งครั้งหน้า ร้อยละ 20.28 ระบุว่า ต้องการให้โอกาสพรรคเล็กได้มี ส.ส.ในสภา ร้อยละ 17.97 ระบุว่า ต้องการป้องกันไม่ให้มีพรรคการเมืองใดชนะการเลือกตั้งแบบแลนด์สไลด์ และร้อยละ 9.68 ระบุ ว่าเป็นการแลกเปลี่ยนกับการโหวตสนับสนุนนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีในการอภิปายไม่ไว้วางใจที่กำลังจะ เกิดขึ้น ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการมี ส.ส. แบบแบ่งเขต และ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 58.39 ระบุว่า ควรมีทั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขต และ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ รองลงมา ร้อยละ 33.38 ระบุว่า ควรมีแต่ ส.ส. แบบแบ่งเขต และร้อยละ 8.23 ระบุว่า ควรมีแต่ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“คะน้า ริญญารัตน์” เปิดหน้าแฉแฟนเก่า ไฮโซเก๊โลก 2 ใบ อ้างสนิทกับเบื้องสูง-มีรถนำขบวน ปลอมแชทคุยนายกฯ
“หมอวรงค์” ยก 5 ข้อบังคับกม.วิชาชีพ เตือนแพทยสภา ระวังโดน ม.157 ย้ำสังคมจับตาผลสอบชั้น 14
กระทรวงอุตสาหกรรม นัดแถลงข้อเท็จจริง มาตรฐานเหล็กเส้น "ตึกสตง." ถล่ม 10 เม.ย.นี้
"พลภูมิ" ห่วงปัญหาความรุนแรงในสังคมไทย เสนอมาตรการ 4 ด้านให้ทุกหน่วยงานร่วมขับเคลื่อนอย่างเร่งด่วน
เพจดังเตือน 2 ภูมิภาค จับตา! “ดินถล่ม” เอฟเฟกต์ลูกใหญ่จากแผ่นดินไหว
กระจ่างไหม รมต.สหรัฐฯเก็บภาษีเกาะร้างเพื่อปิดช่องโหว่
สหรัฐฯเสริม THAAD ในอิสราเอล-โยกแพทริออตจากเกาหลีใต้
รัสเซียโวยึดหมู่บ้านในแคว้นซูมี
ทีมสุนัขกู้ภัย K9 แถลงยุติภารกิจช่วยผู้ติดค้าง "ตึกสตง." ถล่ม เตรียมกลับที่ตั้ง ส่งมอบการค้นหาให้จนท. ต่อไป

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น