“โควิด BA.4” กทม.-ปริมณฑล พบติดเชื้อสูงถึง 54.3% ใน 1 เดือน

โควิด BA.4 โควิด โอมิครอน โควิด โอไมครอน โควิดระลอกใหม่

"โควิด BA.4" ศูนย์จีโนมฯ เผยข้อมูลการถอดรหัสพันธุกรรม กรุงเทพและปริมณฑลในช่วง 30 วันที่ผ่านมา พบโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.4 สูงถึงร้อยละ 54.3

“โควิด BA.4” โควิด โอมิครอน โควิด โอไมครอน โควิด Omicron โควิดระลอกใหม่ ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ.รามาธิบดี เผยข้อมูลการถอดรหัสพันธุกรรม ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา จำนวน 100 ตัวอย่าง พบการติดเชื้อโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.4 สูงถึงร้อยละ 54.3 ติดตามเรื่องราวทั้งหมดนี้ที่ TOP News

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

“โควิด BA.4” โดยล่าสุดวันนี้ (18 กรกฎาคม 2565) เพจเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics ได้ระบุข้อความว่า ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ. รามาธิบดี ดำเนินการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนม (Whole SARS-CoV-2 genome sequencing) และจีโนไทป์ (MassARRAY Genotyping) มาตลอด 2 ปี เพื่อตรวจสอบสายพันธุ์และการกลายพันธุ์ของไวรัสโคโรนา 2019 อันมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อประเมินประสิทธิภาพรวมทั้งการปรับเปลี่ยน ‘ยาต้านไวรัส’ และ ‘แอนติบอดีสังเคราะห์ (monoclonal antibody)’ เพื่อการรักษาอย่างจำเพาะ (precision medicine) ให้สอดคล้องกับโอไมครอนสายพันธุ์ย่อยที่ผู้ป่วยกำลังติดเชื้อ

หมายเหตุ การกลายพันธุ์ (mutation) และการแพร่ระบาด (transmissibility rate) อย่างรวดเร็วของไวรัสโคโรนา 2019 ไม่สัมพันธ์โดยตรงกับความรุนแรงของโรค (severity)

 

 

โควิด BA.4 โควิด โอมิครอน โควิด โอไมครอน โควิดระลอกใหม่

 

 

จากการถอดรหัสพันธุกรรมสิ่งส่งตรวจจากโรงพยาบาลต่าง ๆ ในเขตกรุงเทพ และปริมณฑลในช่วง 30 วันที่ผ่านมา จำนวน 100 ตัวอย่าง พบโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย

  • BA.1 ร้อยละ 2.2
  • BA.2* ร้อยละ 13
  • BA.4* ร้อยละ 54.3
  • BA.5* ร้อยละ 26.1
  • BA.2.12.1 ร้อยละ 4.3

ยังไม่พบโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.5.3.1 และ BA.2.75

โอไมครอน BA.4 และ BA.5 พบครั้งแรกในประเทศแอฟริกาใต้ในเดือนมกราคม 2565 จากนั้นได้มีแพร่ระบาดไปทั่วโลก

 

 

 

สัดส่วนการแพร่ระบาดของ BA.4 และ BA.5 ในแต่ละประเทศแตกต่างกัน

  • ประเทศแอฟริกาใต้ พบ BA.4>BA.5 ในสัดส่วน 4 ต่อ 1
  • ประเทศโปรตุเกส พบ BA.5>BA.4 ในสัดส่วน 4 ต่อ 1
  • ประเทศสหราชอาณาจักร พบ BA.4>BA.5 ในสัดส่วน 2.3 ต่อ 1
  • ประเทศสหรัฐอเมริกา พบ BA.4>BA.5 ในสัดส่วน 1 ต่อ 1
  • ประเทศไทย พบ BA.4>BA.5 ในสัดส่วน 4.4 ต่อ 1

 

 

โควิด BA.4 โควิด โอมิครอน โควิด โอไมครอน โควิดระลอกใหม่

 

 

จะสังเกตได้ว่าแต่ละประเทศยอดกราฟหรือพีกของจำนวนผู้ติดเชื้อ BA.4/BA.5 และ BA.2.12.1 (คำนวณจากการถอดรหัสพันธุกรรม) จะต่ำกว่าพีกผู้ติดเชื้อ BA.1/BA.2 ต่างจากประเทศไทย ที่จำนวนผู้ติดเชื้อ BA.4 ขณะนี้มีพีกสูงกว่า BA.1 และ BA.2 ที่ระบาดผ่านมาในอดีต BA.4 ที่ระบาดในประเทศไทยในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมามีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) ถึง 157% เปรียบเทียบกับสายพันธุ์ที่ระบาดอยู่ในปัจจุบัน (BA.5)

  • BA.4 กลายพันธุ์ต่างจาก BA.5 จำนวน 7 ตำแหน่ง
  • BA.5 กลายพันธุ์ต่างจาก BA.4 จำนวน 1 ตำแหน่ง
  • บริเวณหนาม BA.4 กลายพันธุ์ต่างจาก BA.5 จำนวน 1 ตำแหน่ง

ยังไม่มีข้อมูลทางคลินิของ BA.4 และ BA.5 จากทั่วโลกมากพอที่จะสรุปว่าโอไมครอนสองสายพันธุ์ย่อยมีความรุนแรงในการก่อโรค หรือมี ‘severity’ (เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล หรือ เสียชีวิต) ต่างกันหรือไม่

 

 

โควิด BA.4 โควิด โอมิครอน โควิด โอไมครอน โควิดระลอกใหม่

 

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : Center for Medical Genomics 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น