“นายกฯตู่” แจงยิบประเด็นซักฟอก เชื่อโลกรู้จุดแข็งประเทศไทย

นายกฯโพสต์เฟซบุ๊กแจงประเด็นที่ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ ชี้จุดแข็งประเทศไทยสร้างความเชื่อมั่นประชาชนและชาวโลก ขณะสั่งทุกหน่วยงานเตรียมรับมือน้ำท่วม สั่งทหารออกช่วยเหลือ

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กข้อความว่า พี่น้องประชาชนชาวไทยที่รักทุกท่านครับ ช่วงฤดูฝนนี้ ผมได้กำชับให้ทุกหน่วยงานเตรียมการล่วงหน้า ติดตามสถานการณ์น้ำท่วม-น้ำป่าไหลหลาก และพร้อมช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในทันที แม้เรื่องฟ้าฝนเราจะควบคุมไม่ได้ แต่ความช่วยเหลือต้องไปถึงหน้าบ้านให้เร็วที่สุด ในขณะเดียวกันก็ต้องหาวิธีเติมน้ำเข้าเขื่อนไว้ใช้หน้าแล้งช่วงปลายปีต่อไปด้วย และในฐานะ รมว.กห. ผมได้สั่งการให้หน่วยทหารทั่วประเทศ รวมทั้งในกรุงเทพฯ และปริมณฑล นำกำลังพลและยุทโธปกรณ์ต่างๆ เช่น เรือท้องแบน รถบรรทุกยกสูง ออกช่วยเหลือพี่น้องประชาชนอย่างต่อเนื่อง โดยไม่ต้องรอการร้องขอ สำหรับอีกภารกิจสำคัญของผมในช่วงนี้ คือ การรับฟังการ

ข่าวที่น่าสนใจ

ตรวจสอบของฝ่ายนิติบัญญัติในรัฐสภา โดยเมื่อวานนี้ (22 ก.ค.65) ผมได้ชี้แจงในหลายประเด็น สรุปสาระได้ดังนี้
1. หนี้สาธารณะและการลงทุนเพื่ออนาคต (ช่วงปี 57-65)
(1) มีการกู้เงินอย่างมาก และเป็นช่วงที่มีการลงทุนมากที่สุดด้วย มูลค่า 2.66 ล้านล้านบาท ใน 179 โครงการ ซึ่งแล้วเสร็จและเห็นผลเป็นรูปธรรมแล้ว 75 โครงการ อยู่ระหว่างดำเนินการอีก 104 โครงการ
(2) มีการชำระหนี้สาธารณะไปแล้ว กว่า 2.6 ล้านล้านบาท (รวมต้นเงินกู้และดอกเบี้ย) ถือเป็นยอดชำระหนี้สูงสุด เมื่อเทียบกับรัฐบาลในอดีต และไม่เคยผิดนัดชำระหนี้แม้แต่ครั้งเดียว
2. ประสิทธิภาพในการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจท่ามกลาง “วิกฤติซ้อนวิกฤต” ของโลก
(1) ปัจจุบัน GDP ไทยมีมูลค่าขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของอาเซียน และ GDP per Capita อยู่อันดับที่ 4
(2) ด้วยการบริหารเศรษฐกิจอย่างสมดุล ส่งผลดีให้ GDP ฟื้นตัว โดย IMF คาดการณ์ว่าในปี 2564 เติบโต 1.6% และในปี 2565 และ 2566 ก็มีแนวโน้มขยายตัวได้สูงที่ 3.3% และ 4.3% ตามลำดับ สอดคล้องกับสภาพัฒน์ฯ ที่คาดว่าจะขยายตัว 2.5-3.5%
3. การบริหารเงินกู้ 1.5 ล้านล้านบาท เพื่อกู้วิกฤตโควิด
(1) 183,000 ล้านบาท สำหรับการจัดหาวัคซีน วิจัยวัคซีน และการรักษาโรค
(2) 854,000 ล้านบาท สำหรับช่วยเหลือเยียวยาด้านเศรษฐกิจให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย แรงงานประกันสังคม ผู้ประกอบการ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ เกษตรกร กลุ่มเปราะบาง ผู้สูงอายุ รวมกว่า 45 ล้านคน เช่น โครงการเราชนะ โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โครงการ ม.33 เรารักกัน และช่วยเหลือค่าน้ำ-ค่าไฟให้ประชาชน เป็นต้น
(3) 280,000 ล้านบาท สำหรับการฟื้นฟูเศรษฐกิจและการจ้างงาน เช่น โครงการคนละครึ่ง โครงการรักษาระดับการจ้างงาน SMEs และโครงการจ้างงานนักเรียน/นักศึกษา เป็นต้น
4. ไทยยังเป็นที่สนใจของนักลงทุน ในการย้ายฐานการผลิตเข้ามาผลิตในประเทศไทย
(1) ยอดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ณ ไตรมาส 1/2565 มีมูลค่ารวม 288,019 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 2.8% จากปี 2564 และขยายตัว 1.6% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า
(2) ตัวเลขขอรับการส่งเสริมการลงทุน BOI ดีขึ้น ทั้งจำนวนโครงการและมูลค่า โดย 2 ไตรมาสแรกของปี 2565 มีมูลค่าคำขอรับการส่งเสริมฯ แล้ว 219,708 ล้านบาท จาก 784 โครงการ กลับมา สูงกว่าช่วงก่อนโควิดในปี 2562 ที่มีมูลค่า 188,861 ล้านบาท จาก 690 โครงการ
(3) สถิติการปิดกิจการในเดือน เม.ย.65 มีทุนจดทะเบียนมากที่สุด all-time high ที่ 171,106 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นจากห้วงเดียวกันของปีที่แล้ว 726.7% สอดคล้องกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในภาพรวม และเดือน พ.ค.65 มีการตั้งกิจการใหม่ 5,917 ราย เพิ่มขึ้น 6.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 64
(4) ความร่วมมือกับชาติพันธมิตร ด้านพลังงานสะอาดและอุตสาหกรรมใหม่ โดยเฉพาะซาอุดีอาระเบีย สิงคโปร์ และญี่ปุ่น มีความคืบหน้าอย่างมาก โดยคาดว่าจะสร้างเม็ดเงินลงทุนมากกว่า 2 ล้านล้านบาท เพิ่ม GDP ไทย 1.7 ล้านล้านบาท

4. ราคาน้ำมัน (ราคาเฉลี่ย ณ 18 ก.ค.65) : ดีเซล 34.94 บาท/ลิตร และเบนซิน 38.75 บาท/ลิตร ถือว่าไทยราคาถูก เป็นอันดับที่ 8 จาก 10 ประเทศ โดยมาเลเซียและบรูไนราคาถูกกว่าไทย เพราะผลิตน้ำมันได้เองภายในประเทศ
5. เงินเฟ้อ (ณ มิ.ย.65) : ไทยปรับขึ้นเป็น 7.66 % ดีกว่าหลายประเทศ เช่น สหรัฐฯ อังกฤษ ยุโรป เงินเฟ้อสูง 8-9% อินเดีย 15.9% ทั้งนี้จากการสำรวจของแม็คคินซีย์ โกลบอล เซอร์เวย์ (McKinsey Global Survey) อัตราเงินเฟ้อของไทย เป็นอันดับที่ 103 จาก 185 ประเทศทั่วโลก หรือ “เงินเฟ้อระดับปานกลาง” เท่านั้น โดยนักวิเคราะห์ประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อของไทยในปี 2566 มีแนวโน้มที่จะปรับลดลงอีกด้วย
จากข้อมูลเหล่านี้ ย่อมเป็นหลักฐาน ที่ผมเชื่อว่าจะสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับพี่น้องประชาชนชาวไทย และชาวโลกได้เป็นอย่างดี ถึง “จุดแข็ง” ของต่างๆ ของไทย ได้แก่ (1) เสถียรภาพทางการคลังแข็งแกร่ง ซึ่งสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระดับนานาชาติ (International Credit Rating Agency) ที่โลกให้การยอมรับ เช่น Fitch และ S&P ยังไม่เคยปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือไทยลงเลย แม้ในช่วงวิกฤตโควิด (2) หนี้ต่อ GDP อยู่ในระดับต่ำ และหนี้เงินตราต่างประเทศก็น้อย ถึงน้อยมาก (3) ระบบธนาคารมีความแข็งแรง มีสภาพคล่องในประเทศที่ดี (4) เงินสำรองระหว่างประเทศจัดอยู่อันดับที่ 12 ของโลก ถือว่าอยู่ในระดับสูง (5) เราสามารถผลิตอาหารได้อย่างเพียงพอ ค่าครองชีพต่ำ ค่าที่ดิน/ที่อยู่อาศัยที่ถูกที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

แม่แจ้ง กู้ภัยฯ ตำรวจ ช่วยเหลือลูกสาวถูกมอมยา โอละแม่ ลูกเมาคุกกี้มนุษย์อวกาศผสมกัญชา
รวบผู้ต้องหา แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ตามหมายจับ ปลอมเป็นคนอื่น จับได้กลางถนน
สหรัฐร่างแผนฉุกเฉินปกป้องไต้หวันหากจีนโจมตี
กองปราบฯส่งจนท.เข้าสอบ ‘บอสดิไอคอน’ปมคลิปเสียงฉาว จ่อแจ้งข้อหา‘ฟิล์ม รัฐภูมิ’
ศาลอาญาฯ รับฝากขัง เมีย-ลูก "หมอบุญ" นำตัวเข้าเรือนจำ
กกพ.จับมือ 4 หน่วยงานกระชับพื้นที่ ลงนามบันทึกความเข้าใจ ผู้ป่วยติดเตียงต้องไม่ถูกตัดไฟ
"ทนายสายหยุด" ประกาศยุติบทบาทการเป็นทนายคดี “ทนายตั้ม” คงสัมพันธ์แค่เพื่อน
ท็อปนิวส์ร่วมยินดี "ยุพา" รับตำแหน่งปลัดสำนักนายกฯ พร้อมนำความรู้ความสามารถ ขับเคลื่อนงานอย่างเต็มกำลัง
ระทึก! ไฟไหม้ ‘เครื่องบินรัสเซีย’ กลางรันเวย์ในตุรกี
“บิ๊กเต่า” ลั่น เตรียม “กุญแจมือ” เป็นของขวัญเหล่าอินฟลูฯ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น