ข้าวหอมมะลิสุรินทร์ 1 ใน 18 แห่งสินค้าดีGI อีสานสู่สากล

สำนักงานพาณิชย์จังหวัดสุรินทร์ จับมือกับสำนักงานพาณิชย์กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อเปิดตลาดการค้าสู่การเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง

นางพิรุณวรรณน์ จงใจภักดิ์ พานิชย์จังหวัดสุรินทร์ เปิดเผยว่า สำนักงานพาณิชย์จังหวัดสุรินทร์ จับมือกับสำนักงานพาณิชย์จังหวัดสกลนครพร้อมผลักดันข้าวหอมมะลิGI จ.สุรินทร์เป็น 1 ใน 18 แห่งสินค้าดีGIอีสานสู่สากล มั่นใจในคุณภาพข้าวหอมมะลิสุรินทร์ซึ่งได้รับการรับรองข้าวสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาตร์(GI) เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2551 สืบเนื่องจากประเทศไทยมีการปลูกข้าวมาอย่างยาวนานจากร่องรอยข้าวเปลือกหรือแกลบที่ตั้งอยู่ในซากโบราณวัตถุสันนิษฐานได้ว่า มีการปลูกมาแล้วมากกว่า 5,500 ปี แต่การเพาะปลูกข้าวหอมมะลิในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เริ่มปลูกหลังจากทางราชการมีการปรับปรุงพันธ์ข้าวหอมมะลิและรับรองพันธุ์ ในปี 2502 ในชื่อพันธ์”ขาวดอกมะลิ”และมีการปรับปรุงพันธุ์ ดังกล่าวทำให้อายุข้าวเบากว่าประมาณ 10 วัน มีการรับรองในชื่อพันธุ์ข้าวหอมมะลิ “กข15”

จังหวัดสุรินทร์ในอดีตประชากรประกอบด้วยชนชาติต่างๆเช่น ชาวไทย-กูยไทย-ลาวและไทย-เขมรซึ่งปลูกข้าวมาแต่โบราณมีวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับข้าวมากมายรวมถึงการเลี้ยงช้างเพื่อช่วยงานเกษตรกรรมและปัจจุบันเป็นแหล่งที่มีชื่อเสียงด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์ขาวดอกมะลิ105และเมล็ดพันธุ์ กข.15ที่บริสุทธิ ตรงตามพันธุ์และปริมาณมากที่สุดในประเทศไทย รวมทั้งได้รับการส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์อย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะข้าวหอมมะลิอินทรีย์ เกษตรกรมีการปลูกข้าวหอมะลิเป็นพืชหลักจนมีชื่อเสียงจนชาวสุรินทร์ มีคำกล่าวว่า”ข้าวหอมมะลิสุรินทร์ หอม ยาว ขาว นุ่ม”

ลักษณะประจำพันธุ์”ข้าวหอมมะลิสุรินทร์”(surin Hom Mali Rice)หมายถึงข้าวเปลือก ข้าวกล้อง และข้าวขาวที่แปรรูปมาจากข้าวพันธุ์หอมไวต่อแสง คือพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์ กข 15 ที่ ผลิตในจังหวัดสุรินทร์ ในฤดูนาปี และมีกลิ่นหอมธรรมชาติ ความสัมพันธ์กับแหล่งภูมิศาตร์ เนื่องจากจังหวัดสุรินทร์มีป่าอุดมสมบูรณ์มีแหล่งน้ำธรรมชาติ และทุ่งนาที่ใช้ในการปลูกข้าว สภาพดินเป็นดินร่วนปนทรายและดินเหนียวมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ และไม่อุ้มน้ำ สภาพพื้นที่ไม่เป็นแอ่งกะทะน้ำไม่ท่วมขังนาน มีระบบกับเก็บถ่ายเทน้ำได้ง่าย การเพาะปลูกข้าวขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศ และอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก จึงต้องทำคันนาและแบ่งพื้นนาออกเป็นแปลงๆ เพื่อประโยชน์ในการกักเก็บน้ำให้พอเพียงต่อการเจริญเติบโตของข้าวที่นามีสองลักษณะคือ นาดอน และนาลุ่ม พื้นที่นาดอนเหมาะสำหรับปลูกข้าวพันธุ์กข.15 ซึ่งมีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น ส่วนพื้นที่นาลุ่มเหมาะสำหรับปลูกข้าวพันธุ์ ดอกมะลิ105ซึ่งมีอายุการเก็บเกี่ยวยาวกว่า

 

นายบุญเหลือ ฤทธิรณ เครือข่ายผู้ผลิตข้าวหอมมะลิ105ชุมพลบุรี1 เปิดเผยว่า ปัจจุบันเครือข่ายมีจำนวนสมาชิก 18 ราย มีพื้นที่ปลูกข้าวพันธุ์ดอกมะลิ 105 รวม 291ไร่ ได้รับการรับรองมาตรฐานระดับประเทศและระดับสากลorganic Thailand GI สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาตร์ จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ปลูกข้าวภายใต้แบรนด์”ข้าวกุลาไรซ์”105 ผลิตจากสายพันธุ์ ข้าวขาวดอกมะลิ”105 ข้าวนาปีปลูกในเขตทุ่งกุลาร้องให้อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ภายใต้คำขวัญอำเภอชุมพลบุรี”เขตทุ่งกุลา ร้องให้ปลาไหล ผ้าไหมสวย รวยข้าวหอมมะลิ งามพร้อมลำน้ำมูล”

ข้าวขาวดอกมะลิ105 เป็นพันธ์ข้าวหนัก ข้าวไวแสง ปลูกในดินทุ่งกุลาร้องให้ ดินทรายที่ต้องผ่านความแห้งแล้งร้อนจัด พายุ มรสุม และอากาศที่หนาวจัด จึงทำให้ข้าวหอมมะลิเขตทุ่งกุลาร้องให้ชุมพลบุรีมีเอกลักษณ์เฉพาะตาม สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์(GI)และมีรสชาติที่แตกต่างจากข้าวจากถิ่นอื่นๆอย่างชัดเจน มีกลิ่นหอมใบเตย หอมเม็ดยาวขาวนุ่ม ชิมแล้วติดใจผลิตและบำรุงผิวด้วยวัตถุอินทรีย์ธรรมชาติ100%ตามวิถีเกษตรแบบธรรมชาติหรือเกษตรอินทรีย์

ช่วงเก็บเกี่ยวเมื่อข้าวเติบโตเต็มที่ ระยะที่ข้าวแก่สุกจะเป็นสีพลับพลึงเมื่อนำมาแปรรูปจะประกอบด้วยข้าวขาวข้าวกล้องอุดมด้วยสารอาหาร(GABA)และวิตามินที่ร่างกายต้องการในการสร้างพลังงานบรรจุในบรรจุภัณฑ์ทันสมัยภายใต้แบรนด์”ข้าวกุลาไรซ์105″ระบบการผลิตข้าวอินทรีย์GIทุ่งกุลาร้องให้อ.ชุมพลบุรีจ.สุรินทร์ผลิตข้าวหอมมะลิ105 โดยหลัก”เกษตรธรรมชาติ”ตามคู่มือในระบบควบคุมภายในกลุ่ม(ics)และคู่มือการผลิตข้าวอินทรีย์orgnic Thailandของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตลอดจนระยะเวลาในการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำประกอบด้วย

ต้นน้ำ คือการเตรียมแปลง เตรียมดิน ด้วยการเพิ่มสารอินทรีย์วัตถุที่มีในธรรมชาติสู่แปลงนา ด้วยการ หว่านเมล็ด โดยใช้ปุ๋ยสด (ปอเทือง ถั่วพร้า)แล้วจึงไถกลบตอซังข้าว ปุ๋ยคอก แกลบ ดิน ปุ๋ยอินทรีย์ อัดเม็ด เพิ่มธาติใตโตรเจนธรรมชาติ ให้กับแปลงดินให้สมบูรณ์พร้อมกับการผลิตต่อไป

กลางน้ำ คือการบำรุงดูแลรักษาต้นข้าวแข็งแรงเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง และปราศจากโรคพืชรบกวนโดยการใช้สารชีวภาพ เชื้อราไตรโคเดอร์มา การใช้น้ำหมักจากเศษอาหารฯลฯเพื่อเพิ่มธาติอาหารโพแทสเซียมจากธรรมชาติ

ปลายน้ำ คือการเร่งและเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้นโดยใช้น้ำหมักชีวภาพไข่ ซึ่งเป็นปุ๋ยน้ำหมักไข่และยีสต์จุลินทรีย์ธรรมชาติ ใช้ฉีดพ่นธาติอาหารโพแทสเซียมธรรมชาติ เพื่อบำรุงรวงข้าวให้รวงใหญ่รวงขาว เพิ่มจำนวนและน้ำหนักเมล็ดมากขึ้น พร้อมต่อการเก็บเกี่ยวผลผลิต และการแปรรูปสู่กระบวนการบรรจุภัณฑ์ข้าวอินทรีย์ GI OTOP แบรนด์”กุลาไรช์ 105 ผ่านการรับรองรับมาตรฐานการผลิดข้าวออร์แกนิคจากกรมข้าว จนมาถึงปัจจุบัน.

 

ศูนย์ข่าวภูมิภาค TOP NEWS  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ทบ.ขานรับนโยบายปราบยาเสพติด เพิ่มทหาร 6 กองกำลัง วัดเคพีไอ 10 กพ.-10 มิ.ย.
ซีพีเอฟ ซีพี-เมจิ ร่วมหนุนสระบุรีแซนด์บ๊อกซ์ "รวมพลังสร้างเมืองคาร์บอนต่ำแห่งแรกของประเทศไทย”
สละเรือแล้ว! "ผบ.อิสราเอล" ยื่น "ลาออก" เซ่นเหตุ 7 ต.ค. ไล่แทงกันในเทลอาวีฟเจ็บ 5
สุดปัง “นายกฯ” สวมกระโปรงผ้าปาเต๊ะ ร่วมประชุม WEF
ทบ.ยืนยันอีกรอบ! ปมร้อน “แสตมป์” ไม่เกี่ยวกองทัพ พบไม่เคยร้อง 112
ผบ.ทร.เข้าเยี่ยม พร้อมมอบของบำรุงขวัญ สร้างกำลังใจทหารผ่านศึก ขอบคุณเสียสละเพื่อชาติจนทุพพลภาพ
“อัจฉริยะ” ยอมเสี่ยงชีวิต มาขึ้นไต่สวนคดีละเมิดอำนาจศาล พร้อมเปิดแผลผ่าตัดโชว์นักข่าว
"อิสราเอล" บิดหยุดยิง ถล่มเวสต์แบงก์ดับเกลื่อน "ฮามาส" รวมพลด่วน
ตม.4 บุกทลายเว็บพนันฯเกาหลีใต้ ใช้ไทยเป็นฐานบัญชาการควบคุมทั่วโลก เงินหมุนเวียน 100 ล้านบาท
เปิดคำพิพากษา “เต้ มงคลกิตติ์” ทำสัญญาประนีประนอม ยอมขอโทษ หมิ่นกล่าวหา “ศักดิ์สยาม”

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น