“ฝีดาษลิง” 2565 เหมือน – แตกต่าง ไข้ทรพิษ เริม สุกใส งูสวัด

"ฝีดาษลิง" ไข้ทรพิษ เริม สุกใส งูสวัด เช็คก่อน เชื้อก่อโรค การติดต่อ ระยะฟักตัว อาการนำ อาการแสดงทางผิวหนัง การรักษา เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

“ฝีดาษลิง” (วานร) โรคฝีดาษวานร เหมือนหรือแตกต่างกับโรคติดเชื้อไวรัสอื่น ๆ เพื่อไม่ให้เกิดความตระหนกตื่นกลัวจนเกินไป TOP News สรุปเปรียบเทียบ ไข้ทรพิษ เริม สุกใส งูสวัด มาให้แล้ว เช็คก่อน เชื้อก่อโรค การติดต่อ ระยะฟักตัว อาการนำ อาการแสดงทางผิวหนัง การรักษา ครบ จบ ที่นี่

ข่าวที่น่าสนใจ

 

ฝีดาษลิง, ไข้ทรพิษ, เริม, สุกใส, งูสวัด, เชื้อก่อโรค, การติดต่อ, ระยะฟักตัว, อาการนำ, อาการแสดงทางผิวหนัง, การรักษา

 

 

 

 

เชื้อก่อโรค

 

  1. ฝีดาษลิง : Pox virus
  2. ไข้ทรพิษ : Pox virus
  3. เริม : Herpes simplex virus
  4. สุกใส : Varicella zoster virus
  5. งูสวัด : Varicella zoster virus

 

 

การติดต่อ

 

  • ฝีดาษลิง

 

  1. การสัมผัสสารคัดหลั่ง รอยโรค และ ละอองฝอย จากทางเดินหายใจ
  2. ติดต่อจากสัตว์สู่มนุษย์
  3. ติดต่อจากมนุษย์สู่มนุษย์

 

 

  • ไข้ทรพิษ

 

  1. การสัมผัสสารคัดหลั่ง รอยโรค และ ละอองฝอย จากทางเดินหายใจ
  2. ติดต่อจากมนุษย์สู่มนุษย์

 

 

  • เริม

 

  1. การสัมผัสสารคัดหลั่ง การติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  2. ติดต่อจากมนุษย์สู่มนุษย์

 

 

  • สุกใส

 

  1. การสัมผัสสารคัดหลั่ง รอยโรค และ ละอองฝอย จากทางเดินหายใจ
  2. ติดต่อจากมนุษย์สู่มนุษย์

 

 

  • งูสวัด

 

  1. มักเกิดจากการเป็นโรคสุกใสมาก่อน และมีเชื้อหลบที่ปมประสาท จะแสดงอาการภายหลัง
  2. สารคัดหลั่งของผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อได้

 

 

ระยะฟักตัว

 

  1. ฝีดาษลิง : 7 – 21 วัน
  2. ไข้ทรพิษ : 7 – 17 วัน
  3. เริม : 3 – 7 วัน
  4. สุกใส : 11 – 20 วัน
  5. งูสวัด : –

 

 

 

 

ฝีดาษลิง, ไข้ทรพิษ, เริม, สุกใส, งูสวัด, เชื้อก่อโรค, การติดต่อ, ระยะฟักตัว, อาการนำ, อาการแสดงทางผิวหนัง, การรักษา

 

 

 

 

 

อาการนำ

 

  • ฝีดาษลิง

 

  1. ไข้
  2. ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  3. ปวดศีรษะ
  4. อ่อนเพลีย
  5. ปวดหลัง
  6. ต่อมน้ำเหลืองโต

 

 

  • ไข้ทรพิษ

 

  1. ไข้สูง
  2. ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  3. ปวดศีรษะ
  4. อ่อนเพลีย
  5. ปวดหลัง
  6. เจ็บคอ
  7. คลื่นไส้
  8. อาเจียน
  9. ปวดท้อง

 

 

  • เริม

 

  1. อาการเจ็บ ปวดแสบร้อน คันบนตำแหน่งที่จะเกิดรอยโรค
  2. ปวดเมื่อยเนื้อตัว
  3. เบื่ออาหาร
  4. อาจพบมีไข้ ปวดศีรษะ ต่อมน้ำเหลืองโตในผู้ป่วยบางราย

 

 

  • สุกใส

 

  1. ไข้
  2. ปวดเมื่อยเนื้อตัว
  3. ปวดกล้ามเนื้อ
  4. อ่อนเพลีย
  5. ปวดศีรษะ

 

 

  • งูสวัด

 

  1. อาการเจ็บ ปวดแสบร้อน คัน บนตำแหน่งที่จะเกิดรอยโรค
  2. อาจมีไข้ต่ำ ๆ ปวดเมื่อยเนื้อตัว ปวดศีรษะ

 

 

อาการแสดงทางผิวหนัง

 

  • ฝีดาษ ลิง

 

  1. แผลในปาก ตามด้วยผื่นแดง ตุ่มแดง ตุ่มน้ำ โดยตุ่มน้ำอาจมีรอยบุ๋มเล็ก ๆ ตรงกลาง และกลายเป็นตุ่มหนอง แล้วจึงจะตกสะเก็ด
  2. รอยโรคจะอยู่ในระยะเดียวกัน

 

 

  • ไข้ทรพิษ

 

  1. แผลในปาก และคอหอย ตามด้วยผื่นแดง ตุ่มแดง ตุ่มน้ำ โดยตุ่มน้ำอาจมีรอยบุ๋มเล็ก ๆ ตรงกลาง และกลายเป็นตุ่มหนอง แล้วจึงจะตกสะเก็ด
  2. รอยโรคจะอยู่ในระยะเดียวกัน มักทิ้งรอยแผลเป็น

 

 

  • เริม

 

  1. ตุ่มแดง และตุ่มน้ำที่เจ็บบนพื้นแดง อาจมีรอยบุ๋มเล็ก ๆ ตรงกลาง ต่อมากลายเป็นตุ่มหนอง และแผลหรือแผลถลอกตกสะเก็ด
  2. รอยโรคจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มไม่กระจายตัว

 

 

  • สุกใส

 

  1. แผลในปาก และคอหอย ตามด้วยผื่นแดง ตุ่มแดง ตุ่มน้ำ โดยตุ่มน้ำอาจมีรอยบุ๋มเล็ก ๆ ตรงกลาง และต่อมากลายเป็นตุ่มหนอง แล้วจึงจะตกสะเก็ด
  2. พบรอยโรคได้หลายระยะในเวลาเดียวกัน มีโอกาสทิ้งรอยแผลเป็นหลังหาย

 

 

  • งูสวัด

 

  1. ตุ่มแดง และตุ่มน้ำที่เจ็บ อาจมีรอยบุ๋มเล็ก ๆ ตรงกลาง ต่อมากลายเป็นตุ่มหนอง และแผลหรือแผลถลอกตกสะเก็ด
  2. รอยโรคอยู่เป็นกลุ่ม และมีการกระจายตัวตามแนวของเส้นประสาท

 

 

 

 

ฝีดาษลิง, ไข้ทรพิษ, เริม, สุกใส, งูสวัด, เชื้อก่อโรค, การติดต่อ, ระยะฟักตัว, อาการนำ, อาการแสดงทางผิวหนัง, การรักษา

 

 

 

 

การรักษา

 

  • ฝีดาษ ลิง

 

  1. แบบประคับประคอง และรักษาตามอาการ
  2. ยา tecovirimat (อยู่ระหว่างการศึกษา)

 

 

  • ไข้ทรพิษ

 

  1. แบบประคับประคอง และรักษาตามอาการ
  2. ยา tecovirimat (รับรองจาก USFDA)

 

 

  • เริม

 

  1. การรักษาตามอาการ
  2. ร่วมกับ ยาต้านไวรัส เช่น acyclovir, famciclovir และ valacyclovir

 

 

  • สุกใส

 

  1. การรักษาตามอาการ ร่วมกับ
  2. ยาต้านไวรัส เช่น acyclovir, famciclovir และ valacyclovir

 

 

  • งูสวัด

 

  1. การรักษาตามอาการ ร่วมกับ
  2. ยาต้านไวรัส เช่น acyclovir, famciclovir และ valacyclovir

 

ฝีดาษลิงต่างจากโรคติดต่ออื่นอย่างไร

 

 

ข้อมูล : สถาบันโรคผิวหนัง

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

มาแน่ “กรมอุตุฯ” ประกาศฉบับ 12 เตือนระวังอันตราย "พายุฤดูร้อน" พัดถล่ม จว.ที่ไหนบ้างเช็กเลย
ฝนตกหนัก "อนุทิน" กำชับ "ผู้ว่าฯ เชียงราย" ติดตามสถานการณ์น้ำแม่น้ำสายใกล้ชิด
"รมว.สุดาวรรณ" นำชมนิทรรศการ สาธิตวิถีชีวิต ประเพณีวัฒนธรรมโดดเด่นชาวนครพนม ชูเส้นทางตามรอยศรัทธาธรรม 7 วันสักการะ 8 พระธาตุประจำวันเกิด
"สรรเพชญ" ผนึก "สุพิศ" นายกอบจ.สงขลา ร่วมขับเคลื่อนพัฒนาท้องถิ่นทุกมิติ มั่นใจยกระดับคุณภาพชีวิตปชช.
"นฤมล" ลงพื้นที่เยี่ยมชาวสวนลิ้นจี่ นครพนม ชื่นชมสร้างมูลค่าส่งออก ยันพร้อมหนุนทุกปัจจัย ดูแลผลไม้ไทย
สส.สัตหีบ เร่งประสานอีสวอเตอร์ แก้ไขปัญหาท่อน้ำประปาแตกบ่อย น้ำไหลเบา เพิ่มแรงดันน้ำพื้นที่โซนสูง
"ศุภมาส" เดินหน้าขับเคลื่อน Soft Power จัดแข่งวาดภาพ Thai Youth Street Art รุดให้กำลังใจ 6 สถาบัน เข้าประชันฝีมือ
สวนสัตว์เปิดเขาเขียว จัดกิจกรรมคลายร้อนให้สัตว์ ด้วยหวานเย็นผลไม้ พร้อมเสริมกิจกรรมต่างๆ เพื่อกระตุ้นพฤติกรรมธรรมชาติ
"สมศักดิ์" ให้กำลังใจทีมแพทย์- พยาบาล รพ.บึงกาฬ พร้อมเปิดห้องรับฟังความเห็น หลังเกิดปัญหาบุคลากรทางการแพทย์ขาดแคลน
กรรมการ บ.ไมนฮาร์ทฯ ผู้รับออกแบบตึกสตง. ให้ข้อมูลดีเอสไอ รับมีการสั่งแก้แปลนอาคาร ผนังปล่องลิฟท์ พร้อมร่วมมือให้ทุกอย่าง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น