สธ. เผยโอมิครอน BA.4-BA.5 ระบาดแซงสายพันธุ์เดิมเรียบร้อย ชี้แพร่เชื้อเร็วกว่า

สธ. เผยโอมิครอน BA.4-BA.5 ระบาดแซงสายพันธุ์เดิมเรียบร้อย ชี้แพร่เชื้อเร็วกว่า อาการรุนแรงกว่า โดยกรุงเทพฯ จ.เชียงใหม่ พบติดเชื้อมากสุด

ที่กระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงรายงานความคืบหน้าการเฝ้าระวังสายพันธุ์เชื้อโควิด-19 ในประเทศไทย ว่า การตรวจรหัสพันธุกรรมสายพันธุ์โควิด-19 สัปดาห์ที่ผ่านมา ตรวจไปได้ 468 ราย พบว่า เป็นสายพันธุ์ย่อยโอมิครอน BA.4 และ BA.5 และแซงสายพันธุ์ BA.2 ที่มีอยู่เดิมเรียบร้อยแล้ว

โดยพบสายพันธุ์ BA.4 และ BA.5 จำนวน 320 ราย BA.2 จำนวน 143 ราย BA.1 จำนวน 5 ราย กราฟแนวโน้มเห็นชัดเจนว่า การติดเชื้อ BA.4 และ BA.5 ในผู้เดินทางจากต่างประเทศเกือบ 100% เพราะเราตรวจเฉพาะผู้ที่มีอาการป่วย ส่วนในประเทศขึ้นไปที่ร้อยละ 67 ทำให้ภาพรวมเป็น ร้อยละ 68 ทั้งนี้ หากแยกสัดส่วนพบว่า เป็นกรุงเทพมหานคร มีความชุกของ BA.4 และ BA.5 ร้อยละ 80 ส่วนต่างจังหวัด ร้อยละ 60 ซึ่งกราฟก็จะขึ้นไปเรื่อยๆ บอกได้ว่า BA.4 และ BA.5 เมื่อเทียบกับ BA.1 และ BA.2 แพร่ได้เร็วกว่า ซึ่งสอดคล้องกับตัวเลขติดเชื้อมากขึ้น

ข่าวที่น่าสนใจ

สำหรับจังหวัดที่พบผู้ติดเชื้อ BA.4 และ BA.5 เกิน 50 ราย คือ กรุงเทพฯ และ จ.เชียงใหม่ ส่วนความรุนแรงของสายพันธุ์ ได้ตรวจตัวอย่างจากผู้ป่วยที่อาการรุนแรงจากข้อมูลที่ได้ ซึ่งยังมีความจำกัดเนื่องจากผู้ป่วยกลุ่มอาการน้อย ไม่ได้มีการตรวจหาสายพันธุ์ โดยสัปดาห์ที่ผ่านมา วันที่ 16-22 กรกฎาคม 2565 พบว่า ผู้ป่วยในกรุงเทพฯ อาการไม่รุนแรง 122 ราย พบเป็น BA.4 และ BA.5 ประมาณ ร้อยละ 77 ส่วนอาการรุนแรง 54 ราย พบเป็น BA.4 และ BA.5 ประมาณร้อยละ 87ฉะนั้น สัดส่วน BA.4 และ BA.5 พบในกลุ่มไม่รุนแรงสูงกว่ากลุ่มอาการรุนแรง พอจะอนุมานเบื้องต้นได้ว่า รุนแรงกว่าของเดิมบ้าง ขณะที่ ผู้ป่วยในต่างจังหวัด พบว่ากลุ่มที่อาการไม่รุนแรงเจอเป็น BA.4 และ BA.5 ประมาณ ร้อยละ 55 ส่วนอาการรุนแรงเจอประมาณ ร้อยละ 73 พออนุมานได้ว่า หากติดเชื้อ BA.4 และ BA.5 มีโอกาสรุนแรงมากกว่า แต่ไม่สามารถบอกได้ว่า จริงๆ รุนแรงกี่เปอร์เซ็นต์ เพราะเราไม่ได้ตรวจกับกลุ่มที่อาการน้อย หรือไม่มีอาการ แต่เป็นการเปรียบเทียบระหว่างเชื้อเท่านั้น ความแตกต่างประมาณร้อยละ 10 โอกาสที่ BA.2 เดิม มีอาการรุนแรง 2 คน พอมาเจอ BA.5 ก็เพิ่มเป็น 3 คนนิดๆ ฉะนั้น ไม่ได้ต่างกันมาก แต่การติดเชื้อมากขึ้น ก็จะพบสัดส่วนผู้ป่วยอาการรุนแรงมากขึ้น

ส่วนเชื้อ BA.2.75 อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ขณะนี้ในประเทศไทยมีรายงานเพียง 1 ราย แต่คงมีมากกว่านี้ แต่ตอนนี้การตรวจสายพันธุ์นี้จะต้องดำเนินการด้วยการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งตัว การตรวจเบื้องต้นยังระบุตรงๆว่าเป็น BA.2.75 ไม่ได้ แต่ถ้าใครตรวจแล้วไม่เข้ากับสายพันธุ์ BA.1, BA.2, BA.4 และ BA.5 จะต้องส่งตัวอย่างไปตรวจโดยเร็วว่าเป็น BA.2.75 หรือไม่ และอีกราว 1 สัปดาห์ จะสามารถส่งน้ำยาเฉพาะเพื่อให้ห้องปฏิบัติการในต่างจังหวัดสามารถตรวจได้เลย และข้อมูลจาก GISAID มีรายงาน 538 ราย ขึ้นมาจากเมื่อวันที่ 20 ก.ค. 2565 บ้าง แต่ไม่ได้มาก ต้องจับตาดูต่อไป

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เลขาธิการ สปส. แจงเสถียรภาพ "กองทุนประกันสังคม" ย้ำชัดสิทธิประโยชน์ดีเพิ่มขึ้นทุกปี
คึกคักสุดๆ แห่เที่ยวตามรอย "ลิซ่า" ในซีรีส์ The White Lotus 3 ทำยอดจองโรงแรมเกาะสมุยพุ่ง
ผู้ลี้ภัยแอลจีเรียไล่แทงตำรวจในฝรั่งเศส
เต่าทะเลกว่า 6 แสนตัวแห่วางไข่ที่ชายหาดอินเดีย
ฮามาสปล่อย 6 ตัวประกันสุดท้ายภายใต้ข้อตกลงเฟสแรก
‘Super AI Engineer Season 5’ รวมพลังรัฐ-เอกชน-ประชาสังคม ปั้นบุคลากร AI เสริมขีดความสามารถแข่งขันไทย
"ดร.ปณิธาน" ยกพัทยาโมเดล แก้ปัญหา "ชาวอิสราเอล" ล้นเมืองปาย แนะหน่วยมั่นคงบังคับใช้กม.ใกล้ชิด
"อดีตสว.สมชาย" แฉโพย ฮั้วเลือกสว. ชี้เป็นหลักฐาน ดีเอสไอ เร่งนำลากไส้ตัวการใหญ่
‘ทักษิณ’ ปลื้มลงพื้นที่นราธิวาส ในรอบ 19 ปี ปชช.รอต้อนรับ
นายกฯ รับรายงาน ตร.ไทย-กัมพูชา ร่วมมือทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ฝั่งปอยเปต ช่วยเหยื่อคนไทยนับร้อย หลุดพ้น

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น