“ธนารักษ์” รีบสุด ไม่รอศาลปกครองพิพากษา นัด “วงษ์สยาม” เซ็นสัญญา 3 ส.ค.

"กรมธนารักษ์" นัด "วงษ์สยาม ก่อสร้าง" วันที่ 3 ส.ค.65 เซ็นสัญญาโครงการบริหารและดำเนินกิจการระบบท่อส่งน้ำสายหลักในภาคตะวันออก (อีอีซี) ไม่รอศาลปกครองพิพากษา

วันที่ 26 กรกฎาคม 2565 มีรายงานข่าวว่า นายประภาศ คงเอียด อธิบดีกรมธนารักษ์ ได้ลงนามในหนังสือ เรื่องการลงนามในสัญญาโครงการบริหารและดำเนินกิจการระบบท่อส่งน้ำสายหลักในภาคตะวันออก ถึง กรรมการผู้จัดการ บริษัท วงษ์สยามก่อสร้าง จำกัด

หนังสือระบุว่า กรมธนารักษ์ ได้กำหนดให้มีการลงนามในสัญญาโครงการฯ ในวันที่ 3 สิงหาคม 2565 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 8 อาคาร 72 ปี กรมธนารักษ์

โดยในการลงนามสัญญาบริหารและดำเนินกิจการระบบท่อส่งน้ำสายหลักในภาคตะวันออก ในวัน เวลา และสถานที่ดังกล่าว บริษัท วงษ์สยามก่อสร้าง จำกัด ต้องชำระเงินตามเงื่อนไขของสัญญาในวันลงนามในสัญญาโครงการดังกล่าว ดังนี้
1. ชำระค่าแรกเข้าเพื่อทำสัญญา เป็นเงินจำนวน 580,000,000 บาท
2. ชำระผลประโยชน์ตอบแทนรายปี (Fixed Fee) ปีที่ 1 เป็นเงิน 44,644,356 บาท มาชำระให้กรมธนารักษ์ในวันลงนามในสัญญาเช่าโครงการดังกล่าว
3. วางหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญา เป็นเงินจำนวน 118,979,500 บาท

 

ข่าวที่น่าสนใจ

อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าจับตาว่า การนัดลงนามเซ็นสัญญาครั้งนี้ เกิดขึ้นทั้ง ๆ ที่ศาลปกครองยังไม่ได้มีคำพิพากษาใดๆ เกี่ยวกับการประมูลท่อส่งน้ำ EEC และเคยมีความเห็นเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2565 ระบุชัดเจนว่า กรณีนี้หากการคัดเลือกเอกชนเพื่อเข้าทำสัญญาในโครงการดังกล่าวยังคงดำเนินต่อไป จนมีการลงนามในสัญญา ย่อมทำให้ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นผู้ยื่นข้อเสนอในการประกาศเชิญชวนเอกชนเข้าร่วมยื่นข้อเสนอครั้งแรกได้รับความเสียหาย

เนื่องจากมาตรา 119 วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 บัญญัติให้การฟ้องคดีไม่มีผลกระทบต่อการจัดซื้อจัดจ้างที่หน่วยงานของรัฐได้ลงนามในสัญญาจัดซื้อจัดจ้างแล้ว จึงย่อมทำให้การฟ้องคดีนี้ไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้ฟ้องคดีในการแก้ไขเยียวยาความเสียหายจากมติหรือคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ที่ยกเลิกการคัดเลือกเอกชนเพื่อบริหารและดำเนินการระบบท่อส่งน้ำสายหลักในภาคตะวันออกครั้งแรก

ประกอบกับโครงการพิพาทมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เอกชนบริหารจัดการและดูแลรักษาระบบท่อส่งน้ำสายหลักในภาคตะวันออกให้สามารถตอบสนองความต้องการใช้น้ำของชุมชนและกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างเพียงพอและทันต่อการณ์ โดยบริหารจัดการเพื่อให้เกิดเสถียรภาพและความมั่นคงที่มีผลต่อขีดความสามารถในการแข่งขันในภาคตะวันออก

 

ดังนี้ หากการยกเลิกการคัดเลือกเอกชนเพื่อบริหารและดำเนินการระบบท่อส่งน้ำสายหลักในภาคตะวันออกเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงอาจเป็นอุปสรรคแก่การบริการสาธารณะด้านการให้บริการสาธารณูปโภค

ศาลจึงมีคำสั่งให้ดำเนินกระบวนพิจารณาโดยเร่งด่วนตามข้อ 49/2 แห่งระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2543

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

แองเจิล หยิน หวดสถิติใหม่ 28 อันเดอร์พาร์ คว้าแชมป์ฮอนด้า แอลพีจีเอ ไทยแลนด์ 2025 จีโน่-อาฒยา ดีสุดของไทยได้อันดับ 3  แพตตี้-ปภังกร โม-โมรียา อันดับ 4 ร่วม
"พุทธิพงษ์" หนุน "บ้านเพื่อคนไทย" ชี้ควรทำอย่างโปร่งใส กระจายโอกาสถึงผู้มีรายได้น้อยให้ครบทุกภูมิภาค
"อดีตสว.สมชาย" เผย "ท็อปนิวส์" ละเอียดยิบ ขบวนการทุจริต "ฮั้วเลือกสว." ลั่น "ดีเอสไอ" ต้องรับเป็นคดีพิเศษ
"ไทย-กัมพูชา" บุกจับแก๊งคอลเซ็นเตอร์ เมืองปอยเปต พบคนไทยกว่า 100 คน เตรียมส่งกลับประเทศพรุ่งนี้
"จุฬาราชมนตรี" แถลงเตรียมจัดงาน "เมาลิดกลาง แห่งประเทศไทย" ครั้งที่ 59 เริ่ม 18- 20 เม.ย.นี้
จนท.รวบ "หนุ่มไทยเชื้อสายอินเดีย" หอบเงิน 15.7 ล้าน เข้าไทย อ้างเล่นพนันได้จากฝั่งปอยเปต
โผล่อีก “หมู่บ้านเขมร” จองแผ่นดินไทย อึ้ง! อุ้มลูกเดินยั้วเยี้ย ตร.เพิ่งจะจับ
งามไส้! “หนุ่มไทย” พกปืน-กระสุนใส่เต็มแม็ก คุ้มกัน “พม่าเถื่อน” เข้าเมือง
ผู้นำสหรัฐเรียกนายกฯแคนาดาว่า” ขี้แพ้”
เพจดังจับโป๊ะพรรคส้ม ขุดยับ “เท้ง-ไอซ์” นำทีมสส.ร่วมทริปกมธ. บินเกาหลีใต้ ใช้งบฯหลักล้านคาใจดูงานแน่เปล่า

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น