ทอ. แจงยิบเหตุผลที่ต้องจัดหาเครื่องบินรบ F -35

กองทัพอากาศแจงยิบผลกระทบเลื่อนโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีทดแทน 1 ฝูงบิน เหตุปี 2575 ทัพฟ้าจะเหลือแค่2 ฝูงบินตามแผนทยอยปลดประจําการ ระบุหากไม่ได้รับงบฯในปี 66 ก็ไม่สามารถจัดทําหนังสือ LOA กับทางการสหรัฐฯ ได้ และต้องรอคิวการพิจารณาสายการผลิตต่ออีกหลายประเทศ กระทบขีดความสามารถในการป้องกันภัยทางอากาศในอนาคต

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 31 ก.ค. 65 พล.อ.ต.ประภาส สอนใจดี โฆษกกองทัพอากาศ กล่าวชี้แจงถึงผลกระทบกรณีการเลื่อนโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีทดแทน หลังจาก กมธ.แจงตัดงบประมาณจัดซื้อ “F-35 A” ว่าปัจจุบันกองทัพอากาศมีเครื่องบินขับไล่โจมตี จํานวน 5 ฝูงบิน แต่เนื่องจากข้อจํากัดด้านอายุของอากาศยานมีผลต่อขีดความสามารถของอากาศยานที่ลดลง ข้อจํากัดการส่งกําลังและซ่อมบํารุงที่มีราคาสูงขึ้น รวมทั้งมีระยะเวลาในการจัดหาพัสดุอะไหล่ที่ยาวนาน เพราะบางบริษัทปิดสายการผลิตพัสดุอะไหล่ ส่งผลให้กองทัพอากาศมีความจําเป็นที่จะต้องทยอยปลดประจําการอากาศยานประเภทเครื่องบินขับไล่โจมตีจาก 5 ฝูงบิน จนเหลือ 2 ฝูงบินในปี 2575 โดยกองทัพอากาศได้วางแผนดําเนินการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตี จํานวน 1 ฝูงบิน เพื่อมาทดแทน 3 ฝูงบินที่ได้วางแผนทยอยปลดประจําการ เพื่อให้สามารถดํารงขีดความสามารถในการปฏิบัติการบินรบในอากาศ และการโจมตีทางอากาศต่อไปเป็นเวลาอย่างน้อยอีก 40 ปี

 

พล.อ.ต.ประภาส กล่าวต่อว่า สถานการณ์ปัจจุบันมีการขยายอิทธิพลจากชาติมหาอํานาจสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น รวมถึงปัญหาการเมือง และความมั่นคงภายในแต่ละประเทศ ทําให้หลายประเทศในภูมิภาคสะสมกําลังทางทหาร โดยเฉพาะกําลังทางอากาศ อาทิ เมียนมา มาเลเซีย และเวียดนามมีการจัดหาเครื่องบินขับไล่สมรรถนะสูง เช่น เครื่องบินแบบ Su-27 และ Su-30 ซึ่งอันดับของกําลังทางอากาศของไทยในปัจจุบับอยู่ในอันดับที่ 5 ในอาเซียนจําเป็นต้องจัดเตรียมกําลังให้มีขีดความสามารถและศักยภาพกําลังรบทัดเทียมกับประเทศรอบบ้าน เพื่อเป็นการป้องปรามและเตรียมพร้อมรับภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น ในการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีทดแทนสมรรถนะสูงยุคที่ 5 คือ เครื่องบิน F-35 ซึ่งราคาปัจจุบันลดลงต่ำกว่า 80 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตั้งแต่ปี ค.ศ.2019

พล.อ.ต.ประภาส กล่าวอีกว่า โดยคาดการณ์ราคา Lot 14 อยู่ที่เครื่องละ 77.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งลดลง 12.8 % จาก Lot 11 และมีส่งมอบ ครื่องบิน F-35 แล้ว มากกว่า 820 เครื่อง ทําการบินไปแล้ว รวมทั้งสิ้นกว่า 540,000 ชม.บิน จํานวนนักบินที่ได้รับการฝึกตาม โครงการแล้วมากกว่า1,695 คน และเจ้าหน้าที่กว่า 12,520 คน ปฏิบัติภารกิจแล้วใน 9 ประเทศ นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายต่อชั่วโมงในการปฏิบัติการ ในปัจจุบันยังลดลงถึง 50% นับจากปี ค.ศ.2015

 

 

“กองทัพอากาศได้วางแผนจัดหาในปริมาณที่ลดลง แต่มีประสิทธิภาพปฏิบัติภารกิจที่สูงขึ้น เพื่อให้มีขีดความสามารถรับมือกับภัยคุกคามได้ทุกรูปแบบ สอดคล้องกับสถานการณ์ด้านความมั่นคงในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต เครื่องบินแบบ F-35 A มีขีดความสามารถและคุณสมบัติตรงตามความต้องการ สามารถ ติดตั้งใช้งานระบบอาวุธที่ทันสมัย มีความแม่นยําสูง ซึ่งกองทัพอากาศจะได้พิจารณาจัดหาเข้าประจําการตามกรอบงบประมาณ ที่เอื้ออํานวยต่อไป โดยจากข้อมูล Defense Security Cooperation Agency (DSCA) ซึ่งเสนอข้อมูลประเทศที่ร่วมผลิตและสั่งซื้อเครื่องบิน F-35 มีประเทศที่ร่วมในการสั่งซื้อเครื่องบิน F-35 รวม 20 ประเทศ ยอดรวมการสั่งซื้อกว่า 3,400 เครื่อง ซึ่งจะส่งผลให้ราคาเครื่องบินลดลง และค่าอะไหล่และการซ่อมบํารุงลดลง” พล.อ.ต.ประภาส กล่าว

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

พล.อ.ต.ประภาส กล่าวอีกว่า สําหรับการดําเนินการที่ผ่านมาของโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีทดแทน กองทัพอากาศได้ส่งหนังสือให้กับ JUSTMAGTHAI เมื่อวันที่ 28 ธ.ค.64 เพื่อให้เข้ากระบวนการ ซึ่งต้องผ่านขั้นตอนการขออนุมัติจากหน่วยงานต่าง ๆ ของสหรัฐฯประมาณ 12 เดือน คาดว่าจะได้รับคําตอบภายใน ม.ค.66 หากได้รับการอนุมัติการขาย พร้อมทั้งทราบระยะเวลาการจัดหา รวมถึงราคายุทโธปกรณ์ กองทัพอากาศจะสามารถดําเนินการกับทางการสหรัฐฯ แล้วเสร็จในมิ.ย.66 ซึ่งจะส่งผลให้กองทัพอากาศจะสามารถลงนามในหนังสือ LOA และสามารถผูกพันงบประมาณได้เรียบร้อยใน ส.ค.66 ซึ่งการดําเนินการในการจัดทําหนังสือ LOA กับทางการสหรัฐฯนี้ กองทัพอากาศต้องทราบงบประมาณที่กองทัพอากาศจะได้รับในโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีทดแทนก่อน ถึงจะทําการตกลงกับทางการสหรัฐฯ ได้ ถึงจํานวนอากาศยาน และส่วนสนับสนุนอื่นๆ ภายใต้การจัดทําสัญญาตามกรอบงบประมาณที่ได้รับ

แต่หากกองทัพอากาศมิได้รับงบประมาณในปี 66 ก็ไม่สามารถจัดทําหนังสือ LOA กับทางการสหรัฐฯ ได้ และหากกองทัพอากาศเสนอความต้องการเครื่องบิน F-35 ในปี 67 จะทําให้ต้องรอคิวการพิจารณาสายการผลิต และไม่สามารถเริ่มกระบวนการจัดหาได้ทัน ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี กรีก และสาธารณรัฐเชค (กลุ่ม NATO) ซึ่งมีแผนจะสั่งจองการผลิต ในปี 65-66 หากกองทัพอากาศสั่งจองการผลิตล่าช้าจะต้องต่อคิวจากทั้ง 3 ประเทศดังกล่าว และความพร้อมปฏิบัติการของเครื่องบินF-35 ครบฝูงจะเลื่อนออกไปเป็นปี 77 ซึ่งในห้วงเวลาระหว่างปี 75 – 77 ส่งผลให้ประเทศไทยจะขาดขีดความสามารถในการป้องกันภัยทางอากาศ เนื่องจากการปลดประจําการเครื่องบินขับไล่โจมตีที่มีอายุการใช้งาน จํานวนมาก

 

 

พล.อ.ต.ประภาส กล่าวว่า อย่างไรก็ตามกองทัพอากาศกําหนดความต้องการระยะ 10 ปี (พ.ศ.2563– 2573)ในสมุดปกขาว พ.ศ.2563 ปรับปรุงแผนการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีทดแทน โดยคณะกรรมการศึกษาและจัดทําความต้องการ เครื่องบินขับไล่โจมตีให้มีความเหมาะสมกับงบประมาณที่กองทัพอากาศได้รับ และคํานึงถึงขีดความสามารถ ในการปฏิบัติภารกิจให้ได้ในปี 75 โดยมีรายละเอียด ดังนี้- ระยะที่ 1 ผูกพันงบประมาณ 4 ปี (66 – 69) จํานวน 2 เครื่อง วงเงินงบประมาณ 7,382 ล้านบาท – ระยะที่ 2 ผูกพันงบประมาณ 4 ปี (69- 71 ) จํานวน 4 เครื่อง วงเงินงบประมาณ14,628 ล้านบาทเศษ – ระยะที่ 3 ผูกพันงบประมาณ 4 ปี (72- 75 ) จํานวน 6 เครื่อง วงเงินงบประมาณ 21,924 ล้านบาทเศษ รวมเป็นวงเงินรวมทั้งสิ้น43,935 ล้านบาทเศษ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น