“long Covid” เปิดวิธีป้องกัน-รักษา ชี้ เป็นได้ทุกเพศ ทุกวัย

Long Covid, ลองโควิด, หมอธีระวัฒน์, หมอดื้อ, วิธีป้องกันลองโควิด, วิธีรักษาลองโควิด, วิธีป้องกัน long covid, วิธีรักษา long covid

"long Covid" ลองโควิด long covid แพร่ เชื้อ ได้ ไหม หมอธีระวัฒน์ เผยสามารถเกิดได้ทุกเพศ ทุกวัย ส่วนใหญ่พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย พร้อมแนะวิธีรักษาและป้องกัน

“long Covid” ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ ชี้ ลองโควิด สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย ส่วนใหญ่จะพบในผู้หญิง ระยะอาการป่วยอาจนานกว่า 3 เดือนได้ พร้อมเปิดวิธีรักษาและป้องกัน ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ได้อัปเดตสถานการณ์โควิด เผยผลข้างเคียงหลังจากหายโควิดหรือที่เรียกว่า “long Covid” สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย โดยระบุว่า ลองโควิดเป็นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นหลังจากที่การติดเชื้อได้จบสิ้น (เชื้อไม่พบแล้ว)

 

 

 

Long Covid, ลองโควิด, หมอธีระวัฒน์, หมอดื้อ, วิธีป้องกันลองโควิด, วิธีรักษาลองโควิด, วิธีป้องกัน long covid, วิธีรักษา long covid

 

 

 

  • อาการของลองโควิด ไม่ขึ้นอยู่กับความหนักเบาของอาการที่เป็นตอนแรก
  • เกิดได้ทุกอายุ ได้ทุกเพศ แต่แนวโน้มในต่างประเทศ อาจเจอในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย อายุ 18-30 ปี และทุกอายุที่สูบบุหรี่อ้วน และแน่นอนมีโรคประจำตัวต่าง ๆ
  • เกิดอาการได้ตั้งแต่หัวจดเท้า หลายระบบหรืออวัยวะพร้อมกัน และทางความรู้สึกทางเพศลดลงหรือหายไป ทั้งชาย-หญิง และประจำเดือนผิดปกติ ร่วมเพศมีอาการเจ็บปวด

 

 

 

Long Covid, ลองโควิด, หมอธีระวัฒน์, หมอดื้อ, วิธีป้องกันลองโควิด, วิธีรักษาลองโควิด, วิธีป้องกัน long covid, วิธีรักษา long covid

  • เป็นอาการเดิมขณะติดเชื้อที่ยาวนานกว่า 3 เดือน หรืออาการที่เกิดขึ้นเป็นอาการใหม่
  • กลุ่มอาการเป็นลักษณะที่เรารู้จักกันดีมานานแล้ว เกือบ 80-90 ปี ในรูปของ chronic fatique syndrome หรือ Myalgia encephalomyelitis ในไวรัสต่าง ๆ แต่โควิดเกิดได้รุนแรง และยาวนานกว่าไวรัสตัวอื่น ๆ มาก
  • กลุ่มอาการทางสมองและจิตอารมณ์พบได้ 30% หรือมากกว่า และส่งผลทำให้เฉื่อยชา คิดช้า ความจำสั้น สมองเสื่อมและอารมณ์แปรปรวน โดยเฉพาะคนที่เป็นอยู่แล้วหรือกำลังจะเป็นโรคสมองเสื่อม เช่น อัลไซเมอร์ หรือพาร์กินสัน

 

 

 

Long Covid, ลองโควิด, หมอธีระวัฒน์, หมอดื้อ, วิธีป้องกันลองโควิด, วิธีรักษาลองโควิด, วิธีป้องกัน long covid, วิธีรักษา long covid

 

 

 

  • หลักในการบำบัด ต้องทำการยับยั้งการอักเสบ โดยคำนึงถึงผลข้างเคียงของยาที่ใช้รักษาด้วย หลีกเลี่ยงที่จะทำให้มีการกระตุ้น การอักเสบในร่างกายเพิ่มขึ้น ได้แก่

– หลีกเลี่ยงอาหารร้อนแรงที่ทำให้เกิดการอักเสบ เช่น เนื้อแดง ระวังพืชผักผลไม้ที่ปนเปื้อนด้วยสารเคมีฆ่าหญ้าฆ่าแมลง รวมกระทั่งถึงมลพิษพีเอ็ม 2.5 เป็นต้น

  • จากปรากฏการณ์นี้อาจเป็นเครื่องเตือนใจว่าไม่ควรปล่อยตัวให้ติด เพราะ อาจเคราะห์ร้ายระยะยาว และยิ่งติดซ้ำ ลองโควิดจะยิ่งรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ

 

 

วิธีที่ “อาจ” ป้องกันการเกิดลองโควิด

  • การให้การรักษาเร็วที่สุดเมื่อรู้ว่าติด เพื่อให้ระยะของการติดเชื้อสั้นที่สุด
  • แดดเช้าหรือบ่าย เย็น และอากาศร้อน อาบน้ำร้อน มีหลักฐานแล้ว ลด mitochondrial stress ลดอนุมูลอิสระ จนเพิ่ม innate immunity
  • เดินวันละ 10,000 ก้าว ถึงเวลาสร้างความแข็งแกร่งทุกระบบของภูมิคุ้มกันต่อสู้การติดเชื้อ เพราะ วัคซีนตามไวรัสไม่ทัน และแม้พลาดท่าติดแล้ว มีลองโควิดก็เอาอยู่

 

 

งานวิจัยและพัฒนาเชิงรุกผลกระทบลองโควิด ของศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่คณะแพทยศาสตร์จุฬา ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช)

 

 

 

ข้อมูล : ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ทบ.ยืนยันอีกรอบ! ปมร้อน “แสตมป์” ไม่เกี่ยวกองทัพ พบไม่เคยร้อง 112
ผบ.ทร.เข้าเยี่ยม พร้อมมอบของบำรุงขวัญ สร้างกำลังใจทหารผ่านศึก ขอบคุณเสียสละเพื่อชาติจนทุพพลภาพ
“อัจฉริยะ” ยอมเสี่ยงชีวิต มาขึ้นไต่สวนคดีละเมิดอำนาจศาล พร้อมเปิดแผลผ่าตัดโชว์นักข่าว
"อิสราเอล" บิดหยุดยิง ถล่มเวสต์แบงก์ดับเกลื่อน "ฮามาส" รวมพลด่วน
ตม.4 บุกทลายเว็บพนันฯเกาหลีใต้ ใช้ไทยเป็นฐานบัญชาการควบคุมทั่วโลก เงินหมุนเวียน 100 ล้านบาท
เปิดคำพิพากษา “เต้ มงคลกิตติ์” ทำสัญญาประนีประนอม ยอมขอโทษ หมิ่นกล่าวหา “ศักดิ์สยาม”
KIA-PDF ตีวงล้อมพม่า! ทอ.โผล่ช่วย แต่ยิงพลาดเป้า-สอยร่วงพวกเดียวกัน
จังหวัดฉะเชิงเทราปล่อยปลากะพงขาวเสริมทัพ คุมปลาหมอคางดำต่อเนื่อง ชูกินได้-อร่อยด้วย
ห้าดาว คว้า 3 รางวัลใหญ่ 'แฟรนไชส์ยอดเยี่ยมแห่งปี 2024' พร้อมเคียงข้างผู้ประกอบการสู่ธุรกิจมั่นคง
ปลาที่พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำญี่ปุ่นล้มป่วยเพราะเหงา

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น