“ฝีดาษลิง” กทม. เตรียมความพร้อม รับมือสถานการณ์การแพร่ระบาด

ฝีดาษลิง, โรคฝีดาษลิง, อาการฝีดาษลิง, โรงพยาบาลสังกัดกทม., รับมือฝีดาษลิง

"ฝีดาษลิง" กทม.เตรียมความพร้อมรับมือ สร้างความเข้าใจประชาชน พร้อมเปิดวิธีสังเกตอาการเบื้องต้น เน้นย้ำรพ.สังกัดกทม. หากพบผู้ป่วยให้แยกกักตัวเฉพาะโรค

“ฝีดาษลิง” กทม.เตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ พร้อมเตรียมแผนป้องกันโรค สร้างความเข้าใจให้กับประชาชน พร้อมเน้นย้ำโรงพยาบาลสังกัดกทม. รวมถึงคลินิกเฉพาะทาง หากพบผู้ป่วยให้แยกกักตัวเฉพาะโรค ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

กทม. เตรียมแผนเผชิญเหตุป้องกันโรค “ฝีดาษลิง” สร้างความเข้าใจให้กับประชาชน

1. โรงพยาบาลในสังกัดกทม.

  • เฝ้าระวังคนไข้ทั้งห้องฉุกเฉิน (ER) และผู้ป่วยนอก (OPD)
  • รวมถึง รพ.ที่มีคลินิกเฉพาะทาง เช่น คลินิกโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คลินิกโรคผิวหนัง
  • หากพบผู้ป่วยติดเชื้อจะเร่งแยกกักตัวเฉพาะโรค

 

 

ฝีดาษลิง, โรคฝีดาษลิง, อาการฝีดาษลิง, โรงพยาบาลสังกัดกทม., รับมือฝีดาษลิง

 

 

2. เน้นย้ำแนวทางปฏิบัติในการเฝ้าระวังและควบคุมโรคแก่บุคลากรทางการแพทย์ และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน ตามมาตรการ Universal Prevention (UP)

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ป่วยโดยเฉพาะลิง และหนู
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วยโดยตรง รวมถึงลมหายใจและสิ่งของของผู้ป่วย
  • หมั่นล้างมือด้วยสบู่ หรือเจลทำความสะอาดทุกครั้ง หลังสัมผัสสัตว์ หรือสัมผัสสิ่งของสาธารณะ
  • ใช้ผ้าปิดจมูกและปาก เมื่อไปในสถานที่เสี่ยงมีโรคระบาด
  • หากพบผู้ป่วยให้แยกผู้ป่วยที่ติดเชื้อออกจากผู้อื่นทันที

 

 

 

ฝีดาษลิง, โรคฝีดาษลิง, อาการฝีดาษลิง, โรงพยาบาลสังกัดกทม., รับมือฝีดาษลิง

3. สังเกตอาการเบื้องต้นของโรคฝีดาษ ลิง

  • มีไข้ หนาวสั่น
  • ปวดศีรษะ
  • ต่อมน้ำเหลืองโต
  • ปวดกล้ามเนื้อและอ่อนเพลีย บางกรณีอาจมีอาการไอหรือปวดหลังร่วมด้วย
  • หลังจากมีไข้ประมาณ 1-3 วัน ผู้ป่วยจะมีผื่นขึ้น โดยเริ่มจากใบหน้าแล้วแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย จากนั้นจะกลายเป็นตุ่มหนอง และสุดท้ายจะมีสะเก็ดคลุมแล้วหลุดออกมา
  • อาการป่วยดังกล่าวจะเป็นอยู่ประมาณ 2–4 สัปดาห์ โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายจากโรคเองได้
  • ในกรณีผู้ที่มีภูมิต้านทานโรคต่ำหรือมีโรคประจำตัว อาจเกิดโรคแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น ปอดบวม หรือเสียชีวิต

 

 

ทั้งนี้ ขอให้ติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์พาหะ และหลังจากเดินทางกลับจากประเทศที่มีการระบาด ให้สังเกตอาการตนเอง โรคนี้เกิดจากการสัมผัสใกล้ชิด ไม่ได้ติดง่าย มาตรการที่ใช้ป้องกันโควิด19 ยังใช้ป้องกันฝีดาษวานรได้

 

 

 

ฝีดาษลิง, โรคฝีดาษลิง, อาการฝีดาษลิง, โรงพยาบาลสังกัดกทม., รับมือฝีดาษลิง

 

 

 

ข้อมูล : กรุงเทพมหานคร โดยสำนักงานประชาสัมพันธ์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ปภ.ประชุมด่วน ผู้ให้บริการ 3 เครือข่ายมือถือ ซักซ้อม-ปรับวิธีส่งข้อมูลแจ้งเตือนภัยผ่าน SMS และ Cell Broadcast
"ยูเน็กซ์ อีวี" เปิดตัวแพลตฟอร์ม ขับเคลื่อนอัจฉริยะปฏิวัติอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในไทย พร้อมจับมือพันธมิตร ธุรกิจสร้างระบบนิเวศ EV ครบวงจร
"พาณิชย์–DITP" จัดกิจกรรมจับคู่เจรจาการค้าระหว่าง ผู้ส่งออกสินค้าน้ำตาล-น้ำตาลแปรรูปกับผู้นำเข้าฟิลิปปินส์
“การรถไฟฯ” แจง ผลตรวจเหล็ก สร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน
"ผบ.ทบ." เยี่ยมหน่วยตรวจเลือกทหารภาคใต้ ย้ำทุกกระบวนการยึดตามระเบียบ โปร่งใส
นาทีเดือด "กลุ่ม ศปปส." ปะทะ "แกนนำกลุ่มแรงงานพม่า Bright future" หลังจะมาตั้งม็อบประท้วงหน้า UN
"กรมทางหลวงชนบท" โร่แจง ไม่เคยเป็นคู่สัญญากับ "บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 "
"ก.แรงงาน" เตรียมถกแนวทาง "หลักประกันค่าชดเชย" กรณีถูกเลิกจ้าง 9 เม.ย.นี้
จนท.นำเครื่องจักรหนักเข้าพื้นที่โซน B ได้แล้ว ลุยตัดสิ่งกีดขวางขนาดใหญ่
วอร์รูม “ก.แรงงาน” เร่งเครื่องจ่ายเงินเยียวยา เหยื่อแผ่นดินไหวแล้ว 17.4 ลบ.

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น