รัฐสภาล่มเป็นครั้งที่ 3 หลัง “สมาชิก” แสดงตนไม่ครบองค์ประชุม

รัฐสภาล่มเป็นครั้งที่ 3 หลัง "สมาชิก" แสดงตนไม่ครบองค์ประชุม

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 3 ส.ค. ที่รัฐสภา มีการประชุมร่วมรัฐสภาที่มีนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) กำหนดระยะเวลาดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรม พ.ศ… ที่กรรมาธิการพิจารณาแล้วเสร็จใ นวาระที่สอง จำนวน 12 มาตรา ทั้งนี้พบว่าการพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าวเป็นไปอย่างล่าช้า เนื่องจากมีการอภิปรายจากสมาชิกรัฐสภา รวมถึงกรรมาธิการที่สงวนคำแปรญัตติไว้ทุกมาตรา และพบว่ายังมีปัญหาเรื่ององค์ประชุมที่ทำให้ต้องใช้เวลารอองค์ประชุมครบจำนวน คือ เกินกึ่งหนึ่งของสมาชิกรัฐสภา ที่มี 727 คน คือ 364 คน เป็นเวลานาน

ทั้งนี้ที่ประชุมใช้เวลากว่า 3 ชั่วโมง แต่ผ่านไปได้เพียง 5 มาตรา และยังเจอปัญหาเรื่องรอองค์ประชุม จนทำให้นายคำพอง เทพาคำ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกลลุกสอบถามนายชวนว่า เมื่อปี 2512 ต้องใช้เวลารอองค์ประชุมนานแบบปัจจุบันหรือไม่ โดยนายชวน กล่าวว่า ตอนนั้นมีสมาชิก 219 คน ประชุมที่ตึกอนันตสมมาคม การลงมติคือ ยกมือ ในห้องมีเจ้าหน้าที่นับจำนวน ไม่มีการกดบัตร ส่วนการอภิปรายต้องยกมือ แล้วเดินออกไปที่ไมโครโฟน ไม่ได้สะดวกแบบนี้ สมัยนั้นมีส.ส.น้อย ที่นั่งจำกัด ทั้งหมดอยู่ที่พวกเรา ตนชื่นชมอย่างน้อยเสียงข้างมาก จะเกิน 2-3 คน แต่แสดงให้เห็นความรับผิดชอบของคนส่วนใหญ่ที่ดีอยู่ เราทำหน้ที่หน้าที่ 3 ปี กว่า สถาบันนี้ มีส่วนประคับประคองให้กระบวนการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยไปได้ โดยสภานี้ทำหน้าที่ของตนเอง

“ผมชื่นชมพวกเราทำหน้าที่ของตัวเองอย่างดีเท่าที่ทำได้ ข้อที่ไม่ควรละเลย คือ หน้าที่ ที่ต้องประชุมและลงมติ ผมไม่หวังว่า จะได้100 ทั้ง100 แต่เกินกึ่งหนึ่ง 2 คน หรือ 5คน ก็ชื่นชม ที่บางคนให้ประกาศชื่อคนกดบัตรแสดงตนนั้น ผมขอบอกว่าไม่มีความลับ มีเอกสารในสภา ที่ผมเตือนด้วยความหวังดี เพราะมีประสบการณ์ คือ ชื่อของเราจะปรากฎตอนหาเสียงเขตเลือกตั้ง ที่คู่ต่อสู้เอาไปประจารณ์ ความไม่รับผิดชอบไม่เข้าประชุม ผมเตือนด้วยความหวังดี ให้ระวัง วันนี้ไม่เกิด วันหน้าเกิด ประชาธิปไตย ที่ทุกคนมีสทธิเปิดเผยข้อมูล ทั้งคำพูดและการลงมติในสภา ไม่เป็นความลับ” นายชวน กล่าว

ขณะที่นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ส.ว. ในฐานะประธานกมธ.ฯ ลุกหารือว่า ขอให้สมาชิกร่วมพิจารณาร่างกฎหมายปฏิรูปดังกล่าวให้สำเร็จลุล่วง และผ่านกฎหมายดังกล่าวให้ได้ ตนกังวลเห็นบรรยากาศลงมติใช้เวลานาน เพื่อรอองค์ประชุม ทั้งนี้ไม่ว่าจะมีประเด็นทางการเมืองอย่างไร ขอใหช่วยขับเคลื่อนกฏหมายปฏิรูปประเทศ ด้านกระบวนการยุติธรรม เพื่อประชาชน เพราะไม่มีความเกี่ยวข้องกับการเมือง

หลังจากใช้เวลารอองค์ประชุมเกือบ 30 นาที พบว่ามีผู้แสงดตน 366 คน ส่วนการลงมติ พบว่ามีผู้ใช้สิทธิ 367 คน ซึ่งเกินกึ่งหนึ่งมาเพียง 3เสียง เท่านั้น

ต่อมาเวลา 16.00 น. ที่ประชุมร่วมรัฐสภา ได้พิจารณาเนื้อหาที่มีเพียง 12 มาตราไม่แล้วเสร็จ ทำให้ถูกตั้งข้อสังเกต จากสมาชิกรัฐสภาเป็นการเตะถ่วง เนื่องจากเสียเวลารอองค์ประชุมให้ครบจำนวน คือ เกินกึ่งหนึ่งของสมาชิก ที่มี 727 คน คือ 364 คน ก่อนลงมติเป็นเวลานาน ทั้งนี้ในช่วงหนึ่งระหว่างรอองค์ประชุมให้ครบก่อนลงมติ นายสุรชัย ลุกขึ้นหารือว่า ขอให้สมาชิกร่วมพิจารณาร่างกฎหมายปฏิรูปดังกล่าวให้สำเร็จลุล่วง และผ่านกฎหมายดังกล่าวให้ได้ ตนกังวลเห็นบรรยากาศลงมติใช้เวลานาน เพื่อรอองค์ประชุม ทั้งนี้ไม่ว่าจะมีประเด็นทางการเมืองอย่างไร ขอใหช่วยขับเคลื่อนกฏหมายปฏิรูปประเทศ ด้านกระบวนการยุติธรรม เพื่อประชาชน เพราะไม่มีความเกี่ยวข้องกับการเมือง

ขณะเดียวกันมีข้อเสนอจากนายสมชาย แสวงการ ส.ว. หารือต่อที่ประชุมระหว่างรอการลงคะแนนว่า เมื่อตรวจสอบองค์ประชุมแล้ว พบว่ามีปัญหาตอนลงคะแนน ขอให้ ใช้การลงมติด้วยการขานชื่อ แต่นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภาที่ทำหน้าที่ประธานที่ประชุมไม่เห็นด้วย เพราะจะใช้เวลามาก เกินความจำเป็นกว่าาจะจบเรื่อง ดังนั้นขออดทนรอคอย

ส่วนนายเฉลิมชัย เฟื่องคอน ส.ว. หารือต่อที่ประชุมด้วยว่า “ใครที่ไม่มาลงคะแนน ครั้งหน้าแก้กฎหมายให้ตัดเงินเดือน หรือไม่ลงคะแนน 3 ครั้งพ้นสมาชิกภาพไป จะได้จบๆ เรื่องไป”

ทั้งนี้นายชวน กล่าวว่า เรื่องเงินเดือนไม่กระทบคนไม่รับผิดชอบไม่มีผลอะไร เรื่องนี้เป็นเรื่องความรับผิดชอบของแต่ละคน และขอให้อดทน พร้อมกับขานจำนวนของส.ส.ที่ยังรอให้ครบองค์ประชุมให้สมาชิกได้รับทราบ

อย่างไรก็ตามนายเฉลิมชัย ได้เสนอต่อนายชวน ด้วยว่า “มีสมาชิกฝากบอกให้นายชวน ยุบสภา” ทำให้นายชวน กล่าวติดตลกว่า “สภาหมื่นล้าน จะยุบได้อย่างไร” ซึ่งนายเฉลิมชัย กล่าวตอบว่า “ฝากให้ประธานรัฐสภาบอกนายกฯ” ซึ่งนายชวน กล่าวหยอกว่า “เรามีอำนาจสร้างสภา แต่ไม่มีอำนาจยุบสภา อย่างไรก็ดีเป็นปรากฎการณ์ธรรมดาของระบอบประชาธิปไตย”

ข่าวที่น่าสนใจ

ขณะที่นางอมรัตน์ โชคปมิตต์กุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล หารือว่า ระหว่างที่รอขอให้เชิญผู้นำเหล่าทัพมาเข้าประชุมด้วย ทำให้นายชวน กล่าวตอบว่า “ขอให้ไปเชิญมาเอง” ทำให้สมาชิกรัฐสภาที่นั่งในห้องประชุมหัวเราะด้วยความครื้นเครง

ผู้สื่อข่าวรายงาน สำหรับการนัดประชุมรัฐสภาต่อเนื่องนั้น นายชวน กล่าวว่าวันที่ 9 -10 ส.ค. นั้นยังไม่มีข้อยุติว่าจะมีการประชุมรัฐสภาหรือไม่ เนื่องจากวันดังกล่าววุฒิสภามีประชุม ทั้งนี้ในวันที่ 4 ส.ค.จะหารือวิป 3 ฝ่ายอย่างไม่เป็นทางการอีกครั้งเพื่อแก้ปัญหา

ผู้สื่อข่าวรายงานว่ากรณีปัญหาองค์ประชุมที่เกิดขึ้น ถูกวิพากษ์วิจารณ์ถึงการเล่นเกมที่สร้างปัญหาให้กับการประชุม ด้วยการไม่ลงชื่อร่วมเป็นองค์ประชุมทั้งที่อยู่ร่วมการประชุมในห้องประชุม เพื่อเตะถ่วงเวลาที่จะได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. (ฉบับที่..) พ.ศ… ทั้งนี้มีรายข่าวแจ้งว่า กลุ่มส.ส.ที่เล่นเกมองค์ประชุมนั้น ประกอบด้วย ส.ส.พรรคเพื่อไทย และพรรคพลังประชารัฐเป็นส่วนใหญ่ เพราะไม่ต้องการให้สูตรคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อด้วยจำนวน 500 คนหาค่าเฉลี่ยนั้นผ่านวาระสาม ได้ทันในวันที่ 15 ส.ค. ซึ่งจะครบเส้นตาย 180 วัน ร่างกฎหมายที่กรรมาธิการฯ พิจารณาต้องตกไป และจะทำให้ฟื้นสูตรคำนวณด้วยจำนวน 100 คนหาค่าเฉลี่ย โดยปริยาย

ต่อมาเวลา 17.00 น. การประชุมร่วมรัฐสภาต้องปิดการประชุมลง ระหว่างการพิจารณาร่างพ.ร.บ.กำหนดระยะเวลาดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรม พ.ศ… ในมาตรา 7 หลังจากตรวจสอบองค์ประชุมแล้วพบว่าไม่ครบองค์และใช้เวลารอการลงมติมาตราดังกล่าวนานถึง 53 นาที

ทั้งนี้นายชวน แจ้งกับที่ประชุมว่า ตัวเลขผู้ที่มาลงชื่อมี 357 คน ขาดอีก 7 คน ตนเกรงใจสมาชิก ทั้งนี้ในมาตราดังกล่าว ใช้เวลารอองค์ประชุม ตั้งแต่เวลา 16.07 – 17.00 น. รวม 53 นาที ตนขอขอบคุณสมาชิกที่ให้เวลาไม่มีปัญหา ไม่บ่น และอดทนร่วมกัน ขอบคุณด้วยความจริงใจ เมื่อปรากฎว่าองค์ประชุมไม่ครบ ต้องหยุด และพรุ่งนี้ตนจะหารือประธานวุฒิสภาว่าจะสามารถจัดวันประชุมรัฐสภาวันที่ 9 ส.ค.ให้ได้หรือไม่ จากนั้นขอปิดประชุม

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าก่อนหน้านี้ มีข้อหารือของนายสุรชัยว่า ตนจำได้ว่าสมัยที่นายชวน เป็นนายกฯ ได้วางหลักเกี่ยวกับความรับผิดชอบไว้ ซึ่งการไม่ร่วมเป็นองค์ประชุม และทำให้องค์ประชุมไม่ครบต้องปิดไป จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับจริยธรรมหรือไม่

สำหรับการปิดประชุมเนื่องจากองค์ประชุมไม่ครบในการประชุมรัฐสภาครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 3 โดยครั้งแรก เกิดขึ้นเมื่อ วันที่ 5 ก.ค. ระหว่างพิจารณาร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.(ฉบับที่…) พ.ศ… วาระสอง ส่วนครั้งสอง วันที่ 27 ก.ค. ระหว่างพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการปรับเป็นพินัย วาระสอง และครั้งที่สาม วันที่ 3 ส.ค. ระหว่างพิจารณาร่างพ.ร.บ. กำหนดระยะเวลาดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรม พ.ศ…

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น