ดร.ไตรรงค์ สุวรรณคีรี อดีตรองนายกรัฐมนตรี ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กเรื่อง APEC #ประเทศไทย กับ #พล.อ.ประยุทธ์ การประชุมเอเปค (APEC) ที่กำลังจะมีขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2565 โดยมีประเทศไทยเป็นเจ้าภาพนั้น จะมีความสำคัญต่อชื่อเสียง ความมั่นคง และความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมาก เพราะ APEC แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า เป็นการประชุมภายใต้กรอบความร่วมมือ เพื่อส่งเสริม #การค้า #การลงทุน #การท่องเที่ยว และความร่วมมือในมิติด้านอื่นๆ ทั้งการ #พัฒนาทางด้านสังคม #การพัฒนาด้านการเกษตร #การร่วมมือป้องกันและช่วยเหลือกันและกัน ยามประสบภัยพิบัติจากธรรมชาติทุกรูปแบบ การร่วมมือกัน #สนับสนุนบทบาทของสตรี และ #ลดการกดขี่ทางเพศ และการร่วมมือแลกเปลี่ยนกันและกันทางการ #พัฒนาด้านสาธารณสุข เป็นต้น (ขอเสริมเกร็ดความรู้เล็ก ๆ นะครับว่า APEC นี้มีมา 33 ปีแล้วนะครับ กำเนิดเกิดขึ้นในโลกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532)
ปัจจุบัน APEC มีสมาชิกถึง 21 เขตเศรษฐกิจได้แก่ จีน ฮ่องกง ไต้หวัน ไทย เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ปาปัวนิวกินี บรูไน ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ รัสเซีย แคนาดา สหรัฐอเมริกา เม็กซิโก เปรู และ ชิลี ทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจมีประชากรรวมกันถึง 2.8 พันล้านคน มีรายได้ประชาชาติ (GDP) รวมกันมากกว่า 59% ของGDP ของโลก สัดส่วนการค้าระหว่างไทยกับสมาชิกAPEC มีสูงถึง 69.8% ของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศที่ไทยมีกับทุกประเทศทั่วโลก
ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ การประชุมดังกล่าวยึดหลักฉันทามติ (Consensus) ความหมายคือ ทุกข้อตกลงต้องทำด้วยความสมัครใจ ไม่มีใครบังคับใคร ทุกเขตเศรษฐกิจมีความเท่าเทียมกันหมด โดยมุ่งเปิดกว้างเสรีทางการค้าการลงทุนให้มากขึ้น มีอุปสรรคให้น้อยลง (เช่น ช่วยให้การแซงชั่น (Sanction) ด้วยเหตุจูงใจทางการเมืองจะได้มีน้อยลง) ส่วนความร่วมมือด้านอื่นๆ ก็แล้วแต่จะตกลงกัน ที่สำคัญที่สุดก็คือ #ห้ามหยิบยกประเด็นทางการเมืองขึ้นมาพูดในที่ประชุมอย่างเด็ดขาด
ทำไม พล.อ.ประยุทธ์ จึงเหมาะเป็นประธานการประชุม APEC
อดีตนายกฯจากพรรคอนุรักษ์นิยมของอังกฤษ จอห์น เมเจอร์ เคยกล่าวเตือนสติ นายกฯ รุ่นน้องจากพรรคเดียวกันคือ นายบอริส จอห์นสัน ว่า “ผู้นำทางการเมืองที่ประชาชนขาดความเคารพนับถือในบ้าน จะมีอิทธิพลสร้างความน่าเชื่อถือในเวทีนอกบ้านได้อย่างไร” (สามารถอ่านข้อมูลเรื่องนี้เพิ่มเติมได้ในบทความของผม หัวข้อ “เรียนรู้จากอังกฤษ : ไม่ยกย่องคนที่ไม่สมควรยกย่อง” ที่ https://www.facebook.com/TrairongSuwankiri/posts/pfbid02kFsnrXucY1awn9HTDdg7MfBfkBDdk737eh5vdJRrZPZwMwTm6WUo5Dh4qFAjdFwLl)
สำหรับผู้นำของรัฐบาลไทยคือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นั้น ถ้าไม่มีอคติกันในทางการเมืองแล้ว จะเห็นว่าท่านได้รับความเชื่อถือจากนานาประเทศด้วยเหตุผลหลายอย่างคือ
1) การชุมนุมทางการเมืองเพื่อคัดค้าน พ.ร.ก. นิรโทษกรรมฉบับสุดซอยในปี 2556 – 2557 นั้น ผู้มิได้อยู่ใกล้ชิดกับเหตุการณ์จะไม่มีทางทราบว่าผู้เข้าร่วมชุมนุมซึ่งเป็นปฏิปักษ์กันทั้งสองฝ่าย ได้เตรียมอาวุธร้ายเพียงใดเพื่อจะเข่นฆ่ากันและกัน (ทั้งๆ ที่ผู้นำการชุมนุมของทั้งสองฝ่ายอาจจะไม่รู้ก็ได้)
การตัดสินใจทำการ #รัฐประหารเพื่อระงับความรุนแรงที่อาจจะนำไปสู่การเกิด สงครามกลางเมือง ในปี พ.ศ.2557 นั้น จึงเป็นเรื่องจำเป็นและสมเหตุสมผล แม้เป็นการเปลี่ยนรัฐบาลโดยการใช้อาวุธ เข้าบังคับมิใช่การเปลี่ยนแปลงอย่างสันติวิธี แต่ต่างประเทศส่วนใหญ่จะมีความเข้าใจดี โดยเฉพาะ เพราะเขาเคยเห็นความป่าเถื่อนในการบุกทำลายการประชุม ผู้นำของอาเซียนที่พัทยาเมื่อปี พ.ศ. 2552