วันนี้ นายภูริพัฒน์ ธีระกุลพิศุทธิ์ รองอธิบดีกรมเจ้าท่า ด้านปลอดภัย กรมเจ้าท่า เปิดเผยถึงความคืบหน้าการศึกษาวิเคราะห์ คัดเลือกพื้นที่ที่มีความเหมาะสม พร้อมศึกษาความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ สถาปัตยกรรม วิศวกรรม สิ่งแวดล้อม การพัฒนาท่าเรือรองรับเรือสำราญขนาดใหญ่ หรือ Cruise จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดกระบี่ โดยทั้ง 3 โครงการ ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนแล้ว ดังนี้
กรมเจ้าท่าเปิดแบบ 3 ท่าเรือสำราญนำร่อง "เกาะสมุย, กระบี่, ชลบุรี" ชี้พื้นที่มีศักยภาพ เชื่อมโยงขนส่งท่องเที่ยวทางน้ำ สร้างรายได้ประเทศ
ข่าวที่น่าสนใจ
1. โครงการศึกษาและวิเคราะห์การให้เอกชนร่วมลงทุนในโครงการพัฒนาท่าเทียบเรือรองรับเรือสำราญขนาดใหญ่ที่อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งจากผลการศึกษาเดิมพบว่าที่ตั้งที่เหมาะสมของท่าเรือ ได้แก่ บริเวณแหลมหินคม อำเภอเกาะสมุย ซึ่งการศึกษาถึงเดือนมิถุนายน 2565 มีความก้าวหน้า 80% อยู่ระหว่างการพิจารณาร่างหลักเกณฑ์ของโครงการร่วมลงทุนและร่างรายงานการศึกษาและวิเคราะห์โครงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน
2. โครงการศึกษาวางแผนแม่บทเพื่อพัฒนาท่าเรือสำราญขนาดใหญ่ และสำรวจออกแบบท่าเรือสำราญขนาดใหญ่บริเวณชายฝั่งอันดามัน ได้ข้อสรุปผลการคัดเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมบริเวณอ่าวแหลมป่อง หมู่ที่ 3 ตำบลหนองทะเล อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ โดยพัฒนาเป็นท่าเรือต้นทาง รองรับเรือขนส่งผู้โดยสารไม่เกิน 1,500 คน และเป็นท่าเรือแวะพัก สำหรับรองรับเรือขนส่งผู้โดยสาร 3,500-4,000 คน การศึกษาถึงเดือนมิถุนายน 2565 มีความก้าวหน้า 50% อยู่ระหว่างการออกแบบท่าเรือ และกำหนดรูปแบบการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน
3. โครงการศึกษาสำรวจออกแบบท่าเรือต้นทาง สำหรับเรือสำราญขนาดใหญ่ บริเวณอ่าวไทยตอนบน ได้ข้อสรุปที่เหมาะสมในการพัฒนาท่าเรือบริเวณแหลมบาลีฮาย เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ท่าเรือเป็นลักษณะผสมผสาน หรือ Hybrid คือเป็นท่าเรือต้นทาง รองรับเรือขนส่งผู้โดยสารไม่เกิน 1,500 คน และเป็นท่าเรือแวะพัก สำหรับรองรับเรือขนส่งผู้โดยสาร 3,500-4,000 คน การศึกษาถึงเดือนมิถุนายน 2565 มีความก้าวหน้า 60% โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการออกแบบท่าเรือ และกำหนดรูปแบบการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน
ปัจจุบันอยู่ระหว่างการจัดทำร่างรายงานวิเคราะห์การให้เอกชนร่วมลงทุนฯ เพื่อนำเสนอสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ หรือ สคร. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม จะนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติโครงการฯ ต่อไป
สำหรับแนวคิดในการพัฒนาท่าเรือรองรับเรือสำราญขนาดใหญ่นี้ เพื่อรองรับกลุ่มนักท่องเที่ยวระดับกลางถึงระดับสูง ที่มีการใช้จ่ายเงินในการท่องเที่ยวจำนวนมาก สร้างเม็ดเงินให้แก่ประเทศ และระบบเศรษฐกิจสูง การศึกษาคำนึงถึงความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาให้มีท่าเรือต้นทางในประเทศไทย ซึ่งนักท่องเที่ยวจะเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทยล่วงหน้า เพื่อที่จะลงเรือเริ่มต้นเส้นทางท่องเที่ยวทางทะเล หรือขึ้นจากเรือเมื่อสิ้นสุดการเดินทางและท่องเที่ยวต่อในประเทศไทย ก่อนเดินทางกลับ พร้อมพัฒนาให้มีท่าเรือแวะพักที่จะเป็นท่าเรือรองรับเรือสำราญขนาดใหญ่ที่มีเส้นทางเดินเรือผ่านประเทศไทย ทั้งฝั่งทะเลอ่าวไทย และอันดามัน จะทำให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนในธุรกิจท่องเที่ยว การบริการและธุรกิจต่อเนื่อง นอกจากนี้การออกแบบท่าเรือจะนำเอาแนวคิดที่เป็นอัตลักษณ์ของประเทศไทยและท้องถิ่นมาผสมผสาน เพื่อให้ท่าเรือมีความโดดเด่นเป็นแลนด์มาร์กแห่งท้องทะเลไทย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง