“โควิด-19” เป็นโรคติดต่ออันตราย ยังไม่ใช่โรคประจำถิ่น

หมอเฉลิมชัย เผยสถานการณ์แพร่ระบาด "โควิด-19" ตอนนี้ ยังไม่ถือเป็นโรคประจำถิ่น และไม่นับเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง เป็นโรคติดต่ออันตรายที่ประชาชนยังต้องระวังต่อเนื่อง ไม่ติดเชื้อดีที่สุด

“โควิด-19” โอไมครอน BA.5 โอมิครอน BA.2.75 โอมิครอน BA.4 หมอเฉลิมชัย เผยสถานการณ์แพร่ระบาดในปัจจุบันยังรุนแรงต่อเนื่อง ไม่นับเป็นโรคประจำถิ่น และไม่ถือเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง แต่เป็นโรคติดต่ออันตราย ไม่ติดเชื้อดีที่สุด ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ รองประธานกรรมธิการสาธารณสุขวุฒิสภา อัปเดตสถานการณ์ “โควิด-19” เผย ปัจจุบันการระบาดในประเทศไทยเข้าสู่ระลอกที่ 4 ซึ่งเกิดจากไวรัสโอมิครอนตั้งแต่มกราคม 2565 เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับสถานการณ์โควิดระลอกที่ 3 ซึ่งเกิดจากไวรัสเดลต้า เมื่อช่วงครึ่งปีหลังของปี 2564 จะพบชัดเจนว่า สถานการณ์ของโควิดในปัจจุบัน ติดเชื้อง่าย มีจำนวนผู้ติดเชื้อมากว่าเดิมถึง 2 เท่า คือ ติดเชื้อจากเดลต้าประมาณ 2,000,000 คน ส่วนโอมิครอนมีผู้ติดเชื้อมากกว่า 4,000,000 รายแล้ว

 

 

 

โควิด-19, โควิด, โอมิครอน, โรคประจำถิ่น, โรคติดต่อเฝ้าระวัง, โรคติดต่ออันตราย,​หมอเฉลิมชัย, เดลต้า

 

 

 

ส่วนเรื่องความรุนแรง เชื้อไวรัสเดลต้า ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 20,000 คน ในขณะที่โอมิครอนเสียชีวิตประมาณ 10,000 คน จึงสามารถกล่าวได้ว่า ไวรัสโอมิครอนติดเชื้อง่าย แพร่ระบาดกว้างขวางมากกว่า แต่อาการรุนแรงน้อยกว่าไวรัสเดลต้า อย่างไรก็ตาม เราพบว่าจำนวนผู้ป่วยที่มีอาการปอดอักเสบ มีจำนวนมากที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ และจำนวนผู้เสียชีวิตในช่วง 2-3 เดือนหลังจากผ่านจุดสูงสุดมานั้น ไม่ได้ลดลงตามที่เราคาดหวังไว้ และกลับมีการขยับตัวเพิ่มขึ้นด้วย

 

 

 

โควิด-19, โควิด, โอมิครอน, โรคประจำถิ่น, โรคติดต่อเฝ้าระวัง, โรคติดต่ออันตราย,​หมอเฉลิมชัย, เดลต้า

เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลในสัปดาห์ที่ 10-16 กรกฎาคม 2565 กับ 31 กรกฎาคม-6 สิงหาคม 2565 พบว่า ผู้ติดเชื้อรวมทั้ง PCR และ ATK เพิ่มขึ้น 58.8% จากติดเชื้อวันละ 22,542 ราย เป็น 35,800 ราย โดยแยกเป็นผู้ติดเชื้อจาก ATK เพิ่มขึ้น 63.9% จากวันละ 20,547 คน เป็น 33,679 คน ส่วนผู้ติดเชื้อจาก PCR เพิ่มขึ้นเพียง 6.3% จาก 1,995 ราย เป็น 2,121 ราย

  • ผู้ป่วยหนักมีอาการปอดอักเสบเพิ่มขึ้น 16.4%
  • ผู้ป่วยหนักมาก ใช้เครื่องช่วยหายใจเพิ่ม 36.5%
  • ผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 20.8%

นอกจากนั้น ยังพบว่า การฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 3 ณ วันที่ 8 สิงหาคม 2565 เราฉีดไปได้เพียง 44.9% หรือ 31.2 ล้านโดส ยังห่างจากเป้าหมายที่จะเป็นโรคประจำถิ่น ซึ่งต้องฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 ให้ได้ 60% หรือ 42 ล้านโดส อยู่อีกราว 10 ล้านโดส ซึ่งด้วยอัตราการฉีดวัคซีนในขณะนี้ จะต้องใช้เวลาอีกหลายเดือน จึงจะสามารถทำตามเป้าหมายได้ และในขณะนี้ก็เริ่มมีการส่งสัญญาณสาธารณะอีกครั้ง คาดว่า 1 ตุลาคม 2565 อาจจะปรับโควิดจากโรคติดต่ออันตรายไปเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ซึ่งก็ยังเป็นเรื่องที่ไม่ได้เกิดขึ้นแต่อย่างใด

 

 

 

โควิด-19, โควิด, โอมิครอน, โรคประจำถิ่น, โรคติดต่อเฝ้าระวัง, โรคติดต่ออันตราย,​หมอเฉลิมชัย, เดลต้า

 

 

 

กล่าวโดยสรุป โควิดของไทย ณ ปัจจุบัน ยังถือว่าเป็นโรคติดต่ออันตราย ยังไม่นับเป็นเป็นโรคประจำถิ่น และยังไม่ถือว่าเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ส่วนโควิดในอนาคต จะถือว่าเป็นโรคติดต่ออยู่ในกลุ่มใด ไม่ใช่เกิดจากการทำนายหรือการคาดการณ์ หากแต่เกิดจากข้อมูลข้อเท็จจริงหรือสถานการณ์จริง ซึ่งเมื่อเป็นอย่างไรก็จะเป็นอย่างนั้น

 

 

 

ข้อมูล : ร้อยแปดพันเก้ากับหมอเฉลิมชัย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เคาะวันแล้ว กกต. เปิดแผนงานเลือกตั้งนายก-สมาชิกอบจ.
"เคนโด้" นำ "กลุ่มผู้เสียหาย" ค้านประกันตัว "แม่ตั๊ก-ป๋าเบียร์" หวั่นคุกคามเหยื่อ
วัดพิบูลสัณหธรรม เตรียมจัดงานวันลอยกระทงเพื่อสมทบทุนบูรณะต่อเติมศาลาการเปรียญให้แล้วเสร็จ เพื่อใช้ประโยชน์ ในการประกอบศาสนกิจของวัด ใช้ประกอบพิธีในพระพุทธศาสนา
ชื่นชม หนุ่มใหญ่จิตอาสาชาวชะอำ จ.เพชรบุรี เดินลุยฝนเก็บขยะอุดตันตามท่อ เพื่อช่วยระบายน้ำท่วม
สุดเสียวกลางดึกช้างป่าบุกใจกลางชุมชนบ้านเกาะลอยซึ่งเป็นชุมชนขนาดใหญ่ โฉบบ้านนักข่าวก่อนเข้าพังรั้วค่ายทหารพรานที่1306 เสียหาย ทำชาวบ้านผวาหวั่นอันตราย
หมูเด้ง เสี่ยงทายเลือกตั้งสหรัฐฯ ประธานาธิบดีอเมริกาคนต่อไป คือคนนี้ รอลุ้นจะใช่หรือไม่
"ทนายสมชาติ" พา "เจ๊อ้อย" เข้าให้ปากคำ "ตำรวจกองปราบฯ" เพิ่ม ปมเงิน 71 ล้านบาท
“ทนายตั้ม” โผล่พบตํารวจกองปราบฯ ชี้แจงปมเงิน 71 ล้านบาท
"ภูมิธรรม" มอง MOU44 กลไกที่ดีที่สุด ก่อนย้อน พปชร.ไปถาม "บิ๊กป้อม" เคยนำเจรจากัมพูชา ก่อนมาคัดค้าน
"ก.แรงงาน" เตรียมเปิดขึ้นทะเบียน "แรงงานต่างด้าว" รอบใหม่

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น