“สุพจน์” อดีต กรธ. แจงชัดให้นับ “นายก 8 ปี” ตั้งแต่วันที่โปรดเกล้าฯปี 62

"สุพจน์” อดีต กรธ. แจงชัดให้นับ “นายก 8 ปี” ตั้งแต่วันที่โปรดเกล้าฯปี 62

นายสุพจน์ ไข่มุกด์ อดีตรองประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ หรือ กรธ. ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ถึงกรณีมีการเผยแพร่เอกสารบันทึกการประชุมกรธ. ครั้งที่ 500 ซึ่งเนื้อหาได้มีการระบุความเห็นของนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรธ. และนายสุพจน์ ไข่มุกด์ ตีความปม 8 ปี นายกรัฐมนตรีว่าต้องนับตั้งแต่เมื่อครั้งที่เป็นนายกรัฐมนตรีตั้งแต่ยุคคสช.ด้วย

ข่าวที่น่าสนใจ

โดยนายสุพจน์ชี้แจงว่า บันทึกการประชุมดังกล่าว เป็นเอกสารเปิดเผยไม่ใช่บันทึกลับอะไร มีการเก็บไว้ในสถานที่ต่างๆ เช่นห้องสมุดรัฐสภา ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ความเห็นดังกล่าวของตนก็เป็นแค่การพูดคุยปรึกษาหารือแบบไม่เป็นทางการของกรธ.ตอนนั้น อีกทั้งในความเป็นจริงพูดกันหลายคน แต่มีคนไปจับประเด็นที่บางกลุ่มต้องการ มีการไปดึงโค้ดคำพูดที่เขาต้องการให้มาประเด็นในตอนนี้เท่านั้นเอง ขอย้ำว่า บันทึกดังกล่าวไม่ใช่มติ เป็นการหารือทั่วไปของกรธ.21 คน แต่ที่บันทึกไว้ในรายงานเป็นเอกสารดังกล่าว ก็เพราะตำแหน่งของตนที่เป็นรองประธาน กับประธานนายมีชัยเท่านั้นเอง ซึ่งตอนที่คุยก็มีความเห็นกันหลายหลาย และตอนนี้อะไรก็เปลี่ยนแปลงไปเยอะแล้ว อยากให้เรื่องนี้ศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาดจะดีกว่า

ส่วนความเห็นดังกล่าวมีผลผูกพัน จนสามารถนำมาเป็นเอกสารประกอบการพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญได้หรือไม่ นายสุพจน์ ในฐานะอดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ย้ำว่า ไม่ใช่มติกรธ. เป็นแค่การหารือ เราต้องดูบริบทอื่นๆด้วย ต้องดูหลายวรรค หลายตอนประกอบกัน ตอนที่กรธ.คุยกันในมาตราอื่นด้วยที่เกี่ยวข้องกัน ไม่ใช่เอาข้อความเดียวแล้วยกมาพูดถึง แต่ต้องดูมาตราอื่นด้วย ต้องดูหลายอย่าง ซึ่งต้องไปดูความเห็นที่ท่านชูชาติ ศรีแสง อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกาแที่ออกมาโพสต์เรื่องการตีความการนับการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ท่านให้ความเห็นดีมากเลย

ส่วนการจะนับระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเวลาใดนั้น นายสุพจน์ บอกว่า รัฐธรรมนูญปี 60 กระบวนการสรรหานายกรัฐมนตรีมีอย่างไร ซึ่งมาตรา 158 มีขั้นตอนของมัน มาตรา 159 มีขั้นตอนของมัน หนึ่งพรรคการเมืองจะต้องส่งชื่อนายกรัฐมนตรี 3 รายชื่อให้ประชาชนเลือก เมื่อพรรคนั้นได้รับเสียงข้างมากเข้ามาในสภาฯ ก็จะมีกระบวนการต่างๆ ก่อนให้ประธานสภาฯเสนอชื่อทูลเกล้าฯ เป็นนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญปี 60 จากนั้นนายกมนตรีลงชื่อรับสนองพระบรมราชโองการ ซึ่งอันนี้คือการเป็นนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันที่มีขั้นตอน และรัฐธรรมนูญมีประชามติด้วย ดังนั้นครบถ้วนกระบวนความ ฉะนั้นการจะบอกว่านับตอนไหนมันเห็นชัดอยู่แล้ว ต้องเป็นไปตามรัฐธรรมนูญปัจจุบัน ที่สภาฯเลือกขึ้นมา และสภาฯเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย ดังนั้นต้องเริ่มนับวันที่โปรดเกล้าฯ แต่ทุกอย่างให้ไปลงที่ศาลรัฐธรรมนูญ อย่าฟังตนเป็นหลัก ส่วนจะย้อนแย้งกับบันทึกการประชุมหรือไม่นั้น บันทึกการประชุมก็เป็นส่วนหนึ่ง อีกทั้งเป็นความเห็นเริ่มแรก และเป็นความเห็นส่วนบุคคล ไม่ใช่มติ สำหรับรัฐธรรมนูญ2560 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เกมแล้ว! หนุ่มแต่งรถประดับไฟสี ธีมคริสต์มาส ขับเฉิดฉายทั่วถนน ปรับฉ่ำๆ 2 ข้อหา
แจ้ง 4 ข้อหาหนัก 'อส.เมากร่าง' ยิงสนั่นกลางร้านข้าวต้ม ดับ 2 ศพ เปิดวงจรปิดอีกมุม เห็นวินาทีก่อเหตุชัด
ตร.ไซเบอร์ ขยายผลตามรวบ "ผู้จัดหาบัญชีม้า" แก๊งลวง "ชาล็อต" กว่า 4 ล้านบาท
“บิ๊กอ้วน”ซัดปาก! พวกกระหายสงคราม “บิ๊กปู” คอนเฟิร์ม “ว้าแดง” เรียบร้อยดี
เวียงแหงโมเดล! เยาวชนคนรุ่นใหม่ One Young World เครือซีพี ปักธง FIGHT หมอกควันชายแดนไทย-พม่า เรียนรู้-ชวนชุมชมร่วมลด PM 2.5
ทิพยประกันภัย จับมือ NT ลงนาม MOU พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อตอบโจทย์กลุ่มลูกค้ายุคดิจิทัล
กรมวิทย์ฯ บริการ มอบของขวัญปีใหม่ประชาชน 2568 ..ฟรี !! ฝึกอบรมเสริมทักษะด้าน วทน. ฟรีค่าธรรมเนียมยื่นขอการรับรองทุกขอบข่าย เสริมความสามารถของห้องปฏิบัติการไทยสู่สากล
"ณเดชน์-เบลล่า" ขึ้นแท่นดาราแห่งปี "หมูเด้ง" ข่าวเด่นแห่งปีของจริงกลบทุกกระแส
เซเว่นฯ เดินหน้านโยบาย “2 ลด ลดพลาสติก ลดพลังงาน" เพื่อสิ่งแวดล้อม 24 ชม. เชิญชวนคนไทย ลดใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง
“ภูมิธรรม”คาด 4 ลูกเรือไทยได้รับการปล่อยตัว 4 ม.ค. นี้ ยืนยันกลาโหม-กองทัพไม่ได้อ่อนแอ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น