“ดอกเบี้ยนโยบาย” ส่งผลอะไรบ้างกับปชช. หลังประกาศขึ้น 0.25%

ดอกเบี้ยนโยบาย

"ดอกเบี้ยนโยบาย" คืออะไร เป็นอย่างไร และจะส่งผลหรือเกิดอะไรขึ้นบ้างกับภาคประชาชน หลัง กนง. มีปรับขึ้น 0.25 % เป็น 0.75% ต่อปี ในรอบ 4 ปี

“ดอกเบี้ยนโยบาย” ขึ้น ดอกเบี้ย นโยบาย ดอกเบี้ย นโยบาย คือ ดอกเบี้ยนโยบาย 2565 สืบเนื่องจากล่าสุดทางด้าน ธนาคารแห่งประเทศไทย รายงานว่า กนง. มีมติ 6ต่อ1 ให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย นโยบาย 0.25 % เป็น 0.75% ต่อปี โดยดอกเบี้ยประเภทนี้คืออะไร และจะส่งผลอะไรกับภาคประชาชนบ้างหากมีการปรับขึ้นเช่นนี้ ที่นี่ TOP News มีคำตอบ

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

โดย อัตราดอกเบี้ย นโยบาย จะกำหนดโดยธนาคารกลาง เป็นอัตราดอกเบี้ยที่สำคัญที่สุดที่จะส่งผลกับอัตราดอกเบี้ยอื่น ๆ ในระบบเศรษฐกิจ อัตราดอกเบี้ย นโยบาย เป็นอัตราที่ธนาคารกลางจ่ายดอกเบี้ยให้กับธนาคารพาณิชย์ที่เอาเงินมาฝาก หรือเป็นอัตราที่ธนาคารกลางเก็บดอกเบี้ยจากธนาคารพาณิชย์ที่มากู้เงิน ซึ่งอัตราดอกเบี้ย นโยบาย จะส่งผลกับอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์คิดกับลูกค้าที่เป็นผู้กู้หรือผู้ฝากเงินต่อไป

 

 

ดอกเบี้ยนโยบาย

 

 

โดยปกติเมื่อ ธนาคารแห่งประเทศไทย ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย นโยบาย ธนาคารพาณิชย์จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ตาม เมื่อปรับลดธนาคารพาณิชย์ก็จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ตามเช่นกัน อย่างไรก็ดี ธนาคารพาณิชย์อาจปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ไม่เท่ากับการปรับอัตราดอกเบี้ย นโยบาย เพราะยังมีอีกหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อการกำหนดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ เช่น ความต้องการเงินกู้ ปริมาณเงินฝาก อัตราเงินเฟ้อ ต้นทุนดำเนินการของธนาคารพาณิชย์ เป็นต้น

 

 

ดอกเบี้ยนโยบาย

 

 

 

และการปรับอัตราดอกเบี้ย นโยบายนี้ก็ส่งผลต่อการใช้จ่ายของประชาชน ซึ่งการใช้จ่ายของประชาชนจะส่งผลต่อราคาของสินค้าหรือบริการโดยรวมหรือที่เรียกว่า ‘อัตราเงินเฟ้อ’ อัตราดอกเบี้ย นโยบาย จะส่งผลอย่างไรกับเรานั้น ขึ้นอยู่กับว่าเราเป็นผู้กู้เงินหรือผู้ฝากเงิน

  • ถ้าอัตราดอกเบี้ยปรับขึ้น หากเราเป็นผู้กู้เงิน ดอกเบี้ยที่เราต้องจ่ายจะเพิ่มขึ้น
  • แต่หากเราเป็นผู้ฝากเงิน เราจะได้ดอกเบี้ยเงินฝากมากขึ้น 

อีกทั้งถ้าหากคนใช้จ่ายมากเกินไป ราคาสินค้าและบริการจะเพิ่มขึ้นสูงมาก เศรษฐกิจที่เติบโตรวดเร็วและร้อนแรงเกินไปจะทำให้เกิดปัญหาตามมา เช่น เงินเฟ้อสูงขึ้นมากจนมูลค่าของเงินลดลง หรือเกิดวิกฤตฟองสบู่แตกทำให้ราคาสินทรัพย์ลดลงอย่างรวดเร็ว ในกรณีนี้ธนาคารกลางอาจเพิ่มอัตราดอกเบี้ย นโยบายเพื่อชะลอการใช้จ่าย ช่วยให้เศรษฐกิจไม่ร้อนแรงเกินไปได้ นั่นเอง

 

 

ดอกเบี้ยนโยบาย

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ธนาคารแห่งประเทศไทย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ปตท."ผ่านการรับรองระบบงานหน่วยตรวจสอบความใช้ได้และทวนสอบก๊าซเรือนกระจกตามมาตรฐาน ISO จากสมอ.
“กมธ.มั่นคงฯ” ผนึก “เอกนัฏ” เข้าให้ข้อมูลธุรกิจจีนศูนย์เหรียญ ลั่นต้องจัดการผลิตภัณฑ์ไร้คุณภาพ-ธุรกิจผิดกม.ในประเทศให้สิ้น
เปิดข้อมูลช็อก! ธรณีพิโรธ ภูเขาไฟปะทุ 3 ลูกติด พ่นลาวาเดือดๆ สูง 200 ม.
"ศปช." อนุมัติงบเยียวยารวม 385 ลบ. ช่วยผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย ดินโคลนถล่ม คาดนำเข้าให้ ครม.เห็นชอบ 29 เม.ย. นี้
“หมอวรงค์” หวดเจ็บ “วิโรจน์” พรรคประชาชน กลืนน้ำลายตัวเองหรือไม่ สารพัดอ้างไม่ยื่นสอบจริยธรรม “นายกฯอิ๊งค์”
"ตำรวจไซเบอร์" ออกหมายเรียก "สป.สายไหม" สอบปมเกี่ยวข้องเว็บพนัน 888 
"นฤมล" แจงผลสำเร็จ "กยท." แท็กทีมแก้ปัญหาราคายางพารา เพิ่มรายได้เกษตรกรแล้ว 3-10.3 บาทต่อกก.
เปิดภาพ กล้องดักถ่าย พบ 'ทหารรัฐมอญ' อาวุธครบมือ โผล่ตระเวนข้ามแดน ป่าแก่งกระจาน เร่งประสานหน่วยมั่นคงตรวจสอบด่วน
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) ฉงชิ่งเปิดตัวบัสท่องเที่ยวธีม 'แพนด้ายักษ์'
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) เซี่ยงไฮ้เปิดตัว 'ปลาจักรกลอัจฉริยะ' แหวกว่ายใต้น้ำสมจริง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น