“หมอยงค์”ชี้แจง สูตรฉีดสลับ ซิโนแวค-แอสตราฯ ยันฉีดไปแล้วมากกว่า 1,200 คน ไม่พบอาการข้างเคียงรุนแรง

“หมอยงค์”แจงยิบสูตรฉีดวัคซีนสลับ ซิโนแวค-แอสตรา ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานสู้สายพันธุ์เดลต้า ยันฉีดไปแล้วมากกว่า 1,200 คน ไม่พบอาการข้างเคียงรุนแรง

ที่กระทรวงสาธารณสุข ศาสตราจารย์นายแพทย์ยงค์ ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แถลงถึงการฉีดวัคซีนผสมเข็มแรกซิโนแวค เข็มที่สองฉีดแอสตราเซเนกาว่า ไวรัสมีการกลายพันธุ์ตลอดเวลา ทำให้ประสิทธิภาพของวัคซีนลดลง ซึ่งลดลงทุกตัวของวัคซีนที่ผลิตจากสายพันธุ์อู่ฮั่น แต่วัคซีนบางตัวยังพอมีภูมิคุ้มกันสูงกว่า จึงพอป้องกันได้ เช่นเดียวกับวัคซีนแอสตราซเนกา ที่เดิมเราคิดว่าฉีดเข็มเดียวก็เพียงพอป้องกันไวรัสายพันธุ์อู่ฮั่นได้ แต่พอเจอสายพันธุ์เดลต้า วัคซีนแอสตราเซเนกาเข็มเดียวก็ไม่สามารถป้องกันได้ แต่กว่าจะรอครบ 2 เข็ม ก็ต้องใช้เวลา 10 สัปดาห์ หรือนานกว่านั้น ถึงจะป้องกันได้ จึงเป็นที่มาของการหาจุดสมดุลว่า ทำอย่างไรที่จะให้ประชาชนคนไทยมีภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นเร็วที่สุด เหมาะสมที่สุด ในขณะที่ไวรัสเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมไปมาก

ศาสตราจารย์นายแพทย์ยงค์ กล่าวอีกว่า เรารู้ว่าถ้าฉีดซิโนแวค 2 เข็ม ภูมิต้านสูงไม่พอป้องกันสายพันธุ์เดลต้า แต่แอสตราเข็มเดียวก็ไม่เพียงพอ กว่าจะรอ 2 เข็ม ก็ช้าไป จึงเป็นที่มาของการศึกษาว่า ถ้าเราฉีดวัคซีนเชื้อตายก่อนแล้วตามด้วยวัคซีนไวรัลเวคเตอร์ ผลปรากฎว่าการกระตุ้นสูงกว่าที่เราคาดคิดไว้และเพิ่มขึ้นเร็ว ถึงแม้ไม่สูงเท่ากับการให้แอสตราเซเนกา 2 เข็ม แต่ก็ได้ภูมิต้านทานที่สูงใกล้เคียง และใช้เวลาเพียง 6 สัปดาห์ แทนที่จะรอไป 12 สัปดาห์ โอกาสในการป้องกันไวรัสที่กลายพันธุ์จึงมีมากกว่าซิโนแวค 2 เข็ม ฉะนั้นในสถานการณ์การระบาดของโรคที่เป็นไปอย่างรุนแรงและรวดเร็ว เรารอเวลาถึง 12 สัปดาห์ไม่ได้ การฉีดสลับ 2 เข็มดังกล่าว สามารถป้องกันไวรัสกลายพันธุ์สูงทีเดียว น่าจะเป็นประโยชน์สูงสุดสำหรับประเทศไทยที่มีการระบาดของโรค ประกอบการที่ไทยมีวัคซีนเพียง 2 ชนิด จึงเหมาะสมสำหรับประเทศ ณ เวลานี้ แต่หากอนาคตมีวัคซีนที่ดีกว่า พัฒนาดีกว่า สลับเข็มที่ดีกว่า เราค่อยหาวิธีการที่ดีกว่า หรือในอนาคตถ้าไวรัสกลายพันธุ์ไปมากกว่านี้ อาจจะมีวัคซีนจำเพาะเจาะจงกับสายพันธุ์ เพราะฉะนั้นตนคิดว่าประชาชนจะเข้าใจ เวลาทุกวันของเรามีค่าในการต่อสู้กับโรคร้าย ตนขอสนับสนุนให้เห็นว่า ข้อมูลทางวิชาการที่ศึกษามาจะเป็นประโยชน์ในการใช้จริง

ส่วนความปลอดภัยเมื่อมีการสลับวัคซีนนั้น ศาสตราจารย์นายแพทย์ยงค์ ชี้แจงว่า จากการศึกษาเบื้องต้นที่ออกมา มีการฉีดวัคซีนสลับในประเทศไทยมากกว่า 1,200 คน และที่ฉีดเยอะคือ โรงพยาบาลจุฬา ซึ่งใน 1,200 คนนี้ มีการบันทึกข้อมูลลงในหมอพร้อม ไม่มีใครมีอาการข้างเคียงที่รุนแรง จึงเป็นเครื่องยืนยันการให้วัคซีนสองยี่ห้อสลับกันมีความปลอดกภัยในชีวิตจริง โดยเราจะนำผลการศึกษาเรื่องความปลอดภัยมานำเสนออีกครั้งภายในสิ้นเดือนนี้ ว่าความปลอดภัยที่เราฉีดและเฝ้าคนไข้ ให้บันทึกทุกวัน ข้อมูลความปลอดภัยเป็นอย่างไร ขอให้ผู้ปฏิบัติสบายใจได้ เราไม่ได้ฉีดสลับเป็นคนแรก นอกจากนี้มีการศึกษาในอังกฤษ วัคซีน mRNA สลับกับไวรัลเวคเตอร์ โดยทีมของมหาวิทยาลัยอ็อกฟอร์ด ใช้ไฟเซอร์สลับกับแอสตราเซเนกาการศึกษานี้ได้สิ้นสุดไปแล้ว บุคคลสำคัญของยุโรปมีการฉีดเข็มแรกแอสตราเซเนกา เข็มที่สองเปนไฟเซอร์ แม้ในบ้านเราบอกว่าจะไม่ควรสลับวัคซีน แต่ก็มีการสลับวัคซีนในชีวิตจริง โดยข้อมูลการฉีด 1200 คน ถือว่ามากพอสมควร และไม่มีอาการข้างเคียงที่รุนแรง คนติดว่าขอ้มูลนี้เป็นเหตุผลหนึ่งที่คณะกรรมการนำมาพิจารณา ซึ่งตนไม่ได้อยู่ในคณะกรรมการนั้น

ศาสตราจารย์นายแพทย์ยงค์ ยังกล่าวถึงการกลายพันธุ์ของไวรัสว่าเป็นเรื่องปกติของไวรัส RNA และเปลี่ยนแปลงเร็วมาก ขณะนี้การระบาดในประเทศไทย ต้องยอมรับว่าสายพันธุ์ส่วนใหญ่ที่ระบาดเป็นสายพันธุ์อินเดียเป็นที่เรียบร้อย โดยเฉพาะในกรุงเทพมาหนคร และมีแนวโน้มสายพันธุ์นี้จะระบาดทั่วประเทศ ส่วนสายพันธุ์แอฟริกาใต้หรือเบต้า เป็นสายพันธุ์ที่หลีกหนี หลีกเลี่ยงวัคซีนได้ดีที่สุด ทำให้ประสิทธิภาพของวัคซีนต่ำมาก แต่สายพันธุ์นี้มีประสิทธิภาพการแพร่กระจายของตัวเองได้น้อยกว่า จึงขึ้นมาเบียดสายพันธุ์เดลต้าไม่ได้ และสายพันธุ์เดลต้าจะมีปริมาณไวรัสที่อยู่ในลำคอผู้ป่วยสูงมาก แพร่กระจายได้ง่าย โอกาสติดต่อคนสู่คน ง่ายกว่าเมื่อก่อน จึงขอให้ประชาชนตระะหนัก สายพันธุ์เดลต้าทำให้การหาไทม์ไลน์ยากขึ้นทุกที เพราะติดต่อง่ายมาก ทุกคนจะต้องปฏิบัติตัวเองอย่างเคร่งครัด ต้องมีระเบียบวินัย ใส่หน้ากาก 100% กำหนดระยะห่าง และสุขอนามัยจะต้องเต็ม100% ป้องกันดีว่าวัคซีนที่ฉีดอยู่ในตอนนี้ ส่วนโอกาสที่จะติด 2 สายพันธุ์ในคนๆเดียว หลักการของไวรัสมีความเป็นไปได้ ถ้าในชุมชนนั้นมีไวรัส 2 ตัวระบาดอยู่ แต่ที่เรากลัวคือ ถ้าไวรัส 2 สายพันธุ์เกิดแบ่งตัว โดยใน 1 เซลเดียวกันอาจจะมีการแลกชิ้นส่วน และกลายเป็นสายพันธุ์ใหม่ แต่ที่ผ่านมายังไม่เคยพบรายงานไวรัส1ตัว ประกอบไปด้วยไวรัสสายพันธุ์อื่นๆ ที่พบคือ ผู้ป่วย 1 คน เจอไวรัส 2 ตัว

ศาสตราจารย์นายแพทย์ยงค์ ย้ำอีกว่า วัคซีนจะเป็นทางช่วยอีกทางหนึ่งในการที่จะหยุดวิฤตนี้ได้ ดังนั้นไม่ควรมีคำถามว่า ควรหรือไม่ควรฉีดวัคซีน สำหรับการฉีดวัคซีนในเด็กยังต้องรออีกระยะพอสมควร เพราะเรารู้ว่าโรคนี้ถ้าติดเชื้อในเด็กความรุนแรงของเด็กน้อยมาก โอกาสที่จะทำให้เด็กเสียชีวิต น้อยกว่าผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุมาก วัคซีนที่จะใช้ในเด็กได้ต้องคำนึงถึงความปลอดะภยที่สูงกว่าผู้ใหญ่ อย่างไรก็ตามในอนาคตวัคซีนของเด็กจะต้องมี

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

นายกฯ ประกาศลั่น จัดการแก๊งคอลเซ็นเตอร์ “ไม่จบ ไม่เลิก” ขอบคุณประเทศเพื่อนบ้าน ร่วมมือแก้ปัญหา
“บอล-อู๊ด” หน้าถอดสี! “อ.ปานเทพ” เปิดรูป “แตงโม” ให้ดูชัดเต็มสองตา
รถยนต์เมียนมา ต่อแถวยาว 5 กิโล ข้ามฝั่งไทย แห่ตุนน้ำมันกลับประเทศ ผลพวงไทยปราบแก๊งคอลเซ็นเตอร์
เปิดไทม์ไลน์ "ดีเอสไอ" บี้ถาม "กกต." ปมสอบฮั้ว "เลือกสว." คาใจคำตอบ ขัดแย้งข้อมูลเคยร่วมงานตั้งแต่ปี 67
นายกฯ ลั่นดินเนอร์พรรคร่วมเย็นนี้ ไม่ต้องปิดห้องเคลียร์ใจ
"ทวี" กังวลความปลอดภัย พยานรู้เห็นองค์กรอาชญากรรมปมฮั้วสว. ย้ำไร้ล็อบบี้โหวตดันเป็นคดีพิเศษ
“เอกนัฏ” จับมือท้องถิ่นดัน “สมุทรสาครโมเดล” ชงเคส รง.ไฟไหม้ สมุทรสาคร ให้ DSI รับช่วงขุดรากถอนโคนขนขยะอันตรายเข้าประเทศ
“ภูมิธรรม” ย้ำกกต.เป็นฝ่ายชงเรื่องฮั้วเลือก สว.ให้ดีเอสไอเอง ไม่ใช่กลั่นแกล้งทางการเมือง
"ยุโรป"มองตาปริบๆ "ปูติน"ดึง"ทรัมป์" ลงทุนขุด"แรร์เอิร์ธ"
"รังสิมันต์ โรม" ยื่นหลักฐานเพิ่ม "อัยการสูงสุด" ขอเร่งออกหมายจับ "หม่อง ชิตตู" เอี่ยวค้ามนุษย์ แก๊งคอลเซ็นเตอร์

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น