“หมอยง” ชี้โควิด จะเริ่มลดลง หลังกลางเดือนต.ค.

“หมอยง” เผยโควิด-19 เมื่อการระบาดระลอกใหญ่เกิดขึ้น และจะเริ่มลดลงหลังกลางเดือนตุลาคม ระบุภูมิต้านทานที่ดีที่สุด คือภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติจากการติดเชื้อ และที่ดียิ่งกว่าคือ ภูมิต้านทานแบบลูกผสม ฉีดวัคซีนร่วมกับติดเชื้อ ช่วยป้องกันความรุนแรงจากโควิด-19 ครั้งต่อไป ได้ดีขึ้น

วันนี้(13 ส.ค.65) ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ว่า การระบาดโควิด-19 ขณะนี้ เป็นการระบาดระลอกใหญ่ นับจำนวนไม่ได้ เพราะส่วนใหญ่อาการไม่มาก ตั้งแต่มกราคมเป็นต้นมา และมาเข้าสูงสุดในช่วงฤดูฝน ตามฤดูกาลของโรคทางเดินหายใจ และจะเริ่มลดลงหลังเดือนกันยายน จนกระทั่งกลางตุลาคมไปแล้วจึงจะน้อยลง (ฤดูกาลของโรคทางเดินหายใจทุกปี) นักเรียนเปิดเทอม ฤดูกาลที่เหมาะ จึงยากที่จะนับยอดว่าแต่ละวันมีผู้ป่วยติดเชื้อเท่าไหร่ แต่ละบ้านก็จะติดกันจำนวนมากในบ้าน วัคซีนกี่เข็ม ยี่ห้ออะไร ไม่มีวัคซีนเทพ ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ แต่ลดความรุนแรงของโรคลง ในอเมริกา การติดเชื้อก็ไม่ได้ลดลง แต่ภาพรวมของทั่วโลกความรุนแรงลดลง

ข่าวที่น่าสนใจ

ภูมิต้านทานที่ดีที่สุดขณะนี้ คือภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ จากการติดเชื้อ และจะดียิ่งขึ้นคือ ภูมิต้านทานแบบลูกผสม ฉีดวัคซีนร่วมกับการติดเชื้อ น่าจะป้องกันความรุนแรงของครั้งต่อๆ ไปได้ดียิ่งขึ้น การศึกษาวิจัยขณะนี้ คงจะไม่อยู่ที่ศึกษาภูมิต้านทาน หรือประสิทธิภาพของวัคซีน เพราะรู้อยู่แล้ว สิ่งที่สำคัญที่ควรจะต้องรู้คือ ขณะนี้ประชากรไทย ติดเชื้อไปแล้วเท่าไหร่ (ฉีดวัคซีนไปแล้วเท่าไหร่เรารู้) การเร่งกระตุ้นฉีดวัคซีนเข็ม 4, 5, 6 จะต้องพิจารณา (อาจจะให้ในเฉพาะกลุ่มเปราะบาง) เพราะวัคซีนแต่ละเข็มราคาไม่ถูกเลย และเป็นการฉีดวัคซีนสายพันธุ์เดิมอู่ฮั่น และถ้ามีการติดเชื้อมากแล้ว เช่น 70 – 80 เปอร์เซ็นต์ของประชากร การฉีดวัคซีนต่อไป อาจรอได้ถึงปีหน้าหรือมีวัคซีนสายพันธุ์ใหม่ ที่ตรงหรือใกล้เคียงกับสายพันธุ์ที่ระบาดมากที่สุด

การลงทุนด้านวัคซีน เราได้ใช้เงินเป็นจำนวนมาก ด้วยความหวังเริ่มต้นว่าวัคซีนจะยุติการระบาดของโรค แต่ความเป็นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ เราต้องการองค์ความรู้มาวางแผนในปีต่อไป ด้วยการใช้วิชาการนำ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และลงทุนน้อยที่สุด คุ้มค่าสำหรับประเทศไทย เราคงต้องมีข้อมูลของเราเอง ไม่ใช่เชื่อต่างชาติ

ผมและคณะที่ศูนย์ มีแผนการศึกษา ตอบคําถามว่า เวลานี้ประชากรทุกช่วงอายุ ติดเชื้อไปแล้วเท่าไหร่ โดยจะตรวจดูภูมิที่บอกการติดเชื้อ (anti-nucleocapsid) ไม่ใช่ภูมิต้านทานที่บอกในการป้องกัน (anti-spike) ในประชากรช่วงอายุต่างๆ โดยจำลองจังหวัดใดจังหวัดหนึ่ง โครงการอยู่ระหว่างการดำเนินการ จะต้องหาเงินทุนมาสนับสนุน และผ่านคณะกรรมการจริยธรรมโดยเร็ว ถือเป็นงานท้าทาย เร่งด่วน ที่จะใช้วางแผน หลังการระบาดรอบใหญ่ของ covid 19 ที่จะผ่านไป เพื่อปีต่อไป จะได้มีการวางแผนที่ถูกต้อง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

น้ำใจแทร่ๆ "เจ้าของเต็นท์รถ" สระแก้ว ส่งมอบรถกระบะคันใหม่ พร้อมจยย. ให้ลุงป้า "มูลนิธิธรรมนัสฯ" สมทบเงิน 4 แสนไว้รักษาตัว
“รองโฆษกรัฐบาล” ยืนยันค่าไฟไม่ได้เพิ่ม แต่ลดลงเหลือ 3.99 บ.ต่อหน่วย
โค้งสุดท้าย "พิพัฒน์" นำทีมภูมิใจไทย เคาะประตูบ้าน ชาวเมืองคอน ขอเสียงหนุน "ไสว" เป็นสส.เขต 8
ชาวเมืองน่าน เข้าพบ "นิพนธ์" อดีตรมช.มหาดไทย ผลักดันพิสูจน์สิทธิ ออกโฉนดที่ดินสำเร็จ หลังรอคอยนานกว่า 30 ปี
"สันติสุข" ปลื้มปริ่ม "ในหลวง-พระราชินี" ทรงขับเครื่องบิน เสด็จฯเยือนราชอาณาจักรภูฏาน ทรงได้รับการถวายพระเกียรติ สุดประทับใจคนไทย
“ทักษิณ” ลั่นไม่สั่งใครเบรค “กัน จอมพลัง” ยุ่งคดีพีช ฟาด "เต้ มงคลกิตติ์" หลังปูดข่าว
"เจ้าอาวาส" สุดทนขึ้นป้าย “ไม่มีเงินให้ขโมยแล้ว” หลังคนร้ายงัดตู้บริจาคหลายครั้ง
“ทักษิณ” กลับเชียงใหม่อีกครััง เปิดให้รดน้ำดำหัว ขอพรในเทศกาลสงกรานต์ ก่อนช่วย “อัศนี” หาเสียงพรุ่งนี้
“นายกฯ” เตรียมลุยประชุม ครม.สัญจร หลังออกจาก รพ.แล้ว จ.นครพนม 28-29 เม.ย.นี้
"ดีอี" ยกระดับศูนย์ AOC 1441 สู่ ศปอท. เพิ่มประสิทธิภาพบูรณาการข้อมูลปราบ “โจรออนไลน์”

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น