กกพ. ประกาศขึ้น “ค่าไฟ” รอบก.ย.-ธ.ค. เป็น 4.72 บาท/หน่วย

ค่าไฟ, ขึ้นค่าไฟ, ก๊าซธรรมชาติ, Spot LNG, ค่าไฟฟ้า, ค่าเอฟที, สงครามรัสเซีย-ยูเครน, ผลิตไฟฟ้า, ค่าเชื้อเพลิง

"ค่าไฟ" กกพ.ประกาศปรับขึ้นค่าเอฟที 68.66 สตางค์ต่อหน่วยในรอบเดือนกันยายน-ธันวาคม ทำให้อัตราค่าไฟอยู่ที่ 4.72 บาทต่อหน่วย

“ค่าไฟ” ราคา ค่า ไฟ ต่อ หน่วย ขึ้นอีกแล้ว รอบนี้ของจริง สำนักงานกกพ. ประกาศปรับขึ้นค่าเอฟที 68.66 สตางค์/หน่วย ส่งผลให้ค่าไฟเฉลี่ยอยู่ที่ 4.72 บาทต่อหน่วย ในรอบเดือนกันยายน-ธันวาคมนี้ ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

เมื่อวันที่ 15 สิงหาคมที่ผ่านมา สำนักงานกกพ. หรือ สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ประกาศปรับค่าเอฟทีขึ้นอีก 68.66 สตางค์/หน่วย รวมเป็น 93.43 สตางค์/หน่วย ส่งผลให้อัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.72 บาท/หน่วย

 

 

 

ค่าไฟ, ขึ้นค่าไฟ, ก๊าซธรรมชาติ, Spot LNG, ค่าไฟฟ้า, ค่าเอฟที, สงครามรัสเซีย-ยูเครน, ผลิตไฟฟ้า, ค่าเชื้อเพลิง

 

 

 

ทั้งนี้ ทางกกพ. ได้เผยเหตุผลที่จำเป็นต้องประกาศขึ้นค่าเอฟที เนื่องจาก สัดส่วนการใช้ก๊าซธรรมชาติเหลวในตลาดจร (Spot LNG) ที่เพิ่มสูงขึ้นเพื่อทดแทนก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยและพม่าที่ปริมาณลดลงอย่างมีนัยสำคัญรวมทั้งความผันผวนของ Spot LNG ในตลาดโลกสรุปได้ ดังนี้

 

 

 

1. ปริมาณก๊าซในประเทศที่ลดลง

  • จากเดิมสามารถจ่ายก๊าซได้ 2,800 – 3,100 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน (MMSCFD) ลดลงเหลือราว 2,100 – 2,500 MMSCFD
  • ทำให้ต้องนำเข้า Spot LNG เข้ามาเสริมหรือเดินเครื่องโรงไฟฟ้าด้วยน้ำมัน เพื่อทดแทนปริมาณก๊าซที่ขาด
  • แต่ในช่วงสงครามรัสเซีย – ยูเครน ส่งผลให้ราคา Spot LNG มีราคาแพงและผันผวนในช่วงประมาณ 25-50 USD/MMBTU เทียบกับก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยที่มีราคาประมาณ 6-7 USD/MMBTU
  • ดังนั้น การทดแทนก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยด้วย LNG หรือใช้น้ำมันจะส่งผลให้ค่าเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

 

 

 

ค่าไฟ, ขึ้นค่าไฟ, ก๊าซธรรมชาติ, Spot LNG, ค่าไฟฟ้า, ค่าเอฟที, สงครามรัสเซีย-ยูเครน, ผลิตไฟฟ้า, ค่าเชื้อเพลิง

2. การผลิตก๊าซจากพม่าที่ไม่สามารถผลิตได้ตามกำลังการผลิตเดิม
  • และมีแนวโน้มที่จะลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงปลายปี 2565 และต้นปี 2566
  • ซึ่งอาจทำให้มีความต้องการนำเข้า LNG มากกว่าที่ประมาณการไว้เดิม

 

 

 

3. สถานการณ์ผู้ผลิต LNG ชะลอการลงทุน
  • อันเนื่องมาจากมีความต้องการใช้พลังงานน้อยในช่วงโควิด-19 ในปลายปี 2564
  • หลังจากที่หลายประเทศเริ่มฟื้นตัวจากโควิด ทำให้ความต้องการใช้ LNG มีมากกว่ากำลังการผลิตในตลาดโลก
  • ส่งผลกระทบต่อราคาและการเจรจาสัญญาซื้อขาย LNG โดยเริ่มมาตั้งแต่ปลายปี 2564 และต่อเนื่องตลอดปี 2565 และคาดว่าจะต่อเนื่องไปในปี 2566

 

4. สภาวะสงครามรัสเซีย – ยูเครน
  • ทำให้รัสเซียลดหรือตัดการจ่ายก๊าซธรรมชาติทางท่อไปยังยุโรป ทำให้ความต้องการ LNG เพิ่มขึ้นอย่างมากในยุโรปและส่งผลกระทบทางอ้อมต่อราคา LNG ในตลาดเอเชีย
ค่าไฟ, ขึ้นค่าไฟ, ก๊าซธรรมชาติ, Spot LNG, ค่าไฟฟ้า, ค่าเอฟที, สงครามรัสเซีย-ยูเครน, ผลิตไฟฟ้า, ค่าเชื้อเพลิง
ความไม่แน่นอนของแหล่งก๊าซธรรมชาติในประเทศและในพม่า รวมทั้งสภาวะตลาดที่ไม่เอื้อต่อการเจรจาสัญญา LNG ทำให้ กกพ. ต้องเตรียมความพร้อมเพื่อใช้เชื้อเพลิงสำรอง เช่น น้ำมันเตา น้ำมันดีเซล หรือเชื้อเพลิงประเภทอื่น เช่น ถ่านหิน พลังน้ำ และพลังงานทดแทน เพื่อรองรับ สถานการณ์ขาดแคลนก๊าซธรรมชาติ ซึ่งจะเป็นสถานการณ์ต่อเนื่องจากปลายปี 2565 และต่อเนื่องไปตลอดปี 2566 ตามแนวทางการบริหารเชื้อเพลิงในสภาวะวิกฤตที่ได้เสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ไปแล้ว กกพ. จึงขอให้มีการใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัด เพื่อให้สามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า ลดการนำเข้า Spot LNG และเพิ่มความมั่นคงในการผลิตไฟฟ้าในช่วงดังกล่าว

 

ข้อมูล : สำนักงาน กกพ.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"พิชัย" หารือ "รมต.พาณิชย์-อุตสาหกรรม" บาห์เรน ยกระดับสัมพันธ์การค้า จัดทำ FTA เชื่อม 2 ปท.
‘ซัวเถา’ จัดมหกรรมดอกไม้ไฟสุดยิ่งใหญ่รับตรุษจีน
เม็กซิโก-แคนาดา-จีนประกาศสงครามการค้ากับสหรัฐ
ทรัมป์ไฟเขียวกำแพงภาษีแคนาดา เม็กซิโกและจีนแล้ว
สรุปผล 47 นายกอบจ. "เพื่อไทย" คว้าชัย 10 ที่นั่ง "ภูมิใจไทย" 9 สู้สูสี "ปชน." ได้แค่ 1 ที่
ผู้โดยสารดับยกลำจากเหตุเครื่องบินกู้ชีพตกที่สหรัฐ
ทบ.ร่วม สตช. ประสานเมียนมา ช่วยเหยื่อแก๊งคอลเซ็นเตอร์ชาวฮ่องกง 1 ราย
พรรคปชน.ช้ำ! ส่งเลือกตั้งนายกอบจ.17 จังหวัด คว้าชัยแค่ลำพูน
รวมไทยสร้างชาติ คว้าชัยนายกอบจ. 5 จังหวัด
"นิด้าโพล" เผยคนกรุงฯส่วนใหญ่ ชี้ขึ้นฟรีรถไฟฟ้า-เมล์ขสมก.ลดฝุ่นไม่ได้ผล มาตรการรัฐขาดประสิทธิภาพ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น