เกิน 2 เดือนแล้ว “ชัชชาติ” แก้ปัญหารถไฟฟ้าสีเขียวไม่คืบ มีแต่หนี้เพิ่ม

เกิน 2 เดือนแล้ว "ชัชชาติ" แก้ปัญหารถไฟฟ้าสีเขียวไม่คืบ มีแต่หนี้เพิ่ม

กว่า 2 เดือนแล้ว หลังการเข้าทำหน้าที่เป็นผู้ว่าฯกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2565 ของ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์พร้อม ๆ กับสารพัดคำยืนยัน ในนโยบายหลัก เดินหน้าแก้ปัญหารถไฟฟ้าสายสีเขียว ที่ค้างมาจากยุคอดีตผู้ว่าฯ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ว่า พร้อมจะจัดการแล้วเสร็จภายใน 1 เดือน และวิธีการต่าง ๆ ถูกนำเสนอต่อสาธารณชน ให้มั่้นใจทุกอย่างจะลุล่วงโดยเร็ว เพราะขั้นตอนทุกอย่างเหลือแค่รอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พิจารณาอนุมัติ

เมื่อวันที่ 2 มิ.ย.65 นายชัชชาติ ได้เชิญผู้บริหาร บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด หรือ KT เข้าหารือถึงปัญหาโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ภายหลังหารือ ออกมาระบุว่า จะเดินหน้าแก้ปัญหาหนี้สินสะสมรถไฟฟ้าสายสีเขียวทั้งหมดกว่า แสนล้านบาท โดยคาดว่า 1 เดือนได้ข้อสรุป

โดยภาระหนี้ที่เกิดขึ้น นายชัชชาติ ระบุชัดเจนว่า อยากจะคืนหนี้ พร้อมอ้างมติของคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ว่าให้กทม.เดินรถสายสีเขียว ส่วนการรับภาระหนี้จะต้องมีการหารือกัน 3 ส่วน คือ คือ กทม. กระทรวงคมนาคม และคจร. ซึ่งกระบวนการตรงนี้ยังไม่มีความชัดเจนว่า การรับภาระหนี้โครงสร้างพื้นฐานนั้นได้ผ่าน รัฐสภากทม.มาอย่างไร

อย่างไรก็ตาม ภาระหนี้สินที่คงค้างประมาณ 4 หมื่นล้าน บริษัท กรุงเทพธนาคม ได้ทยอยชำระอย่างต่อเนื่องทุกเดือน แม้ว่าดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้นทุกวัน หากมีความจำเป็นต้องชำระหนี้ กทม.มีหลายแนวทาง เช่น การกู้เงินจากรัฐ เป็นต้น ซึ่งหนึ่งแนวทางที่จะลดภาระหนี้สิน คือการเก็บค่าโดยสารส่วนต่อขยายสอง ที่ปัจจุบันยังให้บริการฟรี มานาน และมองว่าไม่สมเหตุสมผล

ส่วนสัญญาสัมปทานจะสิ้นสุดในปี 2572 จะต่อไม่ต่อนั้น นายชัชชาติ ระบุว่า เป็นความเห็น ของคณะกรรมการมาตรา 44 ซึ่งเห็นด้วยต่อการขยายสัมปทาน โดยมองว่าในหลายเรื่องจะต้องให้สภากทม. ร่วมพิจารณาด้วย ในเรื่องของขั้นตอนและแนวทางการปฏิบัติว่า มีความครบถ้วนหรือไม่ ซึ่งหากได้ข้อมูลทั้งหมดแล้วจะต้องรายงานกระทรวงมหาดไทยให้ได้รับทราบ

จนมาถึงล่าสุด เมื่อวันที่ 9 ส.ค. 2565 ที่ผ่านมา นายชัชชาติ มีแนวคิดจะเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอส ในส่วนต่อขยายที่ 2 เพื่อนำมาจัดสรรเป็นรายได้ของกทม.และเป็นค่าใช้จ่ายคืนหนี้ให้กับภาคเอกชน โดยกำหนดเก็บค่าโดยสารอัตราสูงสุดอยู่ที่ 59 บาท ตลอดสาย และคาดว่าจะเริ่มเก็บค่าโดยสารได้ช่วงปลายเดือนกันยายน 2565

ขณะเดียวกัน เมื่อย้อนกลับไปช่วงก่อนเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. นายชัชชาติ พูดถึงค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว ไว้หลายครั้ง เช่น ราคา 25-30 บาทมีความเป็นไปได้ , หากแก้ไขปัญหาหนี้สินได้ เป้าหมาย คือ การหาทางออกให้ค่าโดยสารถูกลง …มีความเป็นไปได้ในการเจรจาให้ราคาค่าโดยสารลดลงมาได้ถึง 25 บาท เป็นต้น

อีกด้านหนึ่ง ถ้าย้อนกลับไปพิจารณา แนวทางการแก้ปัญหารถไฟฟ้าสายสีเขียว เริ่มมาจากการที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีความเป็นห่วงเรื่อง การพัฒนาระบบขนส่งประเทศ และ การแก้ไขปัญหารถไฟฟ้าสายสีเขียว ( ส่วนต่อขยาย) ที่ค้างข้อสรุปมาจากรัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

จึงเป็นที่มาของคำสั่งคสช. 3/2562 ลงวันที่ 11 เมษายน 2562 ให้ใช้อำนาจตามความในมาตรา 265 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบกับมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 โอนความรับผิดชอบ รถไฟฟ้าสายสีเขียว (ส่วนต่อขยาย) จากรฟม.ให้กทม.รับผิดชอบ ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อทำให้โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว เป็นระบบเดียวกัน

พร้อมกันนี้ได้มีการแต่งตั้ง คณะกรรมการพิจารณาโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยมีปลัดมหาดไทย เป็นประธานคณะกรรมการ ร่วมกับกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการคลัง , ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ , เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ , อัยการสูงสุด , ผู้อํานวยการสํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเงินและด้านระบบรถไฟฟ้า ซึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้ง เพื่อให้ศึกษาแผนการร่วมทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ระหว่างภาครัฐและเอกชน

โดยเฉพาะการพิจารณาความเหมาะสมแนวทางการแก้ปัญหา ภายหลังการโอนย้ายความรับผิดชอบโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวจาก รฟม.มาให้ กทม.

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ประเด็นสำคัญ กระทรวงมหาดไทย ในฐานะผู้รับผิดชอบ ได้พยายามนำเรื่องรถไฟฟ้าสายสีเขียว เข้าที่ประชุมครม. เพื่อมีมติให้ความเห็นชอบตามที่คณะกรรมการที่แต่งตั้งโดย มาตรา 44 อย่างน้อย 3 ครั้ง กระทั่งล่าสุดมีการเปลี่ยนแปลงผู้ว่า ฯ กทม. จากพล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง เป็น นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ทาง พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ได้ให้เกียรติขอรับฟังความเห็นผู้บริหารกทม.อีกครั้ง

โดย เมื่อวันที่ 6 มิ.ย. 2565 พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย เป็นประธานเปิดการประชุมสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ครั้งแรก พร้อมมอบแนวนโยบายในการปฏิบัติงานแก่ ส.ก. และมี นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ผู้ว่าฯ กทม.) เข้าร่วมประชุมด้วย

พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า ได้หารือกับนายชัชชาติ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องกว้างๆ ซึ่ง ผู้ว่าฯ กทม.มีเจตนาทำงานให้ประชาชนเต็มที่ ทางกระทรวงมหาดไทยพร้อมให้การสนับสนุนทุกอย่างและร่วมกันทำงานเพื่อประชาขน ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทยไม่มีอำนาจเข้าไปก้าวก่าย การกำกับจะต่างจากจังหวัดอื่นๆ เพราะ กทม.มีอิสระตามกฎหมายอยู่แล้วส่วนการสนับสนุนจากรัฐบาลยืนยันว่า จะให้การสนับสนุนเต็มที่

ส่วนประเด็นสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว ขณะนี้เป็นประเด็นที่ให้ กทม. ดำเนินการ ในอดีต กทม.มีปัญหาจึงมาขอให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มาช่วยแก้ปัญหา ซึ่งแนวทางแก้ไขด้วยการเจรจาตามคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2562 ต้องเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาต่อไป

ทั้งนี้ เมื่อ กทม.มีคณะผู้บริหาร และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) คณะใหม่ จึงต้องทำเรื่องมาเรียนสอบถาม หากเห็นในแนวทางใดแนวทางหนึ่งที่ต่างออกไป ก็จะทำเรื่องเสนอ ครม. เพื่อขอเปลี่ยนแปลงการดำเนินการต่อไป แต่เท่าที่คุยกันเบื้องต้น ท่านก็มีแนวทางที่จะแก้ปัญหานี้อยู่

“หาก กทม. เห็นว่าสามารถดำเนินการอะไรเองได้ เรื่องนั้นก็จบไป ก็ไม่ต้องขอมติอะไรอีก เป็นอันจบเรื่องไป ผมเข้าใจว่าท่านผู้ว่าฯ กทม. ก็คงหาแนวทางดำเนินการที่ดีที่สุด”

ทางด้าน นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯกทม.กล่าวถึงประเด็นดังกล่าว ในวันเดียวกันที่พูดคุยกับ พล.อ.อนุพงษ์ โดยยืนยันว่า การพิจารณาเรื่องรถไฟฟ้าสายสีเขียว ยังต้องให้เป็นอำนาจของกระทรวงมหาดไทยและ ครม.ตัดสินใจ แต่ กทม.พร้อมทำข้อเสนอรายงานให้ตามขั้นตอน ซึ่ง กทม.พร้อมทำตามการพิจารณาของกระทรวงมหาดไทยและ ครม.ต่อไป

จากปัญหารถไฟฟ้าสายสีเขียว ที่คาราคาซังมากว่า 3 ปี เมื่อวันที่ 19 ก.ค. 2565 ที่ผ่านมา บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าสายสีเขียว แก่ประชาชนชาวกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มานานถึง 23 ปี ได้ออกมาแสดงความเห็นต่อประเด็นปัญหาดังกล่าวอีกครั้ง ผ่านสาธารณะ

รวมถึง เมื่อวันที่ 2 ส.ค. 2565 นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด(มหาชน) ได้ตอบคำถามสื่อมวลชน เรื่องรถไฟฟ้าสายสีเขียว อีกครั้งว่า “ผมขอย้ำอีกที ผมไม่ได้เป็นจำเลยนะ ผมเป็นเจ้าหนี้ ท่านผู้ว่าฯ ก็บอกว่า ไม่เคยจะเบี้ยวหนี้ จะคุยอะไรคุยได้หมด อยากคุย มันจะได้เดินต่อไปให้เอกชนจะได้มีกำลังใจ “

 

นายคีรี ยังกล่าวด้วยว่า ”ขอยืนยันอีกที เราไม่ใช่คนไปขอต่อสัมปทานเพื่อจะล้างหนี้ เป็นไปไม่ได้ ท่านเองแม้กระทั่งสภากทม.บอกว่า ไม่มีเงินจ่าย ซึ่งมีเรื่องจริงอยู่ในเรคคอร์ด ถ้าว่าจะเอาอะไรมา compensate ก็ว่าไป แต่สิ่งที่ผมไม่อยากจะเห็น คือ ประชาชนเข้าใจบีทีเอส ผิด

1. เราไม่ใช่คนอย่างนั้น ปฏิบัติมาทุกวันนี้ดูจากประวัติการทำงานของบีทีเอสกรุ๊ป ไม่มีเรื่องอย่างนี้
2. ปัญหาไม่แก้ของเราทำได้อย่างไรถ้าไม่เกินจุดขึ้นจริงๆ ซึ่งส่วนใหญ่ของผู้ที่มีปัญหาไม่เข้าใจบีทีเอส ผมคิดว่าคงไม่ได้ใช้รถไฟฟ้า เพราะฉะนั้น อย่าทำให้ประชาชนเดือดร้อน อย่าทำให้บ้านเมืองเสียภาพพจน์

ประเด็นที่ต้องพิจารณาก็คือ ความล่าช้าที่เกิดขึ้นจากกระบวนการตัดสินใจของ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯกทม. ได้ส่งผลกระทบอะไรบ้าง ประเด็นแรกคือ ภาระหนี้สะสมค้างจ่ายบริษัท BTSC ประมาณ 4 หมื่นล้านบาท 2. ภาระดอกเบี้ย จากเงินกู้ของรฟม. จากงานโยธาก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเขียว (ส่วนต่อขยาย) โดยมีกระทรวงการคลัง เป็นผู้รับผิดชอบ ประมาณปีละ 1,500 ล้านบาท (ตามอัตราดอกเบี้ยรายปี) หรือ คิดเป็นวันละประมาณ 4.1 ล้านบาท

 

ส่วนภาระดอกเบี้ย BTSC แยกเป็น เงินกู้สำหรับค่าติดตั้งงานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล( E&M ) ปีละ 1,200 ล้านบาท หรือ คิดเป็นวันละประมาณ 3.3 ล้านบาท ขณะที่ภาระดอกเบี้ย เงินกู้ ค่าจ้างเดินรถและบำรุงรักษา (O&M) ปีละ 5,000 ล้านบาท หรือ คิดเป็นวันละประมาณ 13.7 ล้านบาท

 

 

โดยทั้งหมดนี้ยังไม่มีความชัดเจนใดๆเลย จากฝั่งผู้บริหารกทม. อย่าง นายชัชชาติ ผู้ว่าฯกทม. และ ดร.ธงทอง จันทรางศุ ประธานกรรมการ บริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด ทั้ง ๆ ที่ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย เพียงขอความเห็นเพื่อนำมาประกอบการพิจารณาในการขั้นตอนการเสนอครม.มีมติเห็นชอบเท่านั้น

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

MEA ชูพลังงานสะอาด เปิดสถานีชาร์จ EV ณ MRT ศูนย์วัฒนธรรมฯ ขับเคลื่อนอนาคตการเดินทางไร้มลพิษ
สถาบันฯ สร้างสรรค์ และซอฟต์พาวเวอร์ ผลักดัน “จังหวัดจันทบุรี” เป็น “Soft Power” ระดับประเทศ
นพ.สสจ.เมืองคอนเตือน ระมัดระวังโรคฉี่หนู เมืองคอนสังเวยชีวิตแล้ว 8 ราย ชี้อำเภอฉวางสุ่มเสี่ยงมากที่สุด เสียชีวิตถึง 7 ราย -เตือนประชาชนประชาชนรักษาสุขภาพและเฝ้าระวังโรคที่จะมากับหน้าฝนนอกจากฉี่หนูแล้วให้ระมัดระวังให้โรคไข้เลือดออก
"เงินดิจิทัล เฟส 2 ได้วันไหน" ชัดเจนแล้ว พร้อมเช็ก เงื่อนไขเงิน 10,000 ล่าสุด
CPF สานต่อความมุ่งมั่นสร้างงานมีคุณค่าสำหรับคนพิการ หนุนวัฒนธรรมเคารพความแตกต่างและหลากหลาย
หมอวรงค์ นำกลุ่มคนรักชาติ ยื่นกว่าแสนรายชื่อ ร้องรบ.ยกเลิก MOU 44
กุ้ง อาหารทะเลยอดฮิต โปรตีนคุณภาพดี อร่อยด้วย ช่วยชาติได้
หมอถึงขั้นเข้าไปถามคนไข้ หลังพยาบาล เจาะเลือดไม่เข้า อึ้งห้อยพระเต็มคอ แต่ละองค์ราคาไม่ธรรมดา
“บิ๊กโจ๊ก” ด่าแรง “ทนายตั้ม” แอบอ้างชื่อ ลวง “เจ๊อ้อย” ไปเขื่อนเชี่ยวหลาน
“เจ๊อ้อย”โคตรแค้น “ทนายตั้ม” พาลูกเมียทัวร์ยุโรปถลุงเป็นล้าน แว้งกัด-คิดเอาชีวิต

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น