สดช. ประชุม ร่างนโยบาย “พัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม”
- เผยแพร่ : 16/08/2022 16:27
กดติดตาม TOP NEWS
สดช. จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อ (ร่าง) นโยบายและแผนระดับชาติ ว่าด้วยการ "พัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม" (พ.ศ. 2561 – 2580) ฉบับปรับปรุง
วันนี้ (16 สิงหาคม 2565) นายภุชพงค์ โนดไธสง เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อ (ร่าง) นโยบายและแผนระดับชาติ ว่าด้วย “การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม” (พ.ศ. 2561 – 2580) ฉบับปรับปรุง และให้เกียรติร่วมเสวนาในหัวข้อ Thailand Digital Policy: The Next Chapter นโยบายด้านดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย จะก้าวไปอย่างไรดี?
โดยมี
- ดร.กษิติธร ภูภราดัย รองผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และบริหาร สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
- คุณนิติ เมฆหมอก นายกสมาคมไทยไอโอที
- คุณอมฤต ฟรานเซน ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัล สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมเสวนาด้วย ณ โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพฯ
สำหรับการประชุมรับฟังความคิดเห็นฯ ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนและปรับปรุงนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม ให้สอดคล้องกับพลวัตทางเทคโนโลยี และสถานการณ์เศรษฐกิจ และสังคมของโลก และของประเทศไทย รวมทั้งแนวโน้มทิศทางการพัฒนาในอนาคต เพื่อเตรียมนำประเทศไทยก้าวเข้าสู่ภูมิทัศน์การพัฒนาดิจิทัลระยะที่ 3 : Full Digital Transformation ในปี พ.ศ. 2570 และก้าวเข้าสู่ระยะที่ 4 : Global Digital Leadership โดยได้จัดให้มีการบรรยายผลการทบทวนและปรับปรุงยุทธศาสตร์และแผนงาน ภายใต้นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม (พ.ศ. 2561 – 2580) ในส่วนของวิสัยทัศน์ของการพัฒนาดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม ภูมิทัศน์ เป้าหมาย และตัวชี้วัดความสำเร็จ ความสอดคล้องและเชื่อมโยงกับนโยบาย แผน และยุทธศาสตร์ระดับชาติ ภาพอนาคต เป้าหมาย ตัวชี้วัดรายยุทธศาสตร์ รวมทั้งกลไกและระบบนิเวศการขับเคลื่อน
จากนั้นผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน นักวิชาการ และภาคประชาชน ได้ร่วมให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะตามกลุ่มยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย
- ยุทธศาสตร์ที่ 1 : พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลประสิทธิภาพสูงให้ครอบคลุมทั่วประเทศ
- ยุทธศาสตร์ที่ 2 : ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
- ยุทธศาสตร์ที่ 3 : สร้างสังคมคุณภาพที่ทั่วถึงเท่าเทียมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
- ยุทธศาสตร์ที่ 4 : ปรับเปลี่ยนภาครัฐสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล
- ยุทธศาสตร์ที่ 5 : การพัฒนากำลังคนให้พร้อมเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล
- ยุทธศาสตร์ที่ 6 : สร้างความเชื่อมั่นในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ทั้งนี้ เพื่อเป็นส่วนสำคัญของการกำหนดทิศทางการขับเคลื่อนการพัฒนาดิจิทัลในภาพรวมของประเทศต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
-